เราอยู่ในกลุ่มไหน? สังเกตอาการโควิดด้วยตนเอง

เราอยู่ในกลุ่มไหน? สังเกตอาการโควิดด้วยตนเอง

07/08/2021

   ในสถานการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบอย่างมากเลยก็คือโรงพยาบาลด้วยจำนวนเตียงที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ติดเชื้อที่รอการเข้ารักษาเป็นจำนวนมาก และด้วยเหตุผลนี้จึงได้แบ่งกลุ่มเพื่อประเมินอาการความรุนแรงของผู้ติดเชื้อ ซึ่งแบ่งได้ 3 กลุ่ม 

 

กลุ่มอาการสีเขียว

กลุ่มอาการสีเขียว
  • มีไข้ หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป
  • ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  • ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้น
  • ถ่ายเหลว
  • ไม่มีอาการหายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก
  • ไม่มีอาการปอดอักเสบ
  • ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคร่วมสำคัญ

   ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสีเขียวจะให้รักษาด้วยวิธี Home Isolation คือการกักตัวอยู่ที่บ้าน และถ้ามีอาการมากขึ้นจะพิจารณาส่งต่อให้กับสถานพยาบาลรักษา

 

กลุ่มอาการสีเหลือง

กลุ่มอาการสีเหลือง
  • แน่นหน้าอก
  • หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม
  • หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก เวลาไอแล้วเหนื่อย
  • อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
  • ปอดอักเสบ
  • ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ร่วมกับอาการหน้ามืด วิงเวียน

   ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่รอช้าไม่ได้จะต้องประสานงานหาเตียง ซึ่งจะต้องรอคิวจากกลุ่มอาการสีแดง

 

กลุ่มอาการสีแดง

กลุ่มอาการสีแดง
  • หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา
  • แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  • อาการซึม เรียกไม่รู้สึกตัว หรือตอบสนองช้า
  • มีภาวะปอดบวมและปอดอักเสบรุนแรง
  • ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที

   ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะต้องเข้ารับการรักษาทันที

 

   ถ้าประเมินอาการแล้วไม่ได้มีอาการรุนแรงจะให้รักษาตัวโดยกักตัวอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) โดยจะจัดชุดเวชภัณฑ์ดูแลรักษาโรคเบื้องต้นไปให้ที่บ้าน แต่ถ้าหากไม่สามารถแยกกักตัวอยู่ที่บ้านได้ก็จะมีเจ้าหน้าที่ทำการตรวจขึ้นยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้ง หากผลเป็นบวกก็จะทำการส่งตัวเข้าศูนย์พักคอย (Community Isolation) เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้มาอยู่ในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์และรับยาได้ทันที

 

   อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกคนดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการไปสถานที่แออัดด้วยนะครับ

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto