COVID-19 กับ ไข้หวัดทั่วไป แตกต่างกันอย่างไรมาเช็คกัน

COVID-19 กับ ไข้หวัดทั่วไป แตกต่างกันอย่างไรมาเช็คกัน

17/04/2020

   เชื้อไวรัส COVID-19 หลังจากเริ่มแพร่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ที่ประเทศจีนได้ไม่นานก็ลุกลามไปยังหลายประเทศ รวมถึงในประเทศไทยที่พบผู้ติดเชื้อหลายราย ซึ่งอาการเจ็บป่วยค่อนข้างมีความใกล้เคียงกับไข้หวัดทั่วไป หลายคนที่มีอาการมีไข้ ไอ เจ็บคอ ในช่วงนี้ก็มักจะเกิดอาการวิตกกังวล และเกิดความสับสนว่าเป็นไข้หวัดทั่วไป กับ COVID-19 นั้น แตกต่างกันอย่างไร

   เชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 กับไข้หวัดทั่วไป เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาเหมือนกันกับไข้หวัดทั่วไป มักเกิดจากไรโนไวรัสถึง 30-80% รองลงมาคือ โคโรนาไวรัส 10-15% ซึ่งแพร่ผ่านละอองจากอากาศน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย

 

อาการของไข้หวัดทั่วไป

  • มีไข้สูงผ่านไป 3-4 วัน อาการจะเริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
  • อาจมีไอ จามเล็กน้อย ผ่านไป 3-4 วัน อาการจะดีขึ้น
  • ไม่มีอาการท้องเสีย
  • มีอาการคัดจมูก น้ำมูกอุดตัน ทำให้หายใจลำบาก 
  • อ่อนเพลีย ปวดตามตัว

 

ความรุนแรงของไข้หวัดทั่วไป

  • ไข้หวัดทั่วไป มักไม่มีโรคแทรกซ้อนรุนแรง และไม่มีอาการที่รบกวนชีวิตประจำวันมากนัก มีอาการอยู่ไม่นาน หากดูแลร่างกาย พักผ่อนให้เพียงพอ อาการไข้หวัดจะค่อยๆ หายไปเองในเวลา 3-4 วัน

 

การรักษาไข้หวัดทั่วไป

  • พักผ่อนให้มากขึ้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ให้ยารักษาตามอาการ เช่น กินยาลดไข้ เช่น แอสไพริน หรือพาราเซตามอล
  • ยาลดน้ำมูก เป็นยาที่ใช้ร่วมกับยาแก้ปวดและยาแก้คัดจมูก ช่วยให้ไข้หวัดหายได้เร็วยิ่งขึ้น
  • ยาแก้ไอ คือยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการไอมีเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้เสมหะนิ่มลงและขับออกได้ง่ายขึ้น

 

อาการของ COVID-19

  • มีไข้ มากกว่า 37 องศา
  • ไอ มีเสมหะ เจ็บคอ มีอาการนานเกิน 4 วัน เสมหะอาจมีเลือดติดมา
  • บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • หายใจลำบาก ในบางรายที่รุนแรงอาจมีอาการปอดอักเสบ หรือปอดบวม
  • ปวดเมื่อยตามตัว ทานอะไรไม่ลง

 

ความรุนแรงของ COVID-19

  • อาการรุนแรงที่สุดที่พบจากโคโรนาไวรัส คือ อาการปอดอักเสบอันนำไปสู่การเสียชีวิต ความรุนแรงของโรคแตกต่างกันตามความแข็งแรงของแต่ละคน เด็กอายุน้อย และวัยรุ่นจะมีอาการน้อยกว่าผู้สูงอายุ ผู้ที่เสียชีวิตเกือบทั้งหมดส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ และมักจะมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอด หรือโรคหัวใจ

 

การรักษา COVID-19

  • หากตรวจพบว่ามีเชื้อไวรัสให้รับผู้ป่วยไปรักษาในห้องแยกที่มีความดันอากาศในห้องเป็นลบ ซึ่งมีอยู่แล้วในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลศูนย์
  • ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ทางแพทย์จะให้การรักษาแบบประคับประคอง มีการให้ออกซิเจนหรือใส่ท่อช่วยหายใจตามความจำเป็น
  • ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที และห้ามผู้ป่วยเดินทางไปทำงานหรืออยู่ที่บ้านโดยเด็ดขาด
  • โรงพยาบาลต้องมีวิธีกำจัดเชื้อไวรัสในพื้นที่และสถานที่โดยรอบที่ตรวจพบเชื้อ
  • แพทย์ต้องรายงานผลการตรวจผู้ป่วยทุกรายที่พบการติดเชื้อไวรัสให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สสจ. ในแต่ละจังหวัด

 

   นอกจากอาการที่ต้องคอยสังเกตแล้วเราต้องมีวิธีการรับมือด้วยนะครับ 7 วิธีรับมือกับโควิด คลิก และในช่วงนี้ควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่เคลียดจนเกินไปนะครับ การล้างมือบ่อยๆ ก็เป็นการดูแลอีกอย่างหนึ่งเหมือนกันนะ และขั้นตอนการล้างมือที่ถูกต้องนั้นมีอะไรบ้างมาดูกัน

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto