จากที่เห็นในข่าวที่มีรถกระบะป้ายแดงที่กำลังขับอยู่บนทางด่วน ซึ่งขับมาอยู่ดีๆ ก็เกิดอาการพวงมาลัยล็อคจนทำให้รถเสียหลัก และที่น่าตกใจไปกว่านั้นก็คือ เด็กอายุ 6 ขวบ ได้นั่งอยู่ที่เบาะด้านหลังพุ่งตกหน้าต่างลงไปข้างล่างที่มีความสูงพอสมควรทำให้เด็กคนนั้น เสียชีวิตทันที ยูไนเต็ด ฮอนด้า ต้องขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างมากเลยนะครับ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ซึ่งสาเหตุของพวงมาลัยล็อคอาจเกิดจากหลากหลายสาเหตุทั้ง สายสิญจน์อาจจะไปขัดกับพวงมาลัย หรือระบบของรถยนต์ รวมไปถึงชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่ไม่พร้อมใช้งาน
เกณฑ์คะแนนจราจรใหม่! โดนตัดเหลือ 0 คะแนน สั่งพักใบอนุญาตขับขี่ 90 วัน คลิก
โดยแพทย์มีการเตือนอันตรายเกี่ยวกับด้ายสายสิญจน์ผูกที่พวงมาลัย ที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ จนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โดย รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒได้มีการโพสต์เตือนเกี่ยวกับการผู้สายสิญจน์ไว้ที่พวงมาลัย เพราะจากประสบการณ์ที่ท่านได้เคยออกไปตรวจสถานที่ที่เกิดเหตุในกรณีอุบัติเหตุจราจร ซึ่งจากข้อมูลของตำรวจและกองพิสูจน์หลักฐานในการตรวจสภาพรถ ได้พบว่ารถคันที่เกิดเหตุน่าจะมีปัญหาเรื่องพวงมาลัย โดยในขณะที่กำลังขับจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น สาเหตุน่าจะมาจากด้ายสายสิญจน์ที่ผูกกับพวงมาลัยรถยนต์เอาไว้
การผูกหรือคล้องสายสิญจน์ที่คอพวงมาลัยไม่ว่าจะเส้นเล็กหรือเส้นใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะสายสิญจน์อาจเข้าไปพันที่ขดลวดคอพวงมาลัยได้ เพราะว่าชุดคอพวงมาลัยและชุดพวงมาลัยจะมีรอยต่อที่มีช่องว่างอยู่ เมื่อเวลาหมุนพวงมาลัยอาจทำให้สายสิญจน์เกิดการขยับตัว และแทรกเข้าไปยู่ในชุดแผงวงจรขดลวดคอพวงมาลัยได้ ทำให้เกิดการขาดวงจร และอาจมีรูปสัญญาณเตือนโชว์ นอกจากนี้แตรจะไม่ทำงานอีกด้วย หรืออีกเหตุการณ์หนึ่งอาจเข้าไปพันและติดจนพวงมาลัยทำให้หมุนไม่ได้ในขณะที่กำลังขับขี่ อันตรายสุดๆ
ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์อย่างเช่น แร็คพวงมาลัย สำหรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับพวงมาลัย โดยสาเหตุต่างๆ มีดังนี้
- อาการสั่นของพวงมาลัย อาจเกิดขึ้นได้กับพวงมาลัยที่มีหลากหลายปัจจัยร่วมกันไม่ว่าจะเป็น ระบบล้อรถยนต์ ที่มาจากการถ่วงล้อ เพลา ลูกปืน โช้กอัพหรือเครื่องแท่นเกียร์ที่ไม่มีความเรียบร้อยสมบูรณ์ รวมไปถึงอายุการใช้งานของชิ้นส่วน แม้กระทั่งปัญหาที่เกิดกับตัวยางรถยนต์อย่างเช่น ยางรถยนต์เบี้ยวหรือเก่าจนเกินไป รวมไปถึงเรื่องของการขับขี่รถยนต์ที่ขับด้วยความเร็วสูง จรทำให้เกิดการปะทะระหว่างลมกับช่วงล่างของล้อ จึงส่งผลให้การควบคุมรถเกิดเสียหลักได้
- เลี้ยวแล้วพวงมาลัยไม่กลับมายังตำแหน่งเดิม เกิดจากการวางศูนย์ล้อที่ไม่ถูกต้องหรืออาจจะเป็นความเสียหายของระบบตั้งศูนย์ล้อ รวมไปถึงการดัดแปลงช่วงล่างแบบไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งความดันลมยางรถยนต์ที่ต่ำกว่าที่กำหนดซึ่งอาจเป็นปัจจัยร่วมได้เช่นกันนะครับ
ซึ่งในการควบคุมทิศทางของรถยนต์แต่ละรุ่นแต่ละคันจะมีความแตกต่างกันระหว่าง
- ในอดีต ระบบบังคับเลี้ยวจะต่อตรงกับระบบกันสะเทือนต่างๆ เพื่อให้ผู้ขับขี่ได้ปรับทิศทางที่พวงมาลัย
- ส่วนในปัจจุบัน ได้ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขับขี่มากยิ่งขึ้น เป็นการผ่อนแรงให้กับผู้ขับขี่ โดยจะแบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ
- ระบบพวงมาลัยพาวเวอร์แบบไฮโดรลิก ซึ่งระบบนี้จะใช้ชุดปั้มและน้ำมันไฮโดรลิกในการช่วยผ่อนแรงผ่านไปยังชุดแร็คพวงมาลัยโดยระบบจะทำงานตลอดเวลา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะติดเป็นชิ้นส่วนที่ควบอยู่กับเครื่องยนต์ ในบางรุ่นจะมีการพัฒนาให้สามารถปรับแรงดันได้ด้วยนะครับ เพื่อสามารถปรับให้พวงมาลัยหนักหรือเบาได้ตามที่ผู้ขับขี่ต้องการ
- ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า ระบบนี้จะเป็นระบบใหม่ที่จะได้รับความนิยมในหมวดรถเก๋ง และรถกระบะในบางรุ่น โดยระบบนี้จะใช้การควบคุมที่ชุดมอเตอร์ไฟฟ้าในการบังคับเลี้ยวแทนระบบไฮโดรลิกเดิม ระบบนี้จะใช้ไฟฟ้าในการให้กำลังกับตัวมอเตอร์เพื่อเป็นการผ่อนแรง เมื่อผู้ขับขี่ต้องการบังคับทิศทางระบบจะจ่ายไฟไปยังตัวมอเตอร์ยังคับทิศทางที่ชุดแร็คพวงมาลัยนั่นเองครับ
ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่เกิดขึ้นได้และจะต้องรอทางเจ้าหน้าที่สรุปอีกที ทั้งนี้ทางด้าน พ.ต.ท.ประจวบ แขตสันเที่ยะ รอง ผกก.สอบสวน สภ.สำโรงใต้ และเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งมีทั้ง กองพิสูจน์หลักฐาน 1 ปทุมธานี กองพิสูจน์หลักฐานสมุทรปราการ และอีกหลายๆ หน่วยงานได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อทำการตรวจสอบ และรวบรวมพยานหลักฐานรถกระบะคันที่เกิดขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลของตัวรถ ซึ่งจะมีการบันทึกการใช้รถเพื่อเอาไปเปรียบเทียบกับภาพหน้ารถ และยังสอบปากคำผู้ขับขี่เพิ่มเติมเกี่ยวกับก่อนเกิดเหตุ โดยได้เก็บหลักฐานตามที่ผู้ขับขี่อ้างที่พวงมาลัย และบริเวณช่วงล่างของตัวรถว่ามีอะไรขัดข้องหรือไม่นั่นเองครับ
ทำผิดซ้ำ! ปรับหนักสุด 100,000 บาท หากเมาแล้วขับ และเพิ่มโทษในหลายคดี คลิก
ที่สำคัญ สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือ ไม่ได้มีการติดตั้งคาร์ซีท เนื่องจากในปัจจุบันได้มีกฎหมายกำหนดให้ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี จะต้องจัดให้นั่งในที่ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรืออย่างน้อยก็ควรคาดเข็มขัดนิรภัยไว้ตลอดเวลาที่นั่งโดยสารนะครับ จะได้ไม่เกิดความสูญเสียอย่างเหตุการณ์นี้นั่นเองครับ
ดีอย่างไร? หากนำรถเข้าเช็คระยะตามกำหนด คลิก
ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากความประมาทของผู้ขับขี่หรือความผิดปกติของตัวรถ อย่างไรก็ตามหากมีการติดตั้งคาร์ซีทสำหรับเด็กเอาไว้ หรือคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขึ้นรถ จะได้ช่วยลดความสูญเสียได้นะครับ
หากต้องการนำรถยนต์เข้าศูนย์บริการ ที่ ยูไนเต็ด ฮอนด้า Line : @unitedhonda Facebook : United Honda Automobile หรือโทร 02-432-2222 ได้เลยครับ