เดิมเป็น LGBT ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น LGBTQIAN+ มาพร้อมกับสัญลักษณ์ “ธงสีรุ้ง”

เดิมเป็น LGBT ปัจจุบันได้เพิ่มเป็น LGBTQIAN+ มาพร้อมกับสัญลักษณ์ “ธงสีรุ้ง”

02/06/2023

   Pride Mouth ทำไมถึงต้องตรงกับเดือนมิถุนายน และสัญลักษณ์ทำไมถึงเป็นธงสีรุ้งด้วยนะ ซึ่งหลังจาก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เข้าร่วมกิจกรรมแคมเปญ “The Road to Bangkok Pride 2023” เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความภูมิใจ พร้อมปักธงประกาศความพร้อมเป็นเจ้าภาพ “WorldPride 2028” 

 

Pride Mouth เดือนแห่งความภาคภูมิใจ

   จุดเริ่มต้นเริ่มตั้งแต่ครั้งแรกในปี 1960 ซึ่งเป็นยุคที่สังคมยังไม่ค่อยเปิดรับผู้ที่มีความหลากหลายเพศเหมือนกับในปัจจุบันนี้ ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ บางท่านอาจถึงขั้นถูกขับไล่ออกจากบ้าน ทำให้พวกเขาจำต้องหลบและปิดบังความเป็นตัวตนเพื่อไม่ให้ใครรู้ ในยุคนั้นจะมีสถานที่ที่ปลอดภัยอยู่ที่หนึ่งก็คือ บาร์เกย์ เป็นที่ที่เอาไว้นัดรวมตัวกันสังสรรค์ เป็นที่พักสำหรับท่านที่ถูกขับไล่ออกจากบ้าน 

   บาร์เกย์ในยุคนั้นจึงยังไม่ได้รับการยอมรับทางกฎหมาย พอจะไปจดทะเบียนเจ้าหน้าที่ก็ไม่ให้จดเพียงเพราะว่าเป็นเกย์ จึงทำให้เกิดบาร์เถื่อนขึ้น จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ในวันที่ 28 มิถุนายน 1969 มีตำรวจบุกจับกุมผู้ใช้บริการในบาร์เกย์ “สโตวอลล์ อิน” เป็นแหล่งรวมตัวของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่พวกเขาก็ไม่ยอมให้จับ จนสุดท้ายเกิดเหตุการณ์บานปลายขึ้น ทำให้มีการใช้ความรุนแรงในการปราบปรามนั่นเองครับ

   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กลายเป็นชนวนให้ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิ ความเท่าเทียม และต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกทางตัวตน

   แต่ตำรวจยิ่งปราบปรามเท่าไร ก็ยิ่งมีคนออกมารวมตัวกันมากยิ่งขึ้น จึงนำไปสู่การเดินขบวนประท้วง ขบวนพาเหรด และการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยพวกเขาได้เริ่มจากการเคลื่อนไหวในมหานครนิวยอร์ก ก่อนที่จะขยายไปยังเมืองอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา จนได้มีการกระจายไปทั่วโลก

   นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาในทุกวันที่ 28 มิถุนายน ได้เป็นวันที่รำลึกถึงเหตุการณ์นี้ขึ้น เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิ และความเท่าเทียมให้แก่กลุ่มความหลากหลายทางเพศจนถึงในปัจจุบัน

   และเหตุการณ์ในวันนั้นได้มีการขยายใหญ่ออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสุดท้ายได้กลายเป็นการเรียกร้องแบบนี้ทั้งเดือนยาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อแสดงถึงตัวตนของกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ จึงทำให้เป็นที่มาของเทศกาล “Pride Month” เดือนแห่งความภาคภูมิใวจที่ยาวนานตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนั่นเองครับ

 

ความหมาย LGBTQIAN+

   ได้นำตัวย่อมาจากการเรียกคำของเพศวิถีต่างๆ ที่มีความหลากหลาย จากเดิมที่มีเพียง 4 ตัว “LGBT” แต่ต่อมาได้มีการเพิ่ม + เข้าไป เพื่อเป็นการสื่อความหมายที่มีความหลากหลายที่ได้เพิ่มเข้ามา ปัจจุบันได้มีตัวย่อทั้งหมด 8 ตัว “LGBTQIAN+” ซึ่งแต่ละคำนำมาจากคำดังนี้

  • Lesbian เลสเบี้ยน : ผู้หญิงที่ชื่นชอบในบุคคลที่เป็นผู้หญิงด้วยกัน
  • Gay เกย์ : บุคคลที่ชื่นชอบในบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ และรสนิยมทางเพศที่ตรงกับตนเองหรือที่เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ เพศชายที่ชื่นชอบในบุคคลที่เป็นเพศชายด้วยกัน
  • Bisexual คนรักสองเพศ : คนที่ชื่นชอบได้ทั้งเพศเดียวกัน และเพศตรงข้าม
  • Transgender คนข้ามเพศ : คนที่มีการแสดงอัตลักษณ์ทางเพศตรงข้าม และแตกต่างไปจากเพศกำเนิดของตัวเอง
  • Queer เควียร์ : เป็นคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่แสดงให้เห็นถึงความไม่มีกรอบในการเข้ามากำหนดเกี่ยวกับเรื่องเพศ
  • Intersex คนที่มีเพศกำกวม : คนที่มีสรีระทางเพศหรือแบบโครโมโซมที่มีลักษณ์กำกวม ไม่ตรงกับสรีระชายหรือหญิง ซึ่งอาจจะมีลักษณ์ทั้งชายและหญิง
  • Asexual คนไม่ฝักใฝ่ทางเพศ : คนที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหนก็ตาม
  • Non-Binary นอนไบนารี่ : การแสดงออกทางเพศที่อยู่นอกเหนือการจัดหมวดเรื่องเพศที่มีเพียงเพศชายปละเพศหญิงนอกจากนี้ยังเป็นคำที่ทลายการจัดระเบียบบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศว่าจะดำรงชีวิต โดยมีแนวทางในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับเพศหญิงหรือเพศชายเท่านั้น

 

ธงสีรุ้ง  

   การที่ธงเป็นสีรุ้งเป็นการรวมตัวของหลายๆ เฉดสีมาเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อสร้างสีสัน เหมือนกับความหลากหลายทางเพศนั่นเองครับ จึงได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ภายใต้การออกแบบของ “กิลเบิร์ต เบเกอร์” ศิลปินชาวอเมริกา และนับขับเคลื่อนสิทธิมนุษย์ชนของเกย์ในปี 1978 สำหรับความหมายของแต่ละสีนั้นมีดังนี้

  1. สีแดง : การต่อสู้หรือชีวิต
  2. สีส้ม : การเยียวยา
  3. สีเหลือง : พระอาทิตย์
  4. สีเขียว : ธรรมชาติ
  5. สีฟ้า สีคราม : ศิลปะ ความผสานกลมกลืน
  6. สีม่วง : จิตวิญญาณของ LGBTQ+

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : PPTV HB 36

 

   สำหรับในประเทศไทยก็ได้มีการยอมรับในวงสังคมเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ว่าจะเพศไหนก็เป็นมนุษย์เหมือนกันนะครับ 

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto