รู้หรือไม่? ปรับสูงสุด 5,000 บาท หากฝ่าฝืนขับขี่หรือจอดบนทางเท้า

รู้หรือไม่? ปรับสูงสุด 5,000 บาท หากฝ่าฝืนขับขี่หรือจอดบนทางเท้า

04/09/2023

ปรับสูงสุด 5,000 บาท

   ขับขี่หรือจอดรถบนทางเท้ามีโทษปรับสูงสุดถึง 5,000 บาท พร้อมกับชวนแจ้งเบาะแสและรับส่วนแบ่งจากค่าปรับเป็นรางวัลอีกด้วยนะครับ บอกได้เลยครั้งนี้จับจริงปรับจริงเพราะได้มีการจัดระเบียบทางเท้าตามมาตรการโดยจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจตรวจตราและกวดขันผู้ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อน

   การขับขี่จักรยานยนต์บนทางเท้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอยู่แล้ว  ทั้งนี้ยังเป็นความผิดในคดีจราจรทางบกและยังเป็นคดีอาญาอีกด้วยนะครับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 43(7) กำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถบนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ ซึ่งหากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท ตามมาตรา 157”

รถทุกประเภท! เริ่มใช้ระบบตัดคะแนน จนเหลือ 0 จะถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นเวลา 90 วัน คลิก

 

   ตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียนเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 มาตรา 17(1) และ 17(2) ประกอบมาตรา 56 กำหนดว่า “ห้ามมิได้ผู้ใดจอดรถหรือขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนบนทางเท้า เว้นแต่เป็นการจอดหรือขับขี่เพื่อเข้าไปในอาคารหรือมีประกาศของเจ้าพนักงานจราจรผ่อนผันให้จอดหรือขับขี่ได้ ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 56” และหากฝ่าฝืนไม่ชำระค่าปรับจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย

ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนต้องรู้! พ.ร.บ. จราจรทางบกฉบับใหม่! คลิก

 

กรณีพบตัวผู้กระทำผิด

  • ยินยอมเปรียบเทียบปรับ แต่ไม่ชำระค่าปรับภายใน 15 วัน
  • ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ

 

กรณีไม่พบตัวผู้กระทำผิด

  • หากออกหนังสือเชิญพบ (2 ครั้ง) ไม่มาพบในกำหนดเวลา

   กทม. จะรวบรวมพยานหลักฐานส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป

 

ตัดแต้มใบขับขี่

   นอกจากนี้แล้วยังโดนตัดแต้มใบขับขี่ 1 คะแนน และหากหากขับขี่บนทางเท้าแล้วชนคนจนได้รับบาดเจ็บ จะมีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4), 157, ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390)

   หากทุกคนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ สังคมนี้ก็จะปลอดภัย ทุกคนที่ใช้ทางเท้าก็อุ่นใจเพราะมั่นใจว่าผู้ขับขี่จะมีวินัย และน้ำใจซึ่งกันและกันนั่นเองครับ อย่างไรก็ตามการใช้รถใช้ถนนก็เป็นสิ่งที่สำคัญ อยากให้ทุกคนมีสติและน้ำใจนะครับ


NEW HONDA HR-V e:HEV

เริ่มต้น 949,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 96,000 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

คนมีรถต้องรู้! อยากเคลมเร็ว เคลมผ่านในครั้งเดียว รวมวิธีเคลมประกันให้เร็วแล้วไม่โดนเทโดยไม่ต้องง้อใคร

คนมีรถต้องรู้! อยากเคลมเร็ว เคลมผ่านในครั้งเดียว รวมวิธีเคลมประกันให้เร็วแล้วไม่โดนเทโดยไม่ต้องง้อใคร

18/06/2025

การมีรถยนต์ส่วนตัวสักคันหนึ่ง นอกจากเรื่องของการขับขี่ที่ปลอดภัยแล้วสิ่งที่เจ้าของรถทุกท่านต้องรู้เลยก็คือ วิธีเคลมประกันภัยรถยนต์ ให้เร็วและไม่โดนเทจากบริษัทประกัน เพราะในช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ ความรวดเร็วและความเข้าใจในขั้นตอนการเคลมเป็นสิ่งที่จะช่วยให้สถานการณ์ไม่เลวร้ายมากไปกว่านี้นั่นเองครับ

อ่านต่อ
รู้ไว้ก่อนพัง! ผลเสียของการไม่เช็กผ้าเบรก รถพัง เบรกไม่อยู่ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุอย่ารอให้สายเกินไป

รู้ไว้ก่อนพัง! ผลเสียของการไม่เช็กผ้าเบรก รถพัง เบรกไม่อยู่ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุอย่ารอให้สายเกินไป

17/06/2025

อีกหนึ่งระบบในความปลอดภัยที่สำคัญที่สุดของรถยนต์ แต่หลายท่านมักจะมองข้ามไปหรือรอจนเกิดปัญหาแล้วค่อยมาแก้ไขทีหลังเมื่อสายไปแล้ว ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยทั้งของตัวเราและเพื่อนร่วมทางควรทำอย่างไรบ้างมาดูกันเลยครับ

อ่านต่อ
ไม่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ได้หรือไม่? ข้อดี-ข้อเสีย ที่เจ้าของรถต้องรู้

ไม่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ได้หรือไม่? ข้อดี-ข้อเสีย ที่เจ้าของรถต้องรู้

14/06/2025

ข้อเท็จจริงที่คนมีรถต้องรู้ ก่อนที่จะตัดสินใจไม่ซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 การมีรถยนต์ส่วนตัวในยุคนี้แทบจะกลายเป็นปัจจัย 5 ของชีวิตไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อความสะดวกสบายของตัวเราเองทั้งในการเดินทาง ช่วยประหยัดเวลา ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่คำถามที่ตามมาสำหรับเจ้าของรถก็คือ จำเป็นต้องทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 หรือไม่? ยิ่งในปัจจัยนี้ที่ต้องประหยัดทุกบาททุกสตางค์ สำหรับคำตอบที่เข้าใจง่ายๆ พร้อมทั้งข้อดีและข้อเสีย และสิ่งที่ควรพิจราณก่อนตัดสินใจมีอะไรบ้าง แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 แต่กฎหมายบังคับเฉพาะ พ.ร.บ. เท่านั้น แต่การตัดสินใจทำหรือไม่ทำก็ขึ้นอยู่กับบความเสี่ยงและความพร้อมในการรับผิดชอบของเจ้าของรถนั่นเองครับ

อ่านต่อ
Uto