เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

   เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

 

แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

   ศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ IPCC ให้สัมภาษณ์ว่า ที่พม่าเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.4 แมกนิจูด เกิดขึ้นที่รอยเลื่อนสะกายซึ่งเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ของพม่า ซึ่งล่าสุด ศูนย์แผ่นดินไหวของสหรัฐฯ ได้อัปเดตความแรงเป็นขนาด 7.7 แมกนิจูด ทำให้อาคารเกิดเสียหายเป็นอย่างมากเพราะเป็นชั้นดินอ่อน จึงเพิ่มความรุนแรงเป็น 3 เท่าตัว ทำให้เรารู้สึกถึงความรุนแรงนี้ได้

   นอกจากนี้ยังได้กล่าวอีกว่า เราไม่เคยเจอแผ่นดินไหวแรงขนาดนี้ โดยแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนี้ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวในรอบ 100 ปี โดยครั้งสุดท้ายที่พม่าที่รุนแรงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2473 มีขนาด 7.4 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 500 คน และส่วนในครั้งนี้น่าจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตที่มากกว่า

   และสำหรับอาฟเตอร์ช็อกที่จะตามมาเป็นระดับความแรงที่น้อยกว่า ซึ่งจะรับรู้และรู้สึกน้อยกว่านี้ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่ากี่ครั้งหรืออาจหลายเดือน โดยเฉพาะภาคเหนือจะได้รับความรุนแรงเช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำปาง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง คลิก

 

สั่งหยุดบริการทุกอย่าง!

 

วิทยุการบิน สั่งห้ามทุกสนามบินนำเครื่องขึ้นบิน

   มีรายงานว่า วิทยุการบินแห่งประเทศไทยได้สั่งการไม่อนุญาตให้สนามบินทั่วประเทศนำเครื่องขึ้นบินเพื่อความปลอดภัยเป็นเวลา 30 นาที

 

ทุกสถานีขนส่งผู้โดยสาร-ผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้า หยุดดำเนินการชั่วคราว

   ได้มีการเปิดเผยว่า ตามที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ ได้สั่งการให้ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ให้ดำเนินการดูแลผู้โดยสาร โดยบริเวณอาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร), สถานีฯ ปิ่นเกล้า, สถานีฯ บรม, สถานีฯ เอกมัย, สถานีฯ รังสิต, สถานีเดินรถขนาดเล็ก ให้มีการอพยพพนักงานผู้โดยสารออกจากอาคารทุกสถานี และหยุดดำเนินการทั้งหมดเป็นการชั่วคราว

 

ปิดทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางขึ้น-ลง ด่านดินแดงชั่วคราว

   ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ได้ปิดทางขึ้น-ลง ตรงด่านดินแดง เนื่องจากเครนก่อสร้างจากอาคารข้างเคียง มีเศษวัสดุหล่นใส่ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทั้งหมด และมุ่งหวังให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยระดับสูงสุดทุกเส้นทางภายใต้การดูแลของ กทพ.

 

งดใช้บริการรถไฟฟ้าชั่วคราว

   รถไฟฟ้าใต้ดินสถานีศูนย์สิริกิตต์ โคลงเคลงไปมาจนรู้สึกราวกับอยู่บนเรือ ทำให้เจ้าหน้าที่สั่งให้ออกมาจากรถไฟฟ้าทั้งหมด พร้อมดับไฟและงดใช้บริการชั่วคราว

นอกจานี้ยังมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์อีกมากมายอย่าง เหตุอาคารก่อสร้างของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่ย่านจตุจักรพังถล่มลงมา หรือเหตุที่จังหวัดลำปางในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพบว่าเสามีสภาพแตกร้าวและได้รับความเสียหายในหลายจุด เป็นต้น

 

   กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยข้อมูล "ขนาดและความรุนแรง" แผ่นดินไหวต้องสั่นสะเทือนขนาดไหนเราถึงจะรู้สึก หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ และภาคเหนือ

ขนาดความรุนแรง
น้อยกว่า 3.0ประชาชนไม่รู้สึก ตรวจวัดได้เฉพาะเครื่องมือเท่านั้น
3.0-3.9คนอยู่ในบ้านเท่านั้นที่จะรู้สึกได้ชัดเจน การสั่นสะเทือนจะคล้ายๆ กับมีรถบรรทุกแล่นผ่าน
4.0-4.9ประชาชนส่วนใหญ่จะรู้สึกได้ ถ้วยชามตกแตก หน้าต่างพัง สิ่งของต่างๆ ไม่มั่นคงหรือโคมไฟแกว่ง
5.0-5.9ประชาชนทุกคนรู้สึกและอาคารเกิดความเสียหายเล็กน้อย ผนังร่วงหล่นได้
6.0-6.9ประชาชนตื่นตกใจ และอาคารเสียหายในระดับปานกลาง ปล่องไฟ บ้าน โรงงาน เสาหิน กำแพงหักล้มพังลงมาได้
7.0-7.9อาคารเสียหายอย่างมาก และพบว่ามีรอยแตกบนพื้นดิน 
มากกว่า 8.0อาคารเสียหายเกือบทั้งหมด ตึกถล่ม สะพานขาด ดินถล่ม

   อย่างไรก็ตามการเกิดแผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่สามารถคำนวณ ขนาด สถานที่ และเวลา ของการเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างแม่นยำ

   และสำหรับผู้ที่อาศัยในอาคารที่มีความสูงกว่า 10 ชั้น สามารถกลับเข้าที่พักได้แต่จะต้องคอยสังเกตรอยร้าวในที่พักให้รอบคอบ หากพบว่ามีรอยร้าวให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอาคารเพื่อเข้ามาตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยต่อตัวท่านเอง พร้อมกับเฝ้าระวังเรื่องอัคคีภัยจากท่อแก๊สในอาคารด้วยนะครับ 

 

ยูไนเต็ด ฮอนด้า ขอแสดงความห่วงใยและความเสียใจต่อทุกท่านจากสถานการณ์แผ่นดินไหว

“ขอให้ทุกท่านปลอดภัย และหลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยง พร้อมกับติดตามข่าวสารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด และขอให้ทุกท่านผ่านพ้นสถานการณ์แผ่นดินไหวนี้ไปด้วยดี”

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
ลดหย่อนภาษี 2568 ประกันแบบไหนสามารถลดหย่อนภาษีได้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ สามารถลดหย่อนได้หรือไม่?

ลดหย่อนภาษี 2568 ประกันแบบไหนสามารถลดหย่อนภาษีได้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ สามารถลดหย่อนได้หรือไม่?

01/02/2025

การลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตและประกันสุขภาพเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่หลายท่านมักใช้เพื่อเป็นการช่วยลดภาระภาษี ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้ประหยัดภาษีได้แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้อีกด้วย สำหรับการลดหย่อนภาษีจะต้องมีเอกสารเพื่อเป็นการยืนยันการชำระหรือการบริจาคที่ถูกต้อง เช่น ใบเสร็จรับเงินจากบริษัทประกัน ใบรับรองจากกองทุน ใบเสร็จจากการบริจาค เป็นต้น อย่าลืมไปใส่สิทธิลดหย่อนภาษีกันนะครับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568

อ่านต่อ
Uto