อันตราย! หากไม่ระวังระหว่างใช้ทางเลื่อน-บันไดเลื่อน

อันตราย! หากไม่ระวังระหว่างใช้ทางเลื่อน-บันไดเลื่อน

01/07/2023

   จากข่าวที่เป็นประเด็นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ที่มีผู้โดยสารประสบอุบัติเหตุบนทางเลื่อนที่สนามบินดอนเมืองที่ถูกทางเลื่อนดูดขาจนทำให้ผู้โดยสารท่านนั้นขาข้างซ้ายขาด ล่าสุด นายการันต์ ธนกุลจีรพัฒน์ ผู้อำนวยการสนามบินดอนเมือง ได้เปิดเผยว่าเมื่อเวลา 08.30 น. ของวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ได้เกิดเหตุทางเลื่อนที่สนามบินดอนเมืองภายในอาคารผู้โดยสารภายในประเทศขาเข้า บริเวณ Pier 4 ได้เกิดการยุบตัวลงในขณะที่มีผู้โดยสารใช้งานอยู่ จากภาพกล้องวงจรปิดจะเห็นได้ว่า เหมือนกระเป๋าไปกระแทกที่ขาซ้ายของผู้โดยสารในขณะที่ผู้โดยสารอยู่บนทางเลื่อน จากนั้นได้ล้มลงและขาโดนดูดเข้าไปจนถึงหัวเข่าจนขาข้างซ้ายขาด

 

   ซึ่งจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความวิตกกังวลกันเป็นอย่างมาก เพราะทางเลื่อน-บันไดเลื่อนเป็นสิ่งที่เราทุกคนใช้งานกันอย่างตามห้างนั่นเองครับ เหตุการณ์แบบนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรอบข้าง ฉะนั้นเราจะต้องรู้ถึงวิธีการป้องกัน รวมไปถึงข้อควรระวังในการใช้ทางเลื่อน-บันไดเลื่อน

 

ในขณะที่ใช้ ทางเลื่อน-บันไดเลื่อน

  • ไม่ควรหยอกล้อกัน
  • ไม่ควรเล่นโทรศัพท์มือถือ
  • คอยมองจังหวะการเคลื่อนตัวของบันไดเลื่อนก่อนที่จะก้าวเท้าขึ้น
  • ไม่วางเท้าบนเส้นสีเหลือง เพราะเส้นสีเหลืองเป็นตำแหน่งของชั้นบันไดที่แยกออกจากกัน ซึ่งจะทำให้เสียการทรงตัวอาจจะเกิดการล้มได้
  • ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกาย หากใส่กระโปรงที่ยาวหรือบานควรยกชายผ้าให้พ้นระดับพื้น
  • หากใส่รองเท้าที่มีเชือกให้ผูกเชือกให้แน่น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เข้าไปติดกับช่องหรือร่องบันไดเลื่อนได้
  • จัดเก็บไม้ค้ำยัน ไม้เท้า หรืออุปกรณ์ช่วยเดินอื่นๆ ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม
  • หากมีรถเข็นด้วยควรใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อนสำหรับรถเข็น เพราะล้อรถเข็นอาจจะลื่นไถลหรืออาจสะดุดไปกับพื้นต่างระดับของบันไดเลื่อน จนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • ควรก้าวเท้าก่อนถึงบันไดเลื่อนขั้นสุดท้าย รวมไปถึงเพิ่มความระมัดระวังในขณะที่กำลังก้าวเท้า เพื่อป้องกันการสะดุดล้มหรือชนกับคนที่อยู่ด้านหลังนั่นเองครับ

 

ขณะที่ยืนบนบันไดเลื่อน

  • จับราวบันไดเลื่อนให้มั่นเพื่อที่จะช่วยป้องกันการเสียการทรงตัว และควรยืนให้ชิดด้านขวา เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับผู้ที่เดินขึ้น-ลง บันไดเลื่อน
  • ไม่วางสิ่งของบนบันไดเลื่อน เพราะเศษวัสดุอาจเข้าไปเกี่ยวในชี่ร่องบันไดเลื่อน
  • กรณีที่ถือสิ่งของทั้งสองมือ แนะนำให้เปลี่ยนมารวมในมือข้างเดียวกันเพื่อให้สามารถจับราวบันไดเลื่อนได้สะดวก
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นอันตรายอย่างเช่น ยืนพิงกับขอบด้านข้างของบันไดเลื่อน การนั่งราวจับของบันไดเลื่อน การนั่งบนบันไดเลื่อน การยื่นศีรษะหรือลำตัวออกนอกราวจับของบันไดเลื่อน การยื่นเท้าไปชิดกับขอบข้างของบันไดเลื่อน เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้อาจจะได้รับอันตรายได้ครับ

 

ข้อควรระวังในการใช้บันไดเลื่อน

  • กรณีบันไดเลื่อนไม่ทำงาน ควรงดใช้บันไดเลื่อนเพื่อป้องกันการเกิดอันตราย
  • ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นที่มีพื้นที่แข็งเสมอกันเพื่อป้องกันการสะดุดล้ม
  • เพิ่มความระมัดระวังในการสวมรองเท้าส้นสูง ในขณะที่กำลังขึ้น-ลงบันไดเลื่อน
  • เมื่อใกล้ถึงปลายทางบันไดเลื่อนให้รีบก้าวข้ามบันไดเลื่อนขั้นสุดท้ายเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกบันไดเลื่อนหนีบ
  • กรณีรองเท้าเข้าไปติดกับชี่ร่องของบันไดเลื่อน ให้ทำการรีบถอดรองเท้าออกให้เร็วที่สุด

 

สำหรับเจ้าของสถานที่

  • หมั่นตรวจเช็กคุณภาพ และสมรรถนะของอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน
  • หากตรวจพบว่ามีความชำรุด ควรงดให้บริการทันทีพร้อมกับเร่งแก้ไขโดยด่วน เพื่อให้ความมั่นใจว่าจะไม่เกิดอันตรายต่อผู้อื่นขึ้นครับ

 

   หากในขณะที่เรากำลังใช้งานทางเลื่อน-บันไดเลื่อนอยู่ แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้นให้ตั้งสติพร้อมกับรีบกดปุ่มฉุกเฉินทันที แต่ถ้าหากไม่สามารถกดปุ่มฉุกเฉินเองได้ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ใกล้เคียง และรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ทันที การใช้ทางเลื่อน-บันไดเลื่อนควรปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อเป็นการลดการเกิดอุบัติเหตุได้นะครับ


ALL-NEW HONDA ACCORD e:HEV

เริ่มต้น 1,529,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 16,000 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto