ใบขับขี่ เป็นบัตรที่ยืนยันว่าตัวเองนั้นเป็นบุคคลที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะขับยานพาหนะดังกล่าวได้ ซึ่งใบขับขี่มีหลายประเภทและแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน หากไม่มีใบขับขี่หรือไม่มีการต่อใบขับขี่ (ใบขับขี่หมดอายุ) ถือว่าผิดกฎจราจร สำหรับใบขับขี่มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไรนะ
โดยปกติแล้วใบขับขี่จะถูกแยกออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ
- ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล) คือใบอนุญาตให้ขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานแบบส่วนบุคคลรวมถึงสามารถใช้เคลื่อนย้ายหรือทำการขนส่งเพื่อการค้าได้เช่นเดียวกัน (เฉพาะธุรกิจ) แต่จะถูกจำกัดน้ำหนักการขนส่งไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม และจะต้องไม่ใช่การจ้างครับ
- ใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท) คือใบอนุญาตให้ขับขี่ขนส่งสำหรับการใช้งานได้ทุกประเภท สามารถใช้เคลื่อนย้ายหรือทำการขนส่งเพื่อการค้าได้โดยไม่จำกัดน้ำหนักการขนส่ง รวมถึงใช้เพื่อการรับจ้างได้นั่นเองครับ
และใบขับขี่สามารถแยกย่อยประเภทตามชนิดของยานพาหนะ และรูปแบบการใช้งาน สามารถแยกได้ดังนี้
- ใบขับขี่รถยนต์ชนิดชั่วคราว ในครั้งแรกที่ไปทำใบขับขี่ผู้ที่ขอทำใบขับขี่ไม่ว่าจะเป็นรถชนิดใดก็ตาม จะได้รับเพียงใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน ซึ่งจะอยู่ 3 ประเภท
- ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อชั่วคราว
- ใบขับขี่รถยนต์จักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
โดยใบขับขี่ประเภทนี้มีอายุการใช้งาน 2 ปี สามารถทำได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปครับ
- ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล หากได้ใช้งานใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุใบขับขี่จะได้รับใบขับขี่รถยนต์แบบใช้งานแบบยาวๆ เลยครับก็คือ 5 ปีนั่นเอง
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล สำหรับรถยนต์สามล้อหรือที่เรียกกันว่า รถตุ๊กตุ๊ก มีเงื่อนไขเช่นเดียวกับใบขับขี่รถยนต์ เมื่อคุณใช้งานใบขับขี่ประเภทชั่วคราวจนครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำการต่ออายุจะได้รับใบขับขี่แบบใช้งานยาวๆ 5 ปีครับ
ทำอย่างไรดี? หากป้ายภาษีหรือป้ายวงกลมหาย และถ้าไม่ได้หายแต่ชำรุดต้องขอใหม่หรือไม่ คลิก
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล สำหรับรถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ มีเงื่อนไขเช่นเดียวกันกับใบขับขี่รถยนต์ ก็คือเมื่อใช้งานใบขับขี่ชั่วคราวครบอายุการใช้งานแล้ว ในครั้งต่อไปที่ทำกรต่ออายุจะได้รับใบขับขี่แบบใช้งานได้ยาวๆ ครับ
- ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ เป็นใบขับขี่รถระหว่างประเทศหรือที่เรียกว่า ใบขับขี่สากล จะเป็นใบอนุญาตให้สามารถใช้ขับขี่ยาพาหนะนอกปะเทศไทยได้ครับ โดยผู้ที่ยื่นขอใบขับขี่สากลจำเป็นต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลร่วมด้วยจึงจะได้รับการอนุมัตินั่นเองครับ ใบขับขี่ชนิดนี้จะมีอายุ 1 ปี สามารถใช้ได้ในประเทศที่ยอมรับใบขับขี่สากลด้วยนะครับ
- ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ เป็นใบขับขี่สำหรับคนที่ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะอย่างเช่น ขับแท็กซี่ บริการรถยนต์ส่วนตัว คนขับรถส่งของ เป็นต้น โดยต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และสามารถทำได้เมื่อมีอายุ 22 ปีขึ้นไป
- ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ใบขับขี่รถสามล้อหรือที่รู้จักกันก็คือ รถตุ๊กตุ๊ก มีเงื่อนไขว่าจะต้องทำใบขับขี่แบบชั่วคราวก่อน เช่นเดียวกันกับใบขับขี่รถยนต์ และจะมีอายุการใช้งานได้ 5 ปีเช่นกันครับ
- ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ สำหรับท่านที่จะทำใบขับขี่ประเภทนี้จะต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ และมีใบขับขี่จักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยใบขับขี่จะมีอายุการใช้งาน 3 ปี
- ใบขับขี่รถบดถนน สำหรับใบขับขี่รถบดถนนั้น ผู้ขับขี่จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษต่างๆ เพื่อให้สามารถใช้งานรถบดถนนที่มีความอันตรายสูงได้อย่างปลอดภัยนั่นเองครับ โดยใบขับขี่ประเภทนี้สามารถทำได้เมื่อมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์
- ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ รถแทรกเตอร์ถึงแม้ว่าจะเป็นรถที่ใช้งานเพื่อการทำเกษตรกรรม แต่เนื่องจากเป็นรถที่จะต้องใช้ความชำนาญในการบังคับสูง จึงจำเป็นทีจะต้องสอบใบขับขี่ด้วยเช่นกันครับ โดยจะมีอายุการใช้งาน 5 ปี
เตือนแล้วนะ! ใช้ป้ายแดงปลอมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คลิก
- ใบขับขี่รถชนิดอื่นๆ จะเป็นใบขับขี่รถชนิดอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวมานั่นเองครับ ซึ่งใบขับขี่ประเภทนี้มีอายุการใช้งาน 5 ปีเช่นเดียวกันครับ
เรื่องจริงเกี่ยวกับใบขับขี่
ใบขับขี่หายไม่ต้องแจ้งความ
สำหรับผู้ที่ทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลหาย ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปแจ้งความนะครับ เพราะสามารถติดต่อที่สำนักงานกรมการขนส่งทางบกในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่ได้เลยเพื่อขอทำใบขับขี่ใบใหม่ได้เลย ทั้งนี้ผู้ขับขี่สามารถใช้ใบขับขี่แบบดิจิทัลชั่วคราวผ่านแอปพลิเคชั่น DLT QR LICENCE เพื่อใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ระหว่างรอใบขับขี่ใบใหม่ได้อีกด้วยนะครับ แต่เพื่อความปลอดภัยสามารถไปแจ้งความที่สถานทีตำรวจได้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นนำเอกสารไปแอบอ้างในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตัวท่านเอง
ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนต้องรู้! พ.ร.บ. จราจรทางบกฉบับใหม่! คลิก
สอบใบขับขี่ สอบใบขับขี่รถยนต์ ต้องมีบัตรประชาชนตัวจริง
สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการขอรับใบอนุญาตขับขี่ก็คือ บัตรประชาชนตัวจริง เพื่อใช้เป็นการยืนยันกับเจ้าหน้าที่ สำหรับท่านใดที่ทำบัตรประชาชนตัวจริงหายหรือชำรุด จะต้องดำเนินการทำใหม่ที่สำนักงานเขตให้เรียบร้อยก่อนนะครับ เพราะไม่สามารถนำใบแจ้งความหรือสำเนาบัตรประชาชนมาใช้ทดแทนกันได้
ไม่จำเป็นต้องมีรถยนต์ไปสอบปฏิบัติ
ในขั้นตอนการสอบใบขับขี่รถยนต์ เมื่อผ่านการอบรมรวมถึงทำข้อสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้ขับขี่ยังจะต้องสอบปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่เพื่อประเมินด้วย โดยผู้ขับขี่ส่วนมากจะเตรียมรถยนต์มากจากบ้านของท่านเองก็ได้ แต่ส่วนน้อยที่ไม่ทราบว่าที่สำนักงานขนส่งจังหวัดมีการบริการรถเช่ารถยนต์ด้วย ท่านใดที่ไม่สะดวกนำรถยนต์มาเองก็สามารถเช่ารถได้ โดยอัตราค่าบริการขึ้นอยู่แต่ละเขตพื้นที่อาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป บางเขตอาจไม่มีค่าบริการก็ได้ครับ
ใบขับขี่ไม่สามารถทำได้ในวันเดียว
การสอบใบขับขี่ในปัจจุบันได้มีข้อกำหนดที่เพิ่มมากขึ้น โดยจากเดิมสามารถอบรมรวมถึงการสอบ และรอรับใบขับขี่ได้เลยเพียง 1 วัน แต่ในปัจจุบันผู้ขับขี่จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน สำหรับรายละเอียดมีดังนี้
วันที่ 1
- ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
- อบรมใบอนุญาตจำนวน 5 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นภาคเช้า-บ่าย
- ทดสอบข้อเขียน
- หากการทดสอบข้อใดข้อหนึ่งตามข้างต้นไม่ผ่านเกณฑ์ ผู้ขับขี่จะต้องมาทดสอบใหม่ในวันรุ่งขึ้น
วันที่ 2
- ทดสอบขับรถยนต์
- รับใบอนุญาต
จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์
ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตของเรา โดยทางกรมการขนส่งทางบกแนะนำบริการต่อใบอนุญาตขับขี่ โดยให้ผู้ขับขี่จองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เพื่อความสะดวกสบายในการรับบริการ นอกจากนี้ยังมีช่องทางอื่นๆ อย่างเช่นการจองผ่านทางเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th/ หรือตู้กดบัตรคิวอัตโนมัติ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดแต่ละพื้นที่โดยผู้ขับขี่สามารถเลือกได้ตามสะดวก นอกจากนี้หากใบขับขี่หายก็สามารถจองคิวผ่านแอปพลิเคชันได้เช่นกันนะครับ
ไม่ต้องพกใบขับขี่ตัวจริง
หมดปัญหาการลืมใบขับขี่เพียงแค่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue เพื่อใช้งานใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ยังสามารถใช้สำเนาใบขับขี่หรือภาพถ่ายที่มีแทนได้เช่นกัน โดยจะต้องเห็นข้อมูลบนบัตรที่ชัดเจนเท่านั้นนะครับ
ทำผิดซ้ำ! ปรับหนักสุด 100,000 บาท หากเมาแล้วขับ และเพิ่มโทษในหลายคดี คลิก
บุคคลที่ไม่มีสิทธิ์สอบใบอนุญาตขับขี่
การสอบใบอนุญาตขับขี่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถสอบได้หรือได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ ตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก โดยสามารถแบ่งบุคคลที่ไม่มีสิทธิ์สอบใบอนุญาตขับขี่ได้ดังนี้
- ผู้ที่อยู่ระหว่างการยึดใบขับขี่
- ผู้ที่ถูกเพิกถอนใบขับขี่ ในกรณีที่ถูกเพิกถอนใบขับขี่จะสามารถสอบใบขับขี่ได้ก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาไปแล้ว 3 ปี โดยนับตั้งแต่วันแรกที่ถูกเพิกถอนไป
- ผู้พิการทางร่างกายตั้งแต่ แขน ขา ตาบอด หูหนวก และลำพังพิการที่เป็นเหตุที่ไม่สามารถขับรถยนต์ได้
- ผู้ที่มีความผิดปกติทางประสาทและป่วยทางจิต
- ผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง
- ผู้ที่ติดสุราหรือของมึนเมา และผู้ที่ติดยาเสพติดทุกประเภท
- ผู้ที่เคยได้รับการจำคุกที่มีความผิดเกี่ยวกับคดีรถ แต่ในที่นี้ยกเว้นผู้ที่ได้รับโทษฐานทำความผิดโดยประมาท และต้องได้รับการพ้นโทษมาแล้วเกิน 3 ปี
- ผู้ที่ถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสังคม
- ผู้ที่มีข้อกล่าวหาหรือถูกพิพากษาถึงที่สุด และถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป (เมื่อพ้นโทษเหล่านี้ไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน จึงสามารถทำเรื่องขอใบอนุญาตขับขี่ได้)
- ขับขี่ฝ่าฝืนสัญญาฯจราจรหรือเครื่องหมายจราจร
- ขับขี่ขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น
- ขับขี่ในลักษณะกีดขวางการจราจร
- ขับขี่โดยใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
- ขับขี่โดยประมาณหรือน่าหวาดเสียว
- ขับขี่โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้ทีเป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการขับขี่รถยนต์ ทั้งหมด 5 โรคด้วยกัน
- โรคเท้าช้าง
- โรควัณโรค
- โรคเรื้อน
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคยาเสพติดให้โทษ
ใบขับขี่แบบใหม่ใช้แทนใบขับขี่สากลได้
โดยเฉพะนักท่องเที่ยวที่ต้องการเช่ารถเพื่อเป็นพาหนะในการเดินทาง จำเป็นต้องมีใบขับขี่ระหว่างประเทศควบคู่กับใบขับขี่ภายในประเทศด้วยนะครับ ยกเว้นประเทศกลุ่ม AEC ผู้ขับขี่สามารถขับออกนอกประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมายเพียงแค่ใช้ใบขับขี่แบบใหม่ชนิดสมาร์ตการ์ดใบเดียวเท่านั้นครับ
เกณฑ์คะแนนจราจรใหม่! โดนตัดเหลือ 0 คะแนน สั่งพักใบอนุญาตขับขี่ 90 วัน คลิก
ใบขับขี่หมดอายุไม่เกิน 1 ปี สามารถรับบัตรใหม่ได้
การต่อใบขับขี่ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่ใบขับขี่หมดอายุ สามารถดำเนินการขอรับใบใหม่ได้โดยไม่จำเป็นต้องอบรมหรือสอบใหม่ ส่วนผู้ที่ใบขับขี่หมดอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องผ่านการสอบข้อเขียนให้คะแนนผ่านร้อยละ 90 จากคะแนนสอบทั้งหมด และใบขับขี่ที่หมดอายุเกิน 3 ปี จะต้องผ่านการสอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ และต้องใช้ใบรับรองแพทย์ประกอบการขอต่ออายุใบขับขี่อีกด้วย