ใช้รถอย่างไร ให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสเมื่อกลับมาระบาดอีกครั้ง

ใช้รถอย่างไร ให้ห่างไกลจากเชื้อไวรัสเมื่อกลับมาระบาดอีกครั้ง

21/04/2020

   ส่วนใหญ่ผู้ที่ใช้รถยนต์มักจะดูแลรถยนต์โดยการนำไปเช็คเครื่องยนต์ หรือทำความสะอาดรถโดยจะเน้นที่ตัวเครื่องยนต์และภายนอก ซึ่งสิ่งที่หลายๆ คนละเลยในการดูแลทำความสะอาดรถยนต์ก็คือที่ห้องโดยสาร ซึ่งห้องโดยสารนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากเพราะเราต้องเข้าไปนั่งอยู่ภายในรถยนต์ และถ้าทำความสะอาดไม่ดีหรือไม่สะอาดมากพอ สิ่งสกปรกต่างๆ ฝุ่นหรือเชื้อโรคอาจอาศัยอยู่ภายในตัวรถ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้นะครับ

   และในปัจจุบันนี้ยังมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 อยู่ สถานการณ์ในบางครั้งอาจดูเบาบางลงแต่เราไม่สามารถทราบได้ว่าจะระบาดหนักขึ้นมีอีกรอบหรือไม่ จึงอยากให้ทุกคนคอยระวังและดูแลสุขภาพกาย ใจ ทั้งภายนอกและภายในนะครับ

   สำหรับการดูแลรถยนต์ในช่วงสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ สามารถปฏิบัติได้โดย

 

ล้างมือก่อนขึ้นรถ

ล้างมือ
ล้างมือก่อนขึ้นรถ

   ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนที่จะขึ้นรถ ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสาร เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัสได้ และสำหรับขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้องมีอะไรบ้างมาดูกัน!

 

 

สวมหน้ากากอนามัย

สวมหน้ากากอนามัย
สวมหน้ากากอนามัย

   หากเดินทางมากกว่า 1 คน ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกคน เพื่อช่วยป้องกันการติดต่อ และลดการสะสมของเชื้อไวรัส

 

ล้างรถเป็นประจำ

ล้างรถเป็นประจำ
ล้างรถเป็นประจำ

   หมั่นล้างรถเป็นประจำ และควรสวมถุงมือล้างชนิดใช้แล้วทิ้ง โดยทำความสะอาดที่จุดเสี่ยงจากการสัมผัสภายนอกรถ เช่น มือจับประตูทุกบาน ตำแหน่งเปิดฝากระโปรงท้าย และฝากระโปรงหน้า ฝาถังน้ำมัน เป็นต้น สามารถใช้น้ำยาล้างรถหรือแชมพูล้างรถทำความสะอาดได้ตามปกติ และหลังล้างรถควรล้างมือให้สะอาดด้วยนะครับ

 

ทำความสะอาด

ทำความสะอาดห้องโดยสาร
ทำความสะอาด

   ทำความสะอาดภายในห้องโดยสาร โดยใช้ผ้าชุบน้ำผสมกับน้ำสบู่ บิผ้าดหมาดๆ แล้วนำไปเช็ดที่พวงมาลัย ปุ่มหรือสวิตช์ต่างๆ มือเปิดประตูทั้ง 4 บาน หน้าช่องแอร์ คันเกียร์ กระจกมองหลัง หรือกุญแจรีโมท เป็นต้น หลังจากนั้น ให้เช็ดด้วยผ้าแห้งสะอาด และทำความสะอาดพรมปูพื้นกับเบาะนั่ง สามารถใช้ผ้าชุบน้ำผสมกับน้ำสบู่ได้เช่นกัน ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ เนื่องจากบางชิ้นส่วนอาจส่งผลต่อพื้นผิววัสดุได้

 

การเปิดกระจกรถ

เปิดกระจก
เมื่อเปิดประจกรถ

   หากมีความจำเป็นต้องเปิดกระจกรถ ควรเปิด 2 บาน เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี ไม่ควรเปิดกระจกบานเดียวเพราะเชื้อโรคมีโอกาสเข้ามาภายในห้องโดยสารได้มากกว่าการเปิด 2 บานได้นะครับ
 

   รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมให้ความสำคัญกับห้องโดยสารนะครับ เพราะเมื่อรถสะอาดแล้ว สุขภาพของผู้ใช้รถก็ปลอดภัยไปด้วยนะ "ถึงอยู่ห่าง ยูไนเต็ด ฮอนด้า ก็ยังห่วง"

บทความอื่นๆ

คนมีรถต้องรู้! อยากเคลมเร็ว เคลมผ่านในครั้งเดียว รวมวิธีเคลมประกันให้เร็วแล้วไม่โดนเทโดยไม่ต้องง้อใคร

คนมีรถต้องรู้! อยากเคลมเร็ว เคลมผ่านในครั้งเดียว รวมวิธีเคลมประกันให้เร็วแล้วไม่โดนเทโดยไม่ต้องง้อใคร

18/06/2025

การมีรถยนต์ส่วนตัวสักคันหนึ่ง นอกจากเรื่องของการขับขี่ที่ปลอดภัยแล้วสิ่งที่เจ้าของรถทุกท่านต้องรู้เลยก็คือ วิธีเคลมประกันภัยรถยนต์ ให้เร็วและไม่โดนเทจากบริษัทประกัน เพราะในช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ความรวดเร็วและความเข้าใจในขั้นตอนการเคลมเป็นสิ่งที่จะช่วยให้สถานการณ์ไม่เลวร้ายมากไปกว่านี้นั่นเองครับ

อ่านต่อ
รู้ไว้ก่อนพัง! ผลเสียของการไม่เช็กผ้าเบรก รถพัง เบรกไม่อยู่ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุอย่ารอให้สายเกินไป

รู้ไว้ก่อนพัง! ผลเสียของการไม่เช็กผ้าเบรก รถพัง เบรกไม่อยู่ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุอย่ารอให้สายเกินไป

17/06/2025

อีกหนึ่งระบบในความปลอดภัยที่สำคัญที่สุดของรถยนต์ แต่หลายท่านมักจะมองข้ามไปหรือรอจนเกิดปัญหาแล้วค่อยมาแก้ไขทีหลังเมื่อสายไปแล้ว ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยทั้งของตัวเราและเพื่อนร่วมทางควรทำอย่างไรบ้างมาดูกันเลยครับ

อ่านต่อ
ไม่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ได้หรือไม่? ข้อดี-ข้อเสีย ที่เจ้าของรถต้องรู้

ไม่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ได้หรือไม่? ข้อดี-ข้อเสีย ที่เจ้าของรถต้องรู้

14/06/2025

ข้อเท็จจริงที่คนมีรถต้องรู้ ก่อนที่จะตัดสินใจไม่ซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 การมีรถยนต์ส่วนตัวในยุคนี้แทบจะกลายเป็นปัจจัย 5 ของชีวิตไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อความสะดวกสบายของตัวเราเองทั้งในการเดินทาง ช่วยประหยัดเวลา ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่คำถามที่ตามมาสำหรับเจ้าของรถก็คือ จำเป็นต้องทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หรือไม่? ยิ่งในปัจจัยนี้ที่ต้องประหยัดทุกบาททุกสตางค์ สำหรับคำตอบที่เข้าใจง่ายๆ พร้อมทั้งข้อดีและข้อเสีย และสิ่งที่ควรพิจราณก่อนตัดสินใจมีอะไรบ้าง แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 แต่กฎหมายบังคับเฉพาะ พ.ร.บ. เท่านั้น แต่การตัดสินใจทำหรือไม่ทำก็ขึ้นอยู่กับบความเสี่ยงและความพร้อมในการรับผิดชอบของเจ้าของรถนั่นเองครับ

อ่านต่อ
Uto