ฮัดเช่ย! จามแบบนี้มีความหมาย

ฮัดเช่ย! จามแบบนี้มีความหมาย

16/04/2020

   การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สร้างความตระหนกให้กับคนทั่วโลกจำนวนไม่น้อย เนื่องด้วยเป็นไวรัสชนิดใหม่ ที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ และปอด อาการของโรคในเบื้องต้นอาจมีความคล้ายกับภูมิแพ้ ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ แต่จะแยกความแตกต่างอาการของโรคอย่างไร เพื่อลดความวิตกกังวล และสร้างความตระหนักรู้ในข้อสงสัยต่างๆ ให้มากขึ้น

   อาการของโรคภูมิแพ้ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และCIVOD-19 นั้น มีสิ่งที่คล้ายคลึงกันคือ ลักษณะอาการ เนื่องจากเป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ จึงสามารถมีอาการแสดงคล้ายกันได้ ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรง การทำความรู้จักอาการของทั้ง 3 โรค จะช่วยให้สามารถแยกอาการแตกต่างของโรคออกจากกันได้ เพื่อเฝ้าระวังโรคแบบตระหนักรู้แต่ไม่ตื่นตระหนก

 

อาการภูมิแพ้

ภูมิแพ้
อาการของการเป็นภูมิแพ้
  • จาม + คัน + คัดจมูกน้ำมูกไหล อาจเป็น "ภูมิแพ้" ก็คือการแพ้อากาศนั้นเอง ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แต่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราเอง เช่น แพ้ฝุ่น อากาศเย็น หรือละอองเกสร
  • อาการ : จาม น้ำมูกไหล คันยุบยิบๆ บริเวณตา จมูก แต่ไม่มีไข้ ไม่มีอาการไอ ไม่เหนื่อยหอบ 

 

อาการไข้หวัด

ไข้หวัด
อาการของการเป็นไข้หวัด
  • จาม + ไข้ + เจ็บคอ + มีน้ำมูก อาจเป็น "ไข้หวัด" หรือ "ไข้หวัดใหญ่"
  • ไข้หวัดธรรมดา : ไข้ต่ำ คัดจมูก มีน้ำมูกใส จาม เจ็บคอ คอแดง ไอเล็กน้อย ปวดหัวเล็กน้อย และอาการทั่วไปมักไม่รุนแรง และหายได้เอง
  • ไข้หวัดใหญ่ : มีไข้สูง (37.8-39.0 องศาเซลเซียส) ไข้สูงแบบทันทีทันใด มีอาการปวดหัวหนัก ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว อ่อนเพลีย มีอาการไอแบบรุนแรง และเจ็บหน้าอกด้วย (ใกล้เคียงกับอาการของโรค "COVID-19" ต้องให้แพทย์วินิจฉัย)

 

อาการติดเชื้อ COVID-19

โควิด-19
อาการของการติดเชื้อไวรัส covid-19
  • จาม + ไข้ + เจ็บคอ + มีน้ำมูก + หายใจเหนื่อยหอบ อาจเป็น "COVID-19" ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีอาการคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ บางคนที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการปอดบวมหรือหายใจลำบากร่วมด้วย และมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  • อาการ : มีไข้ ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย ไอมีเสมหะ หายใจลำบาก เจ็บคอ ปวดหัว

 

   เมื่อมีอาการป่วย ไม่ว่าจะไอหรือจาม จะต้องสวมหน้ากากอนามัยเสมอนะครับ หรืออาจจะใช้กระดาษทิชชู ผ้าเช็ดหน้า แม้แต่ข้อศอกก็ปิดปากได้ในขณะที่ไอหรือจามครับ เพื่อลดการกระจายความเสี่ยงจากตัวเราเองไปสู่ผู้อื่น ที่สำคัญอย่าลืมล้างมือทุกครั้งก่อนจะสัมผัสใบหน้าด้วยนะครับ รวมถึงคอยสังเกตอาการของตัวเอง คนในครอบครัว และดูแลตัวเองกันด้วยนะครับ "เป็นห่วง"

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto