ต้องระวัง! แอลกอฮอล์ เรียกเหมือนกันแต่ใช้ต่างกัน

ต้องระวัง! แอลกอฮอล์ เรียกเหมือนกันแต่ใช้ต่างกัน

21/04/2020

   จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้ประชาชนหวาดกลัวและพยายามหาวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องและอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol) เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% ผลิตจากพืชประเภทน้ำตาลและพืชจำพวกแป้งเช่นเดียวกันกับแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้จะเป็นชนิดของแอลกอฮอล์ที่สามารถรับประทานได้ แต่ด้วยความเข้มข้นที่สูงกว่าในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป ทำให้ผู้ดื่มมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษและในบางรายรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงเหมาะสำหรับทำความสะอาด เช็ด ถู เพื่อฆ่าเชื้อ  

   และการหาซื้อแอลกอฮอล์เจลล้างมือในช่วงนี้สินค้าอาจขาดตลาด ส่งผลให้มีผู้ผลิตมากขึ้นจากเดิม และอาจมีการใส่ส่วนผสมปลอมซึ่งจะทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ซึ่งถ้าผู้บริโภคเกิดเจอแอลกอฮอล์เจลล้างมือปลอม และใช้ไปในปริมาณมาก สามารถเกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างรุนแรงได้ เนื่องจากส่วนผสมที่ใช้นั้นต่างชนิดกัน ซึ่งไม่สามารถใช้แทนกัน เพราะอะไรนั้น มาดูกันครับ

 

 

แอลกอฮอล์ในเจลล้างมือ

เจลล้างมือ
แอลกอฮอล์ในเจลล้างมือ
  • แอลกอฮอล์ในเจลล้างมือมีส่วนผสมของ "เอทานอล" หรือ "เอทิลแอลกอฮอล์" ในปริมาณ 95% ที่ต้อง 95% นั้นเพราะว่าการที่นำส่วนผสมอย่างอื่นมาผสมผสานให้เป็นเจลล้างมือได้ จะเกิดความเจือจางของแอลกอฮอล์เกิดขึ้น และจะเหลือแอลกอฮอล์อยู่ที่ 75% นอกจากส่วนผสมมาตรฐานหลักโดยทั่วไปตามคำแนะนำของกรมอนามัยแล้ว ยังมีส่วนผสมอื่นๆ อีกเช่น ว่านหางจระเข้ ที่สามารถใส่ลงไปในเจลแอลกอฮอล์ล้างมือได้ เพราะแอลกอฮอล์มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค จึงทำให้ผิวหนังของเราแห้ง ดังนั้นการใส่ว่านหางจระเข้ลงไปในเจลแอลกอฮอล์ รวมถึงส่วนผสมต่างๆ เช่น วิตามิน E วิตามิน C  วิตามินเอ หรือสาร Beta Carotene จะช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น โดยไม่ทำลายผิวหนังชั้นนอกของเรา
     

แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม

แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม
  • แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มมีส่วนผสมของ "เอทานอล" หรือ "เอทิลแอลกอฮอล์" ในปริมาณไม่เกิน 40 % หากดื่มปริมาณแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นถึง 70% หรือมากกว่านั้นเพื่อหวังฆ่าเชื้อ อาจเป็นสาเหตุให้ผู้ดื่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ โดยเฉพาะผู้ที่นิยมดื่มเป็นประจำมีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย เพราะเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะถูกดูดซึมและส่งต่อการทำงานในทุกระบบของร่างกาย เข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ ง่ายขึ้น การรวมกลุ่มเพื่อดื่มสังสรรค์ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อจากการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น การดื่มแอลกอฮอล์จากแก้วเดียวกันหรือหลอดเดียวกัน ทั้งนี้การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก นอกจากจะไม่สามารถฆ่าเชื้อได้แล้วอาจทำให้เกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษเฉียบพลัน อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

   ถ้าหากนำแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มนำมาฆ่าเชื้อโรค จะไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้เพราะปริมาณแอลกอฮอล์น้อยเกินไป และถ้าแอลกอฮอล์ในเจลล้างมือมีปริมาณมากเกินไป ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคก็จะไม่ได้เหมือนกัน เพราะการฆ่าเชื้อโรคที่มือโดยใช้เจลล้างมือนั้น ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 15-20 วินาที เมื่อปริมาณของแอลกอฮอล์มากเกินไป แอลกอฮอล์ก็จะระเหยในอากาศไวเกินไปที่จะไปจัดการเชื้อโรคบนมือของเราได้เช่นกัน

   นอกจากเอทิลแอลกอฮอล์แล้วยังมีแอลกอฮอล์อีกชนิดหนึ่งที่มักจะนำมาใช้งานผิดประเภทอย่าง เมทิลแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์กับเมทิลแอลกอฮอล์จะแตกต่างกันอย่างไร คลิก แอลกอฮอล์เจลล้างมือที่เชื้อโรคกลัวแล้วยังมีสิ่งอื่นอีกนะครับ สิ่งที่โควิดกลัว คลิก และเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อเรามี 7 วิธีรับมือมาฝาก คลิก

   และเมื่อมีอาการไม่สบายอย่าเพิ่งตื่นตระหนกไปนะครับ ให้เช็คอาการของตัวเองก่อนว่าอาการใกล้เคียงกับอาการการติดเชื้อหรือไม่ อาการติดเชื้อโควิดกับไข้หวัดทั่วไป คลิก เพราะบางทีอาจเป็นแค่อาการของไข้หวัดทั่วไปที่ไม่ได้รุนแรง ไม่อยากให้ตื่นตระหนกแต่อยากให้ระวังกันนะครับ

บทความอื่นๆ

เกิดเหตุไฟไหม้ ต้องทำอย่างไร? รับมือ ป้องกัน และวิธีการมีอะไรบ้าง

เกิดเหตุไฟไหม้ ต้องทำอย่างไร? รับมือ ป้องกัน และวิธีการมีอะไรบ้าง

07/10/2024

การเกิดไฟไหม้ไม่ว่าจะทั้งสถานประกอบกิจการ โรงงานหรืออาคารต่างๆ รวมไปถึงบ้านเรือนผู้ที่อยู่อาศัย เหล่านี้มาจากการที่เราไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ในตั้งแต่เริ่มแรกที่เกิดไฟไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัวจนไม่สามารถควบคุมจากเหตุไฟไหม้เพียงเล็กน้อยจนไปถึงรุนแรงได้ สิ่งที่ตามมาจากการเกิดเหตุไฟไหม้ก็คือ เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แต่หากเราศึกษาหรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับการควบคุมและการดับเพลิงขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อ่านต่อ
เทศกาลกินเจเริ่มแล้ว! คนที่กินเจต้องรู้อะไรบ้างทั้งข้อห้ามและสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

เทศกาลกินเจเริ่มแล้ว! คนที่กินเจต้องรู้อะไรบ้างทั้งข้อห้ามและสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

01/10/2024

เทศกาลกินเจในปี 2567 นี้ อยู่ระหว่างวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 การกินเจหรือในทางภาษาจีนคือ เจี๊ยะฉ่าย ซึ่งมีความหมายว่า “กินผัก” ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเพียงแค่เราถือศีลกินเจ และงดอาหารบางอย่างเท่านั้นเป็นเวลา 10 วัน และสามารถทำได้ทันที สำหรับท่านใดที่ไม่มีเวลาไปทำบุญหรือเดินทางไปวัดก็สามารถใช้วิธีนี้ได้เช่นกันนะครับ

อ่านต่อ
หน้าฝนและน้ำท่วมด้วยยิ่งต้องระวังกับโรคที่มาพร้อมกับน้ำ ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเสี่ยงเป็นโรคได้

หน้าฝนและน้ำท่วมด้วยยิ่งต้องระวังกับโรคที่มาพร้อมกับน้ำ ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเสี่ยงเป็นโรคได้

19/09/2024

โรคเหล่านี้เราสามารถลดความเสี่ยงที่จะติดโรได้ด้วยการดูแลสุขภาพของเราเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ พร้อมกับปฏิบัติตามแนวทางป้องการเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการติดต่อ และหากเรารู้สึกตัวว่ามีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันทีจะได้รักษาอย่างตรงจุด

อ่านต่อ
Uto