ห้ามบริษัทประกันขึ้นมาเคลียร์! หากเกิดเหตุรถชนกันบนทางด่วน และอาจมีโทษปรับ

ห้ามบริษัทประกันขึ้นมาเคลียร์! หากเกิดเหตุรถชนกันบนทางด่วน และอาจมีโทษปรับ

05/09/2023

   โดยปกติแล้วถ้าเกิดอุบติเหตุเรามักจะเรียกบริษัทประกันมาเคลียร์ให้ ซึ่งก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรใช่ไหมครับ แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุบนทางด่วนจะไม่สามารถเรียกบริษัทประกันมาเคลียร์ได้ หลายคนคงสงสัยใช่หรือไม่ว่าทำไมถึงไม่สามารถเรียกได้

ประกันจ่ายหรือไม่? หากเกิดเหตุรถชนกันในบ้านแล้วเจ้าของเป็นชื่อเดียวกัน คลิก

 

ทำไม? ถึงไม่ให้บริษัทประกันขึ้นมาเคลียร์เหตุบนทางด่วน

   เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ประกันดำเนินการเคลียร์อุบัติเหตุบนทางพิเศษ เพราะบนทางด่วนเป็นเส้นทางที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ความเร็วสูงในการขับรถ ซึ่งเจ้าหน้าที่บริษัทประกันมักจะใช้รถจักรยานยนต์ในการขับขี่เพื่อมาเคลียร์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เหตุนี้จึงไม่สามารถขับขี่บนทางด่วนได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 139 ในระเบียบเกี่ยวกับการจราจรในทางพิเศษ พ.ศ. 2524 ห้ามมิให้รถจักรยานยนต์วิ่งในทางพิเศษ หากผู้ใดฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย จะต้องระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท นอกจากนี้ทาง กทพ. ได้แนะนำให้ดำเนินการดังนี้

ไฟไหม้รถยนต์ เกิดจากสาเหตุใด? แล้วเมื่อเกิดประกันคุ้มครองหรือไม่ คลิก

 

  • ติดต่อเบอร์โทรที่ใช้แจ้งเหตุฉุกเฉิน เช่น 191 สำหรับการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย, 1669 กรณีที่มีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และ 1534 EXAT Call Center
  • ติดต่อหาประกันภัยรถยนต์ เพื่อชี้แจงข้อมูลต่างๆ ให้กับเจ้าหน้าที่บริษัทประกันอย่างละเอียด
  • ถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน รวมถึงถ่ายรูปบัตรประจำตัวของคู่กรณี เผื่อในกรณีที่ผู้กรณีหลบหนีครับ
  • นัดพบกับคู่กรณีและบริษัทประกันในสถานที่ที่ใกล้เคียงอย่างเช่น สถานีตำรวจทางด่วน สถานีตำรวจในเขตพื้นที่ จุดพักรถบริเวณใกล้ทางลงทางด่วน ฯลฯ

ป้องกันเกิดเหตุซ้ำซ้อน

   หากเกิดเหตุแล้วรถยนต์เกิดความเสียหายจนไม่สามารถขับต่อไปได้ ทางเจ้าหน้าที่ของทางด่วนจะทำการลากจูงรถออกจากพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้เจ้าของรถดำเนินการต่อตามขั้นตอนต่อไปครับ

สำหรับวิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุบนทางด่วนควรทำอย่างไรบ้างนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน

ผิดกฎหมายหรือไม่? ต่อ พ.ร.บ. แต่ไม่ได้ทำประกันรถยนต์ คลิก

 

  • รีบนำรถเข้าจอดไหล่ทาง เมื่อขับขี่รถอยู่แล้วเกิดรู้สึกว่ารถยนต์ของเรานั้นมีความผิดปกติ ให้ตั้งสติและประคองรถเข้าจอดไล่ทางก่อนเลยนะครับ เพื่อตรวจสอบว่ารถเรานั้นเป็นอะไร แต่ถ้าหากเกิดรถยางแตกห้ามเบรกรถในทันทีนะครับ ให้ทำการค่อยๆ ปล่อยไหลพร้อมประคองให้ชิดไหล่ทางเพื่อหยุดรถ
  • เปิดไฟฉุกเฉิน การเปิดไฟฉุกเฉินการเป็นแสดงสัญลักษณ์ให้ผู้ขับขี่คันอื่นๆ ได้ทราบว่ารถเรานั้นเกิดปัญหา เพื่อให้ผู้ขับขี่คันอื่นได้ขับขี่ตามอย่างระมัดระวัง จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุซ้อนกันครับ
  • คาดเข็มขัดนิรภัย เมื่อนำรถเข้าจอดไหล่ทางแล้วให้นั่งอยู่ภายในรถพร้อมคาดเข็มขัดนิรภัยเอาไว้ โดยไม่ต้องออกมายืนนอกรถเด็ดขาดเลยนะครับ อย่างที่เราเคยข่าวกันว่า เกิดหตุรถเสียบนทางด่วนแล้วมีรถมาชนท้ายจนทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงขึ้นนั่นเองครับ
  • ขอความช่วยเหลือ รีบติดต่อขอความช่วยเหลือทันที โดยโทรติดต่อเบอร์ของทางด่วนก่อนเพื่อขอความช่วยเหลือ เพราะ กทพ. จะมีบริการรถยกให้จนถึงทางลงบนทางด่วนครับ หลังจากนั้นถึงจะติดต่อกับบริษัทประกัน

 

เบอร์ฉุกเฉินทางด่วนและมอเตอร์เวย์

  • ทางด่วน (กทพ.) เบอร์ติดต่อ 1543
  • ทางหลวงและมอเตอร์เวย์ เบอร์ติดต่อ 1586
  • โทลล์เวย์ เบอร์ติดต่อ 1233
  • ตำรวจทางหลวง เบอร์ติดต่อ 1193

จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่? หากคู่กรณีเรียกค่าทำขวัญเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คลิก

 

   การที่เกิดอุบัติเหตุบนทางด่วนเป็นอะไรที่เสี่ยงมากๆ และอันตรายด้วย แต่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถบังคับไม่ให้เกิดได้ อย่างไรก็ตามการใช้รถใช้ถนนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ ไม่ว่าจะขับขี่ไปที่ไหนก็แล้วแต่นะครับ หากท่านใดต้องการซื้อประกันภัยรถยนต์ ที่ ยูไนเต็ด ฮอนด้า Line : @unitedhonda Facebook : United Honda Automobile หรือโทร 02-432-2222 ได้เลยครับ


All-new Honda CR-V

เริ่มต้น 1,419,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 15,000 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

ประมาทร่วม! คู่กรณีชนแล้วหนีหรือไม่มีประกัน ควรทำอย่างไรและประกันจะจ่ายให้เราไหม?

ประมาทร่วม! คู่กรณีชนแล้วหนีหรือไม่มีประกัน ควรทำอย่างไรและประกันจะจ่ายให้เราไหม?

12/11/2024

การประมาทร่วม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการความประมาทของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการขับขี่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการประมาทร่วมมักจะมาจากความประมาทเลินเล่อไม่ว่าจะเป็นการไม่ระวัง การขาดสมาธิ ความเร่งรีบ การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างการขับรถเร็วเกินที่กำหนด ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับฝ่าสัญญาณไฟแดงหรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างป้ายจราจรที่ไม่ชัดเจน รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้โทรศัพท์ในขณะที่กำลังขับขี่ ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือการขับขี่ที่เป็นเวลานาน

อ่านต่อ
ระวัง! ขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนโดนปรับไม่รู้ตัว ยิ่งมือใหม่ที่เพิ่งออกรถขับป้ายแดงยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย

ระวัง! ขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนโดนปรับไม่รู้ตัว ยิ่งมือใหม่ที่เพิ่งออกรถขับป้ายแดงยังไงไม่ให้ผิดกฎหมาย

11/11/2024

การขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนอาจมีผลต่อความปลอดภัย เนื่องจากรถป้ายแดงหมายถึงรถใหม่ที่ยังไม่ผ่านการจดทะเบียนเต็มตัว ผู้ขับขี่อาจมีความไม่คุ้นชินกับรถหรือสภาพถนนในเวลากลางคืน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การมองเห็นและความชัดเจนในการมองก็อาจลดลง ทำให้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม รถป้ายแดงจะต้องมีแสงไฟและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงได้เช่นกัน

อ่านต่อ
จุดบอด... อันตรายใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้าม

จุดบอด... อันตรายใกล้ตัวที่คุณอาจมองข้าม

04/11/2024

จุดบอดเป็นพื้นที่ที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นยานพาหนะหรือวัตถุรอบข้างได้ ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ต้องเปลี่ยนเลนหรือเลี้ยว จุดบอดมีความอันตรายสูงโดยเฉพาะในพื้นที่การจราจรหนาแน่น เทคนิคในการลดจุดบอดมีหลายอย่าง เช่น การใช้กระจกมองข้างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การติดตั้งเซ็นเซอร์ช่วยเตือน รวมถึงการปรับระยะการขับขี่ให้เหมาะสมและสังเกตสภาพแวดล้อมรอบๆ อย่างสม่ำเสมอ

อ่านต่อ
Uto