เล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เสี่ยงต่อสุขภาพ! ฝุ่น PM 2.5

เล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เสี่ยงต่อสุขภาพ! ฝุ่น PM 2.5

06/02/2024

   ฝุ่น PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมครอน หรือเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ฝุ่นละอองขนาดนี้เล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น เล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า เล็กพอที่จะสามารถเล็ดลอดผ่านระบบกรองอากาศธรรมชาติของร่างกาย เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและปอด ซึ่งในบ้านเราก็ยังคงมีฝุ่น PM 2.5 ตัวนี้อยู่ โดยสาเหตุหลักๆ ก็มีไม่กี่อย่างครับ

 

สาเหตุหลักของการเกิดฝุ่น PM 2.5

  • การเผาไหม้ในที่โล่ง
  • การจราจร
  • โรงงานอุตสาหกรรม
  • ไฟป่า

 

การเผาไหม้ในที่โล่ง ทำให้เกิดฝุ่น pm 2.5 อย่างไร

  • การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ : เผาไหม้วัสดุต่างๆ อย่างเช่น วัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร ขยะ เศษวัสดุต่างๆ เชื้อเพลิง มักเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ที่ส่งผลให้เกิดควัน เถ้า และเขม่าควัน
  • การระเหยของสารประกอบอินทรีย์ : วัสดุที่ถูกนำมาเผาไหม้มักจะมีสารที่ประกอบเป็นอินทรีย์ ซึ่งเมื่อถูกความร้อนสารตัวนี้จะกลายเป็นก๊าซ และเมื่อก๊าซตัวนี้เย็นลงจะรวมตัวกันกับอนุภาคอื่นๆ จนกลายเป็นฝุ่นละออง
  • การกระจายตัวของฝุ่นละออง : ฝุ่นละอองที่เกิดจากการเผาไหม้จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และจะกระจายตัวไปตามทิศทางของลม

อาการของสายพันธุ์โอไมครอนเป็นอย่างไร เช็กเลย! คลิก

 

การจราจร ทำให้เกิดฝุ่น pm 2.5 อย่างไร

  • ควันจากท่อไอเสีย : เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ มีการปล่อยควันดำซึ่งจะประกอบด้วยฝุ่น PM 2.5 ก๊าซพิษอย่างเช่น คาร์บอนมอนออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ นั่นเองครับ
  • การเสียดสี : การเสียดสีระหว่างยางรถกับถนน เบรก คลัตช์ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดฝุ่นละออง

 

โรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดฝุ่น pm 2.5 อย่างไร

  • กระบวนการเผาไหม้ : โรงงานอุตสาหกรรมหลายๆ แห่งใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเช่น ถ่านหิน น้ำมันแก๊สธรรมชาติ ในการผลิตความร้อน พลังงาน ไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้เกิดควัน ก๊าซพิษ และฝุ่นละอองครับ
  • กระบวนการผลิต : ในกระบวนการผลิตในบางอุตสาหกรรมบางแหล่งอย่างเช่น โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงเหล็ก โรงงานผลิตกระเบื้อง โรงงานเซรามิก โรงงานแปรรูปอาหาร ฯลฯ
  • การขนส่ง : การขนส่งวัตถุดิบ สินค้า ของเสีย ภายในโรงาน

ไฟป่า ทำให้เกิดฝุ่น pm 2.5 อย่างไร

  • การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ : การเผาไหม้ของต้นไม้ ใบไม้ เศษวัสดุต่างๆ ในป่า เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดควัน เถ้า เขม่าควัน
  • การระเหยของสารประกอบอินทรีย์ : วัสดุที่ถูกเผาไหม้ มักมีสารประกอบอินทรีย์ เมื่อถูกความร้อน สารเหล่านี้จะระเหยกลายเป็นก๊าซ และเมื่อก๊าซเหล่านี้เย็นลง จะรวมตัวกับอนุภาคอื่นๆ กลายเป็นฝุ่นละออง
  • การกระจายตัวของฝุ่นละออง : ฝุ่นละอองที่เกิดจากไฟป่า จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ กระจายตัวไปตามทิศทางของลม

โรคหน้าร้อน ที่อันตรายต้องระวัง มีกี่โรคและวิธีป้องกันมีอะไรบ้างนะ คลิก

 

อันตราย! ต่อสุขภาพ

   ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งเป็นฝุ่นละอองที่เล็กมากๆ เล็กจนสามารถลอดผ่านระบบกรองอากาศ ทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดเป็นโรคต่างๆ ได้อย่างเช่น โรคระบบการเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคเยื่อบุตาอักเสบ

 

กลุ่มเสี่ยง

  • เด็กเล็ก ที่ระบบทางเดินหายใจยังพัฒนาไม่เต็มที่
  • ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจหรือโรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์

ระบาด! ไวรัส hMPV อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ,โควิด และRSV เด็กเล็กต้องระวัง คลิก

 

วิธีป้องกัน

   ลดการสัมผัสฝุ่นโดยการอยู่ภายในอาคาร ปิดประตู้หน้าต่าง สวมหน้ากากอนามัยที่มีแผ่นกรอง PM 2.5 หากบ้านไหนที่พอจะมีงบหน่อยอาจจะซื้อเครื่องฟอกอากาศเพื่อฟอกอากาศให้ดีขึ้นได้ครับ นอกจากนี้ติดตามสถานการณ์ไม่ว่าจะทางออนไลน์หรือจากข่าวต่างๆ และสิ่งที่สำคัญก็คือ การดูแลสุขภาพทั้งการอาหาร การออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะหากดูแลสุขภาพไม่ดีพออาจจะทำให้เป็นโรคอื่นตามมาด้วยนะครับ อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ


ALL-NEW HONDA ACCORD e:HEV

เริ่มต้น 1,529,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 16,000 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto