ขับตอนไหนถึงต้องใส่เกียร์ S

ขับตอนไหนถึงต้องใส่เกียร์ S

12/03/2020

     เกียร์S ย่อมาจากคำว่า Sport นั่นเอง โดยให้ความรู้สึกในการขับขี่เหมือนเกียร์ธรรมดา ที่สามารถปรับเปลี่ยนเกียร์ ผ่านระบบควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ที่พวงมาลัย (Paddle Shift) ด้วยการปรับตำแหน่ง +/- ตอบสนองอัตราเร่งได้ดี ให้กำลังบิดที่ดีขึ้น จึงทำให้ขับขี่ได้สนุกมากยิ่งขึ้น

    หากคุณใช้ในตำแหน่งเกียร์ S ระบบสมองกลเกียร์อัตโนมัติจะป้องกันไม่ให้ใช้อัตราทดสูงสุดของเกียร์ แต่ก็แลกมาด้วยกับการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นตามความรอบเครื่องยนต์ครับ

  • ขับสนุก เร่งสะใจ อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่าเวลาที่เราใช้เกียร์ S คือตอนเร่งเครื่องแซง หรือขับขึ้นเนินเขาที่มีความสูงชัน เมื่อเปลี่ยนเกียร์ D เป็นเกียร์ S เครื่องยนต์จะสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ มีทั้งแรงม้าและแรงบิดที่อยู่ในสถานะ “รอ” พร้อมใช้งาน เพียงแค่ตบคันเร่งเบาๆ ก็ขับรถต่อได้สบาย
  • เพิ่มความมั่นใจ ในการขึ้น–ลงทางลาดชัน เวลาขับรถขึ้นลงเขาก็มักมีป้ายเตือนข้างทางว่า “ทางลาดชัน กรุณาใช้เกียร์ต่ำ” นั่นแหละครับ ถึงเวลาที่คุณควรเปลี่ยนมาใช้เกียร์ S แล้ว แต่ถ้าทางลาดชันมากๆ การใช้เกียร์ S ก็อาจจะไม่เพียงพอ รถบางรุ่นจึงมีทั้งเกียร์ S และเพิ่มเกียร์ L มา เพื่อใช้สำหรับเวลาที่ต้องขับรถทางที่มีความชันมากๆ จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงๆ นั่นเอง
  • ลดภาระระบบเบรก ในเครื่องยนต์จะมี Engine Brake ที่สามารถช่วยลดภาระในการใช้เบรกเท้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็คือโหมด S ที่เป็นเกียร์ต่ำนี่แหละครับ ตัวอย่างเช่น กรณีที่คุณขับรถเกียร์ D ในความเร็วสูง แต่ต้องเบรก การบรกเท้าอย่างเดียวจะทำให้สิ้นเปลืองผ้าเบรก โดยเฉพาะบนทางลาดชันการใช้เบรกเท้าอย่างเดียวจะสร้างภาระให้เบรกมากเกินจำเป็น จนอาจทำให้เกิดอาการเบรก Fade และเป็นอันตรายได้

 

     ตำแหน่งการใช้โหมด S จึงสร้าง Engine Brake เพื่อช่วยหน่วงความเร็วด้วยเครื่องยนต์ แต่ต้องใช้คู่กับการเบรกเท้าเบาๆ จะทำให้ช่วยลดการสิ้นเปลืองผ้าเบรกได้ อย่างไรก็ตามการขับขี่บนการลงทางชันควรต้องดูตามความเหมาะสมและสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งการใช้เบรกเท้าช่วยประคองความเร็วขณะขึ้นลงจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่มากขึ้นครับ

 

   สำหรับท่านใดที่สนใจรถยนต์ ฮอนด้า เอชอาร์-วี หรือต้องการทดลองขับสามารถติดต่อได้ทุกช่องทางของ ยูไนเต็ด ฮอนด้า ได้เลยนะครับ


NEW HONDA HR-V e:HEV

เริ่มต้น 949,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 11,000 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

จอดรถอยู่เฉยๆ แล้วโดนชน! ต้องทำอย่างไรและใครเป็นคนรับผิดชอบ? ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง

จอดรถอยู่เฉยๆ แล้วโดนชน! ต้องทำอย่างไรและใครเป็นคนรับผิดชอบ? ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง

18/04/2025

รถเราจอดอยู่เฉยๆ แต่ดันโดนชนซะงั้น! ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรอยขูด รอยบุบหรือชนจนพังเสียหาย หลายท่านอาจไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรต่อ และยิ่งถ้าเราไม่ทราบว่าใครเป็นคนชนแล้วแบบนี้ประกันสามารถช่วยอะไรเราได้บ้างหรือไม่? แต่ถ้ามีแค่ พ.ร.บ. จะไม่สามารถเคลมได้ เพราะ พ.ร.บ. จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย จะไม่ครอบคลุมการซ่อมรถ ฉะนั้นควรทำประกันภาคสมัครใจด้วยนะครับ เพื่อจะได้คุ้มครองในกรณีที่จอดรถไว้แล้วโดนชน

อ่านต่อ
รถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากอะไร? รวมสาเหตุ พร้อมวิธีแก้ไขด้วยตัวเองแบบละเอียด

รถสตาร์ทไม่ติด เกิดจากอะไร? รวมสาเหตุ พร้อมวิธีแก้ไขด้วยตัวเองแบบละเอียด

17/04/2025

รถเจ้ากรรม! ตื่นเช้ามากำลังรีบไปทำงานแต่เจ้ากรรมดันสตาร์ทไม่ติด เชื่อเลยครับว่าหลายๆ ท่านต้องเคยเจอสถานการณ์แบบนี้แน่ๆ แล้วเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวเลยทีเดียวเพราะอาการเหล่านี้ทำให้เราไปทำงานสายนั่นเอง ซึ่งจริงๆ แล้วสาเหตุหรือปัญหาที่รถสตาร์ทไม่ติดมีหลายสาเหตุ และหลายอย่างที่เราสามารถตรวจเช็กหรือแก้ไขได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องโทรหาช่างเสมอไปครับ เราจะได้รู้เท่าทันปัญหาของการสตาร์ทรถไม่ติด และสามารถตรวจเช็กเบื้องต้นได้ด้วยตนเองได้อย่างมั่นใจเพราะในบางครั้งอาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพียงแค่อาการเล็กน้อยที่ไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องเสียเงินหรือเสียเวลานั่นเองครับ

อ่านต่อ
ไขข้อสงสัย ต่อประกันล่วงหน้ากี่วันถึงจะดี? พร้อมเคล็ดลับเลือกต่อให้คุ้มที่สุด

ไขข้อสงสัย ต่อประกันล่วงหน้ากี่วันถึงจะดี? พร้อมเคล็ดลับเลือกต่อให้คุ้มที่สุด

11/04/2025

การต่อประกันภัยรถยนต์ล่วงหน้าเป็นเรื่องที่สำคัญที่หลายๆ ท่านอาจมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยให้เราไม่ขาดความคุ้มครองแล้วยังมีผลประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย และในเรื่องการต่อประกันภัยรถยนต์ควรต่อประกันล่วงหน้ากี่วันถึงจะดี? พร้อมกับเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้เราวางแผนได้อย่างเหมาะสม 1-3 เดือน เหมาะสม ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมเพราะมีโอกาสที่ได้เลือกได้ตามใจและอาจต่อ พ.ร.บ. และภาษีได้พร้อมกันทีเดียว 7 วัน ค่อนข้างกระชั้นชิด อาจทำให้เราไม่ได้ประกันภัยรถยนต์ที่ตรงใจมากที่สุด 1 วัน เสี่ยงเกินไป ถือเป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้าง “เสี่ยงเกินไป” เพราะประกันภัยรถยนต์ส่วนใหญ่จะให้คุ้มครองถึงแค่เวลา 16.30 น. ของวันหมดอายุตามเอกสารกรมธรรม์ระบุไว้

อ่านต่อ
Uto