ติดโควิด! แต่ต้องรอเตียงจะทำอย่างไรดี

ติดโควิด! แต่ต้องรอเตียงจะทำอย่างไรดี

16/07/2021

   สถานการณ์โควิดที่มียอดผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยหนักเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เตียงไม่เพียงพอกับยอดผู้ติดเชื้อ เพราะเหตุนี้ทำให้มีผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องรอเตียงหรือต้องกักตัวอยู่ที่บ้านเกิดความกังวลว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร  ยูไนเต็ด ฮอนด้า ได้รวบรวมนำสิ่งที่ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นมาฝากกันครับ

 

ไข้ขึ้นสูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส

ไข้ขึ้นสูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 7-8 ชม./วัน
  • ดื่มน้ำเรื่อยๆ เมื่อดื่มเพียงพอปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อน
  • รับประทานยาพาราเซตามอลทุก 4-6 ชม. ครั้งละ 1 เม็ด หรือตามน้ำหนัก
  • เช็ดตัว บริเวณคอ ข้อพับต่างๆ

 

มีอาการไอ

มีอาการไอ
  • เลี่ยงการนอนราบ ให้นอนตะแคงหรือนอนหมอนสูง
  • รับประทานยาแก้ไอหรือยาอม เพื่อบรรเทาอาการไอ
  • จิบน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่น ห้ามให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนเด็ดขาด

 

อาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบาก
  • เปิดหน้าต่าง อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเท
  • หายใจช้าๆ ลึกๆ ทางจมูกและปาก เหมือนกำลังเป่าเทียน
  • นั่งตัวตรง ไม่นั่งหลังค่อม ผ่อนคลายบริเวณหัวไหล่
  • เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย โดยใช้มือวางบนหน้าขาทั้งสองข้างหายใจลึกๆ ยาวๆ
  • พยายามอย่าเครียด ตื่นตกใจ
  • เวลานอนให้นอนตะแคง หรือนอนหมอนสูง

 

อาการท้องเสียและอาเจียน

อาการท้องเสียและอาเจียน
  • งดอาหารประเภท นมโยเกิร์ต ผลไม้สด และอาหารย่อยยาก
  • ชงเกลือแร่ ORS ผสมน้ำต้มสุก น้ำสะอาด จิบเรื่อยๆ ทั้งวัน (ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต และโรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ)
  • ถ้ารับประทานอาหารไม่ได้ ให้รับประทานน้อยๆ แต่บ่อยๆ

 

*ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม

 

   นอกจากนี้จะต้องป้องกันเพื่อไม่ให้แพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นด้วยนะครับ อย่างเช่นการล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ หรือล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ล้างมือให้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะเวลาไอ จาม หรือสัมผัสสิ่งของต่างๆ การฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ที่เป็นจุดสัมผัสที่ใช้ร่วมกันภายในบ้านทั้งก่อนและหลังจับ อย่างพวกลูกบิดประตู ตู้เย็น ก๊อกน้ำ การแยกห้องกันอยู่ รวมถึงการแยกของใช้ที่ใช้ร่วมกันด้วยนะ และไม่ควรรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น งดการพบปะกับผู้คนที่มาเยี่ยมแต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้เว้นระยะห่างประมาณ 2 เมตรนะครับ ที่สำคัญ! จะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาแม้ว่าจะอยู่ภายในบ้านก็ตามครับ

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto