รู้หรือไม่? พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี แตกต่างกัน

รู้หรือไม่? พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี แตกต่างกัน

21/10/2021

   หลายท่านอาจะสงสัยหรือเข้าใจผิดระหว่าง พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี ในบางท่านอาจเข้าใจว่าคือใบเดียวกัน จนไม่ได้ทำเรื่องต่อภาษี ซึ่งจริงๆ แล้ว 2 สิ่งนี้ไม่เหมือนกันนะครับ แต่จะไม่เหมือนกันอย่างไร วันนี้ ยูไนเต็ด ฮอนด้า นำข้อมูลมาฝากครับ

 

พ.ร.บ. 

   คือการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับตามกฎหมายใน พ.ร.บ. ปี 2535 ที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จะต้องทำ พ.ร.บ. ก่อน จึงจะต่อทะเบียนรถได้ โดยจุดประสงค์ก็เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยที่ไม่คำนึงว่าบุคคลที่ประสบเหตุนั้นจะเป็นผู้กระทำผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด พ.ร.บ. นี้จะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น  ซึ่งไม่ได้คุ้มครองรถยนต์นะคะ แต่ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ. จะมีความผิดทางกฎหมายจราจรเสียค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท

   ลักษณะของเอกสารจะมีขนาดเท่า A4 ที่ออกให้โดยบริษัทประกันภัย ซึ่งเป็นการแบ่งเบาภาระค่าความเสียหายรวมถึงดูแลค่ารักษาพยาบาลเมื่อได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย หรือเสียชีวิตหากเกิดอุบัติเหตุ 

 

ป้ายภาษี

   มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเท่าฝ่ามือสีชมพูฟ้า ซึ่งจะมีระบุปี พ.ศ. ตัวใหญ่ๆ ที่หลายท่านเรียกกันว่า ป้ายวงกลม หรือ ป้ายสี่เหลี่ยม โดยจะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนและนำเอกสารนี้ไปทำการจ่ายภาษีรถกับกรมขนส่งทางบก แล้วนำป้ายภาษีมาติดที่ตัวรถเพื่อแสดงให้รู้ว่า รถคันนี้ชำระภาษีแล้ว ซึ่งหากขาดการต่อภาษีอาจทำให้ทะเบียนรถถูกระงับได้นะครับ และจะกลายเป็นรถผิดกฎหมายทันทีเลยนะ 

   ในกรณีที่ขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี จะต้องจดทะเบียนเล่มใหม่ ซึ่งจะถูกเรียกเก็บค่าภาษีย้อนหลังด้วยนะครับ การต่อภาษีสามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ 3 เดือนก่อนวันสิ้นอายุ

 

   เห็นไหมครับว่า พ.ร.บ. และ ป้ายภาษี นั้นแตกต่างกันอย่างไร และหากท่านใดที่ต้องการซื้อประกันภัยรถยนต์สามารถซื้อได้ที่ ยูไนเต็ด ฮอนด้า ได้เลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็นทาง Line : @unitedhonda Facebook : United Honda Automobile หรือโทร 02-432-2222 ได้เลยครับ


NEW HONDA CITY TURBO

เริ่มต้น 629,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 6,900 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

ประมาทร่วม! คู่กรณีชนแล้วหนีหรือไม่มีประกัน ควรทำอย่างไรและประกันจะจ่ายให้เราไหม?

ประมาทร่วม! คู่กรณีชนแล้วหนีหรือไม่มีประกัน ควรทำอย่างไรและประกันจะจ่ายให้เราไหม?

12/11/2024

การประมาทร่วม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการความประมาทของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการขับขี่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการประมาทร่วมมักจะมาจากความประมาทเลินเล่อไม่ว่าจะเป็นการไม่ระวัง การขาดสมาธิ ความเร่งรีบ การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างการขับรถเร็วเกินที่กำหนด ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับฝ่าสัญญาณไฟแดงหรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างป้ายจราจรที่ไม่ชัดเจน รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้โทรศัพท์ในขณะที่กำลังขับขี่ ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือการขับขี่ที่เป็นเวลานาน

อ่านต่อ
ระวัง! ขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนโดนปรับไม่รู้ตัว ยิ่งมือใหม่ที่เพิ่งออกรถขับป้ายแดงยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย

ระวัง! ขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนโดนปรับไม่รู้ตัว ยิ่งมือใหม่ที่เพิ่งออกรถขับป้ายแดงยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย

11/11/2024

การขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนอาจมีผลต่อความปลอดภัย เนื่องจากรถป้ายแดงหมายถึงรถใหม่ที่ยังไม่ผ่านการจดทะเบียนเต็มตัว ผู้ขับขี่อาจมีความไม่คุ้นชินกับรถหรือสภาพถนนในเวลากลางคืน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การมองเห็นและความชัดเจนในการมองก็อาจลดลง ทำให้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม รถป้ายแดงจะต้องมีแสงไฟและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้เช่นกัน

อ่านต่อ
จุดบอด... อันตรายใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้าม

จุดบอด... อันตรายใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้าม

04/11/2024

จุดบอดเป็นพื้นที่ที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นยานพาหนะหรือวัตถุรอบข้างได้ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยว จุดบอดมีความอันตรายสูงโดยเฉพาะในพื้นที่การจราจรหนาแน่น เทคนิคในการลดจุดบอดมีหลายอย่าง เช่น การใช้กระจกมองข้างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การติดตั้งเซ็นเซอร์ช่วยเตือน รวมถึงการปรับระยะการขับขี่ให้เหมาะสมและสังเกตสภาพแวดล้อมรอบๆ อย่างสม่ำเสมอ

อ่านต่อ
Uto