ฟิล์มกรองแสงมีวันหมดอายุ! แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าฟิล์มเสื่อมหรือหมดอายุแล้ว สังเกตง่ายๆ

ฟิล์มกรองแสงมีวันหมดอายุ! แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าฟิล์มเสื่อมหรือหมดอายุแล้ว สังเกตง่ายๆ

30/12/2022

   ฟิล์มกรองแสงที่ยังมีสภาพใหม่หรือพร้อมใช้งานอยู่จะมีลักษณะที่ไม่ร่อน ไม่ลอก ไม่มีฟองอากาศ สีของฟิล์มกรองแสงจะไม่ซีดไม่เพี้ยน แต่ถ้าฟิล์มกรองแสงที่เสื่อมสภาพก็จะมีลักษณะที่ตรงข้ามกันหรือสามารถสังเกตง่ายๆ ดังนี้

 

มีอาการร่อน

   โดยปกติแล้วฟิล์มกรองแสงจะเริ่มลอกจากบริเวณมุมกระจก ซึ่งอาการการร่อนจะมีผลต่อการมองทัศนวิสัยในการขับขี่ได้นะครับ แต่ถ้าหากฟิล์มกรองแสงร่อนไม่มาก ก็จะไม่ส่งผลต่อการมองทัศนวิสัยมากนัก ในลักษณะที่ฟิล์มมีการร่อนไม่มากก็ยังสามารถใช้งานไปก่อนได้ครับ แต่ถ้ามีอาการร่อนหนักมากแนะนำให้รีบเปลี่ยนทันที บางท่านนำกาวมาทาแปะเอาไว้ ซึ่งวิธีนี้แนะนำว่าอย่าทำเด็ดขาดนะครับ เพราะจะทำให้กระจกเสียและลอกยากเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนจริงๆ 

 

เกิดฟองอากาศ

   ลองสังเกตความเปลี่ยนแปลงของฟิล์มดูครับว่ามีการเกิดฟองอากาศที่เป็นจุดๆ หรือไม่ หรือมีลักษณะที่เป็นรอยยับย่นหรือไม่นั่นเองครับ และสิ่งที่สำคัญอย่าตัดหรือไปเจาะตรงที่เป็นฟองอากาศนะครับ เพราะกระจกอาจเกิดความเสียหายได้ 

 

ซีด และมีสีเพี้ยน

   สังเกตได้จากสีของฟิล์มกรองแสงซึ่งจากเดิมจะมีสีดำและกลายเป็นสีม่วง เนื่องจากถูกแสงแดดเป็นประจำ ซึ่งอาจจะเป็นเฉพาะบางจุดเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรก็ควรรีบทำการเปลี่ยนนะครับ เนื่องจากจะทำให้เกิดความร้อนภายในรถ อีกทั้งยังส่งผลต่อการมองเห็นที่อาจคลาดเคลื่อนได้

 

ร้อนผิดปกติ

   ถ้าเกิดความร้อนในห้องโดยสารผิดปกติอาจจะมาจากฟิล์มกรองแสงหมดอายุได้ สามารถทดสอบได้ด้วยการนำมือลองแตะที่กระจกบริเวณด้านในรถเพื่อสัมผัสกับเนื้อฟิล์มกรองแสงหรือหากเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่ใช้งานปกติแล้วรู้สึกยังคงมีความร้อนที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือห้องโดยสารภายในยังมีความร้อนอยู่ก็สรุปไปว่าฟิล์มกรองแสงหมดอายุนั่นเองครับ

 

   วิธีสังเกตฟิล์มกรองแสงเสื่อมหรือหมดอายุสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตนเองครับ หากไม่มั่นใจแนะนำให้ไปร้านหรือศูนย์บริการที่มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องฟิล์มกรองแสงเพื่อทำการตรวจเช็คให้แน่ใจว่ายังสามารถใช้งานไปต่อหรือไม่ แต่ถ้าหากฟิล์มกรองแสงเสื่อหรือหมดอายุแล้วก็อย่าลืมทำการเปลี่ยนนะครับ ผู้ที่ใช้งานรถยนต์อยู่เป็นประจำยิ่งต้องสังเกตเลย แต่ถ้าผู้ที่ไม่ค่อยได้นำรถยนต์ออกมาใช้แต่จอดไว้ตากแดดก็อาจจะมีส่วนทำให้เสื่อมหรือหมดอายุได้เร็วเช่นกันนะครับ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ของตัวเราเองอย่าชะล่าใจไปนะครับ


NEW CIVIC e:HEV

เริ่มต้น 1,099,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 12,000 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

ประมาทร่วม! คู่กรณีชนแล้วหนีหรือไม่มีประกัน ควรทำอย่างไรและประกันจะจ่ายให้เราไหม?

ประมาทร่วม! คู่กรณีชนแล้วหนีหรือไม่มีประกัน ควรทำอย่างไรและประกันจะจ่ายให้เราไหม?

12/11/2024

การประมาทร่วม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการความประมาทของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการขับขี่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการประมาทร่วมมักจะมาจากความประมาทเลินเล่อไม่ว่าจะเป็นการไม่ระวัง การขาดสมาธิ ความเร่งรีบ การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างการขับรถเร็วเกินที่กำหนด ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับฝ่าสัญญาณไฟแดงหรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างป้ายจราจรที่ไม่ชัดเจน รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้โทรศัพท์ในขณะที่กำลังขับขี่ ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือการขับขี่ที่เป็นเวลานาน

อ่านต่อ
ระวัง! ขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนโดนปรับไม่รู้ตัว ยิ่งมือใหม่ที่เพิ่งออกรถขับป้ายแดงยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย

ระวัง! ขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนโดนปรับไม่รู้ตัว ยิ่งมือใหม่ที่เพิ่งออกรถขับป้ายแดงยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย

11/11/2024

การขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนอาจมีผลต่อความปลอดภัย เนื่องจากรถป้ายแดงหมายถึงรถใหม่ที่ยังไม่ผ่านการจดทะเบียนเต็มตัว ผู้ขับขี่อาจมีความไม่คุ้นชินกับรถหรือสภาพถนนในเวลากลางคืน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การมองเห็นและความชัดเจนในการมองก็อาจลดลง ทำให้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม รถป้ายแดงจะต้องมีแสงไฟและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้เช่นกัน

อ่านต่อ
จุดบอด... อันตรายใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้าม

จุดบอด... อันตรายใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้าม

04/11/2024

จุดบอดเป็นพื้นที่ที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นยานพาหนะหรือวัตถุรอบข้างได้ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยว จุดบอดมีความอันตรายสูงโดยเฉพาะในพื้นที่การจราจรหนาแน่น เทคนิคในการลดจุดบอดมีหลายอย่าง เช่น การใช้กระจกมองข้างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การติดตั้งเซ็นเซอร์ช่วยเตือน รวมถึงการปรับระยะการขับขี่ให้เหมาะสมและสังเกตสภาพแวดล้อมรอบๆ อย่างสม่ำเสมอ

อ่านต่อ
Uto