รถทุกประเภท! เริ่มใช้ระบบตัดคะแนน จนเหลือ 0 จะถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นเวลา 90 วัน เริ่ม 9 มกราคม 2566

รถทุกประเภท! เริ่มใช้ระบบตัดคะแนน จนเหลือ 0 จะถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นเวลา 90 วัน เริ่ม 9 มกราคม 2566

09/12/2022

   เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ที่ผ่านมา ได้มีการแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถหรือระบบตัดแต้ม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อสร้างระบบให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานสากล โดยระบบบันทึกคะแนนความประพฤติกำหนดไว้ใน “ระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับระบบการบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถของผู้ได้รับอนุญาตขับขี่ พ.ศ. 2565” ซึ่งออกตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 142/1 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มกราคม 2566 ซึ่งจะเป็นมาตรการเสริมในการสร้างวินัยการขับขี่เพิ่มเติมจากการออกใบสั่งเพื่อบังคับใช้กฎหมายตามปกติ ภายใต้สโลแกน “มุ่งเน้นการสร้างวินัยการขับขี่ปลอดภัย ให้โอกาสแก้ไขไม่กระทำผิดซ้ำ สร้างความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย และเป็นมาตรฐาน”

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการขับรถก็คือ “ใบขับขี่” และข้อควรรู้! ก่อนทำใบขับขี่ คลิก

 

   โดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ ได้กล่าวว่า สาระสำคัญของระบบนี้ก็คือ กำหนดให้ผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่แต่ละราย จะมีคะแนนความประพฤติคนละ 12 คะแนน (ไม่ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตขับขี่กี่ชนิดก็ตาม) หากทำความผิดตามกฎจราจรในข้อหาที่ระบุไว้จะถูกตัดคะแนนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

 

6 เรื่องต้องรู้ ระบบตัดคะแนนหรือตัดแต้มใบขับขี่ปี 2566

  • ขับรถต้องมีใบขับขี่ โดยผู้ขับขี่ทุกคนมี 12 คะแนน
  • ทำผิดกฎจราจรใน 20 ฐานความผิดที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือไม่ชำระค่าปรับจราจร ถูกตัดคะแนนตั้งแต่ 1-4 คะแนน ขึ้นอยู่กับความผิด
  • หากถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 จะถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นเวลา 90 วัน
  • ฝ่าฝืนขับรถในช่วงถูกพักใบขับขี่ มีโทษจำคุก 3 เดือน และ/หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
  • คืนคะแนนได้ด้วยการเข้าอบรมกับกรมการขนส่งทางบกหรือรอให้ครบ 1 ปี จะได้คะแนนคืนอัตโนมัติ
  • หากถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นครั้งที่ 3 ภายในรอบ 3 ปี อาจถูกพักใช้ใบขับขี่มากกว่า 90 วัน และหลักจากนั้นภายใน 1 ปี หากถูกตัดคะแนนอีกจนถูกพักใช้ใบขับขี่เป็นครั้งที่ 4 อาจถูกเพิกถอนใบขับขี่ทุกประเภท

 

การตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถสำหรับการตัดคะแนนทันทีที่ทำผิด

 

   ตัด 1 คะแนน

  • ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ
  • ไม่สวมหมวกกันน็อค
  • ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
  • ขับรถด้วยความเร็วเกินกำหนด
  • ขับรถบนทางเท้า
  • ไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย
  • ไม่หลบรถฉุกเฉิน
  • ขับรถโดยประมาทน่าหวาดเสียว
  • ขับรถไม่ติดป้ายทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลง ปิดบัง
  • ไม่ติดป้ายภาษี

รู้หรือไม่? พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษี แตกต่างกัน คลิก

 

   ตัด 2 คะแนน

  • ขับรถฝ่าไฟแดง
  • ขับรถย้อนศร
  • ขับรถในระหว่างโดนพักใช้หรือเพิกถอนใบขับขี่

 

   ตัด 3 คะแนน

  • ขับรถในขณะหย่อนความสามารถ
  • ขับผิดวิสัยคนขับธรรมดา
  • ขับรถชนแล้วหนี

 

   ตัด 4 คะแนน

  • เมาแล้วขับ
  • ขับรถในขณะเสพยาเสพติด
  • แข่งรถในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น

ควรรู้! สำหรับค่าปรับจราจรในปัจจุบัน คลิก

 

ตัดคะแนนในการขับรถ ตัดคะแนนเมื่อไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่ง ค้างชำระ 1 ใบสั่ง ตัด 1 คะแนน

  • ฝ่าฝืนเครื่องหมายในทาง
  • ไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่
  • ขับรถไม่ชิดซ้าย
  • จอดในที่ห้ามจอด

 

คะแนนที่ถูกตัด คืนคะแนนได้ คะแนนที่ถูกตัดในแต่ละครั้ง เมื่อครบ 1 ปี จะได้รับคืนอัตโนมัติ

 

   อบรมกับกรมการขนส่งทางบก

  • เมื่ออบรมเหลือน้อยกว่า 6 คะแนน เข้าอบรมเพื่อคืนคะแนนได้ แต่ทำได้ปีละ 2 ครั้ง เท่านั้น
  • อบรมครั้งแรกได้คืนไม่เกิน 12 คะแนน ครั้งที่ 2 ได้คืนไม่เกิน 6 คะแนน

ขั้นตอนง่ายๆ กับการต่อใบขับขี่ออนไลน์ คลิก

   กรณีคะแนนเหลือ 0 จนถูกสั่งพักใบขับขี่ 90 วัน หากเข้าร่วมการอบรม

  • อบรมผ่านจะได้คืน 12 คะแนนทันที
  • อบรมไม่ผ่าน/ไม่เข้ารับการอบรม จะได้คืนเพียง 8 คะแนน หากครบ 1 ปี ไม่ทำผิดกฎจราจรอีก จะได้คืน 4 คะแนนที่เหลือ

 

   “การตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ เรายึดหลักความโปร่งใส และความเท่าเทียมกัน โดยให้โอกาสปรับปรุงแก้ไขพฤติกรรม และป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ตามมาตรฐานสากลเพื่อลดอุบัติ และสร้างความปลอดภัยให้ทุกคน” พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ ได้กล่าวไว้

 

เช็คง่ายๆ กับใบสั่งจราจรออนไลน์ คลิก

   วิธีการตัดคะแนนนั้นจะดำเนินการโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ระบบฐานข้อมูลใบสั่ง PTM ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการบันทึกการทำผิดกฎจราจร และตัดคะแนนในแต่ละครั้ง การสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ สำหรับช่องทางการตรวจสอบคะแนนมีดังนี้

  1. เว็บไซต์ E-Ticket PTM ซึ่งพัฒนาโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) สามารถตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ จ่ายค่าปรับ ตรวจสอบคะแนนความประพฤติ และตรวจสอบสถานะใบขับขี่
  2. แอปพลิเคชัน ขับดี (KHUB DEE) ซึ่งพัฒนาโดย NT เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสาร และตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ และคะแนนความประพฤติดี และดำเนินการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่อันเป็นประโยชน์ต่างๆ ที่ทันสมัย
  3. แอปพลิเคชัน เป๋าตัง ให้บริการชำระค่าปรับระบบออนไลน์

 

เตือนแล้วนะ! ใช้ป้ายแดงปลอมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คลิก

 

   อย่างไรก็ตามในการขับขี่รถบนท้องถนนจะต้องใช้ความระมัดระวังด้วยนะครับ เพื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านเองและเพื่อนร่วมทาง และสิ่งที่สำคัญจะต้องรักษากฎจราจรอย่างเคร่งครัดด้วยนะครับ เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้เสียประวัติและเงินทองได้นั่นเองครับ


NEW CIVIC e:HEV

เริ่มต้น 1,099,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 12,000 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

ทำไม? ทางม้าลายต้องสีขาว-ดำ และหากไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลายมีโทษปรับ!

ทำไม? ทางม้าลายต้องสีขาว-ดำ และหากไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลายมีโทษปรับ!

16/10/2024

โดนโทษ! หากไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย ทางข้ามม้าลาย เป็นบริเวณที่ถูกทำขึ้นมาบนถนนเพื่อให้คนเดินข้ามได้อย่างปลอดภัย ลักษณะของทางม้าลายจะเป็นลายสีขาว-ดำ เพื่อให้ผู้ขับขี่บนถนนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและมองได้ง่าย โดยทางม้าลายมักจะตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ที่มีผู้คนอยู่หรือเดินทางเป็นจำนวนมากอย่างเช่น โรงเรียนหรือห้างสรรพสินค้า สำหรับการใช้ทางข้ามม้าลายจะช่วยลดอุบัติเหตุได้แล้วยังช่วยส่งเสริมความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ถนนทุกๆ คนอีกด้วยนะครับ

อ่านต่อ
รถเหินน้ำ! เมื่อเกิดจะต้องรับมือและวิธีป้องกันควรทำอย่างไร

รถเหินน้ำ! เมื่อเกิดจะต้องรับมือและวิธีป้องกันควรทำอย่างไร

03/10/2024

อาการรถเหินน้ำเป็นอาการที่เกิดจากยางรถยนต์ของเราที่ไม่สามารถรีดน้ำออกได้จนทำให้ยางรถยนต์เกิดสูญเสียการยึดเกาะพื้นผิวถนน ซึ่งอาการรถเหินน้ำจะลดความสามารถในการบังคับทิศทางรวมไปถึงการเบรกของผู้ขับขี่ให้ลดลงอย่างมาก ถ้าหากผู้ขับขี่ไม่มีสติก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ยิ่งเป็นช่วงหน้าฝนที่ตกหนักขนาดนี้หรือในสถานการณ์น้ำท่วมอาจเสี่ยงที่จะเกิดอาการรถเหินน้ำได้

อ่านต่อ
จุดอับสายตาเสี่ยงเกิดอันตราย มีจุดไหนบ้างที่ต้องระวัง

จุดอับสายตาเสี่ยงเกิดอันตราย มีจุดไหนบ้างที่ต้องระวัง

14/09/2024

การขับขี่รถยนต์ไม่ว่าจะรถประเภทใดก็ตามทั้งคันเล็กคันใหญ่ สิ่งสำคัญคือทัศนวิสัยของผู้ขับขี่ หากมองไม่เห็นยานพาหนะหรือวัตถุชนิดอื่นๆ ที่อยู่ใกล้รถเราอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ไม่ว่าเราจะระวังมากแค่ไหนก็อาจจะเกิดขึ้นได้นะครับ เพราะการขับขี่จะมีจุดบอดหรือจุดอับสายตา ซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และยิ่งในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนช่องทางเดินรถหรือเข้าทางแยกยิ่งมีความเสี่ยงๆ มากเลยครับ

อ่านต่อ
Uto