รถชนกันทีไร “รถใหญ่ผิดเสมอ” คำนี้มักได้ยินจนติดหูกันเลยใช่ไหมล่ะครับ และบางคนก็เชื่อแบบนั้นด้วยว่าหากเกิดเหตุการณ์รถยนต์กับมอเตอร์ไซค์ชนกัน แบบนี้รถใหญ่จะต้องเป็นฝ่ายผิดอย่างแน่นอน
“รถใหญ่กว่าไม่ได้แปลว่าต้องผิดทุกกรณี เพราะไม่ว่าจะรถเล็กหรือรถใหญ่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบกเหมือนกัน”
ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้เป็นเช่นกันเสมอไปครับ เพราะจะต้องดูด้วยว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ประมาทก่อนจนทำให้เกิดอุบัติเหตุแบบนี้เกิดขึ้น ส่วนการวินิจฉัยว่าใครเป็นฝ่ายที่ประมาทนั้นต้องดูที่องค์ประกอบตามกฎหมาย และพฤติกรรมของผู้ขับขี่ในแต่ละคันด้วย การฝ่าฝืนกฎจราจร การเจตนาของแต่ละฝ่าย รวมไปถึงผลของการกระทำผิด ซึ่งนั่นจะเป็นการบ่งบอกชี้ว่าเป็นใครที่เป็นฝ่ายประมาท และจะต้องรับผิดชอบ
กฎหมายน่ารู้
รถชนท้าย
ในกรณีที่ขับรถชนท้าย จะเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 40 ของพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่ได้ระบุไว้ว่า “ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างคันหน้าพอสมควรในระยะที่หยุดรถได้อย่างปลอดภัย เมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ”
ดังนั้น ถ้าคุณขับรถชนท้ายคันหน้าไม่ว่าจะเกิดจกความประมาท ความตั้งใจ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ คุณก็จะเป็นฝ่ายผิดทันที เหตุเพราะว่าคุณไม่ได้เว้นระยะห่างมากพอเมื่อขับรถตามหลังรถคันอื่น แต่ในปัจจุบันยังจะต้องพิจารณาพฤติกรรม รวมไปถึงหลักฐานจากเทคโนโลยี ทั้งจากกล้องติดหน้ารถ และกล้องโทรศัพท์มือถือควบคู่กันไปด้วยนั่นเองครับ
ประมาท
หากเกิดจากความประมาทอย่างเช่นการเมาแล้วขับไปชนกับมอเตอร์ไซค์ นั่นถือว่ามีความผิดฐานประมาทตามมาตรา 291 ประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท” เชื่อมโยงกับมาตรา 43 (1) (2) และ (4) พระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522
มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถ
- ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
- ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
- ในลักษณะกีดขวางการจราจร
- โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
- ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
- คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถหรือกลับรถ
- บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
- โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
- ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น
โปรดระวัง! การแอบอ้างเรียกเก็บค่าเบี้ยประกันภัย คลิก
เจตนาขับรถชน
การตั้งใจขับชนหรือพยายามที่จะถอยหลังมาชนกับคู่กรณี ถือว่าผู้ที่ขับรถที่ก่อให้เกิดเหตุแบบนี้จะเป็นฝ่ายผิดแน่นอนครับ ส่วนจะมีความผิดกฎหมายตามมาตราไหนบ้างนั้นก็ขึ้นอยู่กับหลักฐานข้อเท็จจริงในคดีนั่นเองครับ
ฝ่าฝืนกฎหมาย
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาเป็นเพราะผู้ขับขี่ฝ่าฝืนกฎหมายก็ได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าไฟแดง ขับรถย้อนศรหรือกลับรถในที่ที่ห้ามกลับ ส่วนจะเข้าข่ายฐานความผิดตามมาตรา 420 ของประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซึ่งได้ระบุไว้ว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
เหตุสุดวิสัย
เหตุสุดวิสัยเป็นอุบัติเหตุที่ผู้ขับอาจไม่มีความผิด อาทิ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2546 ซึ่งเป็นกรณีที่รถจักรยานยนต์เลี้ยวตัดหน้ากะทันหัน ทำให้ไม่สามารถบังคับรถให้หยุดได้ทัน เหตุการณ์ดังกล่าวมิได้เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่รถยนต์ แต่ต้องบอกก่อนว่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ไม่สามารถใช้ได้กับทุกกรณีนะครับ เนื่องจากจะต้องพิจารณารายละเอียดอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย
เกณฑ์คะแนนจราจรใหม่! โดนตัดเหลือ 0 คะแนน สั่งพักใบอนุญาตขับขี่ 90 วัน คลิก
เหตุการณ์ตัวอย่าง
แบบนี้ใครผิด? รถซาเล้งเลี้ยวมาตัดหน้ารถยนต์ รถยนต์เกิดความเสียหายเล็กน้อยแต่ซาเล้งคว่ำล้อหลุดจนคนกระเด็นออกจากรถจนได้รับบาดเจ็บหนัก
ก่อนอื่นเลยจะต้องดูก่อนว่ารถซาเล้งได้ให้สัญญาณตามกฎหมายจราจรในขณะที่เลี้ยวหรือไม่ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ใช้ความเร็วตามที่กฎหมายจราจรกำหนดหรือไม่ ถ้าหากรถซาเล้งให้สัญญาณไปตามกฎหมายจราจรแล้ว แต่รถยนต์ขับมาด้วยความเร็วที่เกินกำหนด ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากการดูรอยเบรกบนพื้นถนน และความรุนแรงในการชนนั่นเองครับ หากเป็นแบบนี้ตัดสินได้ครับว่าความประมาทน่าจะเกิดจากรถยนต์จริง และผู้ขับขี่รถยนต์จะต้องรับผิดชอบทั้งทรัพย์สิน และร่างกาย แต่ถ้ากลับกันรถซาเล้งไม่ได้ให้สัญญาณแล้วเลี้ยวมาตัดหน้ารถยนต์ ในกรณีนี้จะถือว่ารถซาเล้งเป็นฝ่ายผิดครับ
แบบนี้ใครผิด? รถใหญ่อยู่ในเลน แต่มอเตอร์ไซค์ขับสวนเลนมาชน
หากมอเตอร์ไซค์ขับสวนเลนมาในช่องทางรถยนต์แบบกะทันหัน และผู้ขับขี่รถยนต์ขับมาด้วยความเร็วจนทำให้เบรกหรือหลบไม่ทัน ในกรณีนี้เหตุเกิดจากความประมาทของมอเตอร์ไซค์ และเป็นฝ่ายผิดทันทีครับ แต่ถ้าผู้ขับขี่รถยนต์เห็นอยู่แล้วว่ามอเตอร์ไซค์สวนมาตั้งแต่ระยะไกล และผู้ขับขี่รถยนต์ขับมาด้วยความเร็ว ทำให้เบรกหรือหยุดไม่ทัน ในส่วนนี้จะเป็นความประมาทร่วมกัน ซึ่งในส่วนของคดีอาญาหากมีความประมาทแค่ 1% ก็จะถือว่ามีส่วนในความประมาทนั้นนั่นเองนะครับ
แบบนี้ใครผิด? ระหว่างทางแยก รถใหญ่ได้ไฟเขียว แต่มอเตอร์ไซค์ฝ่าไฟแดงมาชนกัน ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ได้รับบาดเจ็บถึงชีวิต
ในกรณีที่เป็นทางร่วมทางแยก โดยปกติแล้วผู้ขับขี่จะต้องระวังเป็นพิเศษ และจะต้องลดความเร็วเมื่อมาถึงทางร่วมทางแยก จากการพิสูจน์แล้วเห็นได้ชัดเจนว่าผู้ขับขี่รถยนต์ขับมาด้วยความระมัดระวังแล้ว และไม่ได้ฝ่าฝืนเครื่องหมายสัญญาณไฟจราจรอีกด้วย ถือว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ครับ โดยที่ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น
เตือนแล้วนะ! ใช้ป้ายแดงปลอมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คลิก
แบบนี้ใครผิด? ถนนที่มีเลนหรือทางแคบ หากรถจะสวนกันจะต้องมีคันใดคันหนึ่งหยุดเพื่อให้อีกคันไปได้ แต่ไม่มีใครยอมหยุดจนเกิดการเฉี่ยวชนกัน
ถ้าในกรณีแบบนี้ให้อิงตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตราที่ 39 ที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อขับรถสวนกันในที่แคบที่มีเลนเดียว ผู้ขับขี่ที่ขับรถใหญ่กว่าจะต้องหยุดรถให้ชิดขอบทางเดินรถด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับขี่คันที่เล็กว่าได้ขับผ่านไปก่อน หากไม่มีใครหยุดแล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น ถือว่ารถใหญ่เป็นฝ่ายผิดทันที”
แบบนี้ใครผิด? ทางแยกที่ไม่มีไฟเขียวไฟแดง ทั้งรถใหญ่และรถเล็กต่างก็เร่งเครื่องจะไปก่อนจนเกิดชนกัน
เป็นเรื่องปกติที่ใครๆ ก็อยากไปก่อน จริงๆ แล้วเมื่อเจอทางร่วมทางแยกรถทุกคันจะต้องลดความเร็ว ซึ่งในกรณีนี้ที่ทางร่วมทางแยกเป็นทางเอกกับทางโทตัดกัน และรถทั้งสองคันมาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน ต้องให้รถทางเอกไปก่อน หากไม่ใช่ทางเอกทางโทที่ตัดกันจะต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายไปก่อนนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ารถใหญ่เป็นทางเอก แล้วมอเตอร์ไซค์เป็นทางโท หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมอเตอร์ไซค์จะเป็นฝ่ายผิด
เจอถนนแบบนี้ขับอย่างไร? กับทางเอก-ทางโท คลิก
อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ถึงเราจะใช้รถใช้ถนนอย่างไม่ประมาทอีกฝ่ายก็ประมาทจนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ และสิ่งที่ควรมีเมื่อขับขี่รถก็คือการมีสติอยู่ตลอดเวลา ใช้ความระมัดระวัง มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง และเคารพกฎจราจร อีกหนึ่งสิ่งที่จะต้องมีก็คือการทำประกันภัยรถยนต์ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นก็จะมีคนคอยดูแลที่พร้อมช่วยคุณนั่นเองนะครับ
หากต้องการ ซื้อประกันภัยรถยนต์ สามารถติดต่อได้ที่ ยูไนเต็ด ฮอนด้า Line : @unitedhonda หรือโทร 02-432-2222 ได้เลยครับ
ออกรถยนต์คันใหม่แล้วเป็นป้ายแดง จะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยหรือไม่? คลิก