7 วิธีรับมือกับไวรัสโคโรนา

7 วิธีรับมือกับไวรัสโคโรนา

17/04/2020

   ตั้งแต่เข้าสู่ปี 2020 สถานการณ์ที่ทำให้ทั่วโลกรวมถึงภายในประเทศไทยกำลังจับตามองและเฝ้าระวังคงไม่พ้นเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่จากอู่ฮั่น หรือชื่อเรียกที่เป็นทางการจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่า โคโรนาไวรัส (COVID-19) ทำให้หลายประเทศในตอนนี้ได้รับผลกระทบในหลายๆ ด้านทั้งสุขภาพ เศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยว นักเดินทางก็อาจจะมีความกังวล เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อก็มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

   ไวรัสชนิดนี้รับเชื้อได้ง่ายจากระบบทางเดินหายใจ แพร่จากคนสู่คนโดยการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อที่แสดงอาการแล้ว 1 คน สามารถแพร่ให้คนอื่นได้ราว 2-6 คน เชื้อไวรัสนี้เมื่อได้รับเข้าไปจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ ความรุนแรงของโรคนี้ก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล แต่สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และ มีโรคประจำตัว จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากกว่า อาทิเช่น โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง เชื้อไวรัสจะทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทำให้ระบบหมุนเวียนเลือดผิดปกติ ตลอดจนไตวาย และถึงแก่ชีวิต

   แต่จะทำอย่างไร เมื่อมีความจำเป็นต้องเดินทางไปไหนมาไหนอยู่ทุกวันในช่วงนี้ เรามีวิธีดูแลตัวเองให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสนี้มาแนะนำ โดย 7 ข้อง่ายๆ ปฏิบัติตามได้ไม่ยาก ดังนี้
 

รับประทานอาหารปรุงสุก

ปรุงสุก
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกเท่านั้น

   หลีกเลี่ยงการทางอาหารดิบ และยึดหลักกินร้อนใช้ช้อนกลางโดยช้อนกลางอาจจะเป็นช้อนของตัวเราเองด้วยนะ เชื้อไวรัสจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิที่สูงกว่า 56 องศาเซลเซียส และอย่าลืมล้างมือก่อน-หลังรับประทานอาหารเพราะมือเป็นอวัยวะที่สัมผัสกับเชื้อโรคได้ง่ายที่สุด การล้างมือเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากเชื้อไวรัสได้ แล้วยังช่วยป้องกันโรคติดเชื้ออีกจำนวนมากที่สามารถติดต่อผ่านการสัมผัส และควรล้างมือให้ถูกต้องด้วยนะครับ ขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้องมีอะไรบ้างมาดูกัน

 

ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับของผู้อื่น

ของส่วนตัวร่วมกัน
ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับของผู้อื่น

   สิ่งที่ไม่ควรใช้ร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ เป็นต้น เพราะการใช้ของที่ร่วมกับผู้อื่นนั้นอาจจะเกิดการติดเชื้อไวรัสได้ง่ายยิ่งขึ้น อย่างผ้าเช็ดหน้าที่เราใช้เช็ดเหงื่อ เช็ดที่ใบหน้า ซึ่งเหงื่อสามารถติดต่อได้เหมือนกันและยิ่งโดนตาด้วยแล้วนั้น อาจจะเกิดการติดเชื้อได้

 

สวมใส่หน้ากากอนามัย 

สวมใส่หน้ากาก
ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการรับเชื้อ

   เพื่อเป็นการป้องกันเชื้อโรคทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน และต้องสวมอย่างถูกต้อง โดยสีเข้มไว้ด้านนอก สีอ่อนไว้ด้านใน คลุมทั้งปากและจมูก เพราะละอองฝอยในอากาศที่เราสูดดมเข้าไปอาจจะมีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ แต่อายุการใช้งานนั้นสั้นควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งนะครับ ถ้าใช้ซ้ำกันหลายๆ ครั้ง อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้

 

หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด

สถานที่แออัด
หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่แออัด

   ด้วยมลภาวะที่เป็นพิษ และอากาศถ่ายเทไม่สะดวกอย่างศูนย์การค้า ศูนย์อาหาร โรงภาพยนตร์ สถานีรถไฟฟ้า สถานีขนส่ง ชุมชนแออัด ล้วนเป็นแหล่งที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุด แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้เราสามารถป้องกันได้โดยก่อนที่จะสัมผัสกับสิ่งของตามที่สาธารณะ เช่น ราวบันได ลิฟต์ ประตู ตู้ ATM ควรฆ่าเชื้อก่อนโดยใช้สเปรย์แอลกอฮอล์ฉีด และหลังจากที่เราสัมผัสแล้วให้ล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ร่วมถึงเสื้อผ้าที่เราใส่เมื่อกลับจากข้างนอกแล้วให้นำไปซักทำความสะอาดทันที เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ติดมากับเสื้อผ้านั่นเองครับ

 

ไม่อยู่ใกล้กับผู้ป่วย

ไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วย
ไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ไอ หรือจาม

   เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าใครบ้างที่ได้รับเชื้อไวรัส เมื่อเจอให้อยู่ให้ห่างประมาณ 180 เซนติเมตร เพื่อให้พ้นจากรัศมีน้ำลาย และน้ำมูกที่กระจายออกมา 

 

หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วย หรือตาย

เลี่ยงสัมผัสสัตว์
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วย หรือตาย

   เนื่องจากกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อกลุ่มแรกมาจากสัตว์สู่คน ดังนั้น เราไม่สามารถรู้ได้ว่าสัตว์ตัวนั้นมีเชื้อไวรัสหรือไม่ 

 

พักผ่อนให้เพียงพอ 

นอนพักผ่อน
พักผ่อนให้เพียงพอ

   ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจากภายใน เป็นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ โดยเริ่มจากการพักผ่อนให้เพียงพอ และที่สำคัญอย่าลืมออกกำลังกายด้วยนะครับ

 

   สถานการณ์ช่วงนี้...ต้องดูแลเป็นพิเศษนะครับ และการล้างมือเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะถ้ามือของเราไม่สะอาดแล้วสัมผัสที่หน้า เชื้อไวรัสอาจจะปะปนอยู่ที่มือของเรา ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสได้นะครับ 

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto