ต้องระวัง หากใช้ผิด! เมทิลแอลกอฮอล์ และ เอทิลแอลกอฮอล์ ต่างกันอย่างไร

ต้องระวัง หากใช้ผิด! เมทิลแอลกอฮอล์ และ เอทิลแอลกอฮอล์ ต่างกันอย่างไร

17/04/2020

     จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกว้างขางไปหลายประเทศ มีผู้ติดเชื้อและชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนหวาดกลัวและพยายามหาวิธีการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ เช่น สวมหน้ากากอนามัย พยายามไม่ใช่มือสัมผัส ตา จมูก และปากซึ่งเป็นช่องทางในการรับเชื้อที่ง่ายที่สุด ล้างมือด้วยสบู่แต่ต้องล้างให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงไม่ไปในพื้นที่เสี่ยงหรือแออัด และอีกสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ แอลกอฮอล์เจลล้างมือหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70-75% ในการฆ่าเชื้อไวรัส

 

COVID-19 กับ ไข้หวัดทั่วไป แตกต่างกันอย่างไรมาเช็คกัน

     และดูเหมือนว่าแอลกอฮอล์เจลล้ามือจะเป็นไอเท็มที่ขาดไม่ได้ในช่วงที่โรคกำลังระบาด เพราะว่าเป็นสิ่งที่สะดวกต่อการใช้งานสามารถหยิบออกมาใช้ได้ทุกเมื่อ แถมยังพกพาไปไหนมาไหนได้ง่าย จึงทำให้แอลกอฮอล์เจลล้างมือนั้นขาดตลาด หรือมีราคาที่สูงเกินจริงไปมาก ดังนั้นหลายๆ คนก็หันมาทำแอลกอฮอล์เจลล้างมือด้วยตัวเอง ซึ่งก็มีประสิทธิภาพที่ดีไม่ต่างกันแถมยังมีราคาที่ถูกกว่ามาก สิ่งหนึ่งที่เราจะต้องระวังหากเราต้องการทำแอลกอฮอล์เจลล้างมือหรือสเปรย์แอลกอฮอล์ด้วยตัวเองนั้นก็คือ สารตั้งต้นหลักที่จะนำมาทำเป็นแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อ แต่เอ๊ะ! จะใช้แอลกอฮอล์ชนิดไหนดีล่ะ ถึงจะปลอดภัยและถูกต้อง

 

เราอยู่ในกลุ่มไหน? สังเกตอาการโควิดด้วยตนเอง

 

   แลอกอฮอล์ มี 2 ชนิดที่มักจะเข้าใจผิดก็คือ เอทิลแอลกอฮอล์ และ เมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่อย่างไรก็ตามด้วยความที่คล้ายกันนั้น ความระคายเคือง ระดับความอันตราย และการใช้งาน มีความแตกต่างกันนะครับ จะเป็นอย่างไรมาดูกัน!

 

ลักษณะ

ลักษณะ
ลักษณะความแตกต่าง ระหว่างเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์
  • ทั้งเมทิลแอลกอฮอล์ และเอทิลแอลกอฮอล์ มีลักษณะเหมือนกันคือ เป็นของเหลวที่ไม่มีสี ระเหยง่าย ไวไฟ ละลายในน้ำได้ ละลายในไขมันก็ได้ โอโห้! เหมือนกันมากๆ เลยนะครับเนี่ย

 

ความระคายเคือง

ความระคายเคือง
ความระคายเคือง ระหว่างเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์
  • เมทิลแลอกอฮอล์มีความระคายเคืองมากกว่าเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเมทิลแอลกอฮอล์จะทำให้ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ ระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ แต่ถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ จะไม่เกิดความระคายเคือง แต่จะทำให้ผิวแห้ง พอแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดนี้โดนตัวแล้วพอจะรู้แล้วใช่ไหมล่ะครับว่าแตกต่างกัน

 

ระดับความอันตราย

ระดับความอันตราย
ระดับความอันตราย ระหว่างเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์
  • เมทิลแอลกอฮอล์ จะอันตรายมากกว่า เอทิลแอกอฮอล์ เพราะถ้าหากสูดดมเมทิลแอลกอฮอล์เข้าไปมากๆ จะทำให้เกิดอาการปวดท้อง เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก หายใจลำบาก การมองเห็นจะผิดปกติจนอาจทำให้ตาบอดได้ และหากดื่มเข้าไป เมทิลแอลกอฮอล์จะทำปฏิกิริยากับสารเคมีในร่างกายเปลี่ยนเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ (ฟอร์มาลีน) มีผลให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เห็นภาพไม่ชัด อาจทำให้ตาบอด กล้ามเนื้อตับตาย หรือโลหิตเป็นพิษ อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ส่วนเอทิลแอลกอฮอล์ หากดื่นเข้าไปมากๆ ในครั้งเดียว จะทำให้เกิดอาการเมา ถึงแม้ว่าเอทานอลจะกินได้ ก็ใช่ว่าจะนำเอทานอลในน้ำยาล้างแผลมาดื่มแทนเหล้าได้ เพราะในน้ำยาล้างแผลจะมีการใส่สีไว้เพื่อป้องกันการนำไปรับประทาน

 

การใช้งาน

การใช้งาน
การใช้งาน ระหว่างเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์
  • เมทิลแอลกอฮอล์ เหมาะสำหรับใช้เป็นตัวทำละลาย อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เช่น สีทาไม้ น้ำมันเคลือบเงา ยาลอกสี ใช้ผสมในทินเนอร์ ฯลฯ และใช้เป็นเชื้อเพลิงในธรรมชาติ ส่วนเอทิลแอลกอฮอล์ เหมาะสำหรับการฆ่าเชื้อบนผิวหนัง และการทำความสะอาดอุปกณ์ทางการแพทย์ โดยปริมาณที่เหมาะสมคือระดับความเข้มข้น 70%

 

เช็กอาการโควิด 4 สายพันธุ์

 

วิธีตรวจสอบ

   วิธีตรวจสอบว่าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์หรือไม่ ทำได้ง่ายๆ ครับ

  1. นำน้ำส้มสายชู 3ml ผสมกับด่างทับทิม 1 เกล็ด
  2. ใช้เอทิลแอลกอฮอล์หรือเมทิลแอลกอฮอล์ในอัตราส่วน 3ml ผสมกับน้ำส้มสายชูที่ละลายกับด่างทับทิมไว้แล้ว 1ml
  3. หากเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ที่อันตรายต่อร่างกาย สีจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 15 นาทีแรก
  4. หากเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ที่ปลอดภัยต่อร่างกาย จะเปลี่ยนเป็นสีภายใน 1 นาที

 

รู้ความแตกต่างของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว อย่าเผลอใช้ผิดนะครับ และใช้อย่างระมัดระวังด้วยนะครับ

 

 

เสี่ยง! การกินข้าวร่วมกันอาจติดเชื้อได้

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto