ลดหย่อนภาษี 2568 ประกันแบบไหนสามารถลดหย่อนภาษีได้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ สามารถลดหย่อนได้หรือไม่?

ลดหย่อนภาษี 2568 ประกันแบบไหนสามารถลดหย่อนภาษีได้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ สามารถลดหย่อนได้หรือไม่?

01/02/2025

   การลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิตและประกันสุขภาพเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่หลายท่านมักใช้เพื่อเป็นการช่วยลดภาระภาษี ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยให้ประหยัดภาษีได้แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินในอนาคตได้อีกด้วยนะครับ

 

ลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิต

   ผู้ที่เสียภาษีสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จากการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตในบางกรณี โดยจะต้องเป็นประกันชีวิตที่ไม่ได้มีการจ่ายผลประโยชน์ให้กับผู้เอาประกันชีวิต แต่จะต้องเป็นประกันชีวิตที่มีระยะเวลาและการคุ้มครองอย่างน้อย 10 ปี

  • ประกันชีวิตทั่วไป : มีระยะเวลา 10 ปี หรือประกันชีวิตที่มีกระแสเงินสดที่ผู้เอาประกันสามารถได้รับผลประโยชน์จากเบี้ยประกันในระยะยาว
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ : จะมีเงื่อนไขการจ่ายเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งในกรณี้นี้ผู้เสียภาษีสามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี

ทำประกันจนลืม...5 วิธี เช็กว่าทำประกันภัยไว้กับที่ไหน? คลิก

 

ลดหย่อนภาษีจากประกันสุขภาพ

   ลดหย่อนจากการประกันสุขภาพก็เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถลดภาระภาษีได้ ผู้เสียภาษีสามารถหักเบี้ยประกันสุขภาพจากเงินได้ประมาณสูงสุด 15,000 บาทต่อปี ซึ่งหากมีการซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมสำหรับบุตรหรือสมาชิกในครอบครัวก็สามารถนำมาลดหย่อนได้อีกเช่นกันครับ

   สามารถดูตารางที่แจกแจงได้ดังนี้

ประเภทของประกันสุขภาพลดหย่อนได้ตามจริงเงื่อนไขในการใช้ค่าลดหย่อน
ประกันสุขภาพตนเอง     สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาทรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันสุขภาพของพ่อแม่สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทรวมกับประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ประกันของประกันชีวิต   ประกันของประกันชีวิต   เงื่อนไขในการใช้ค่าลดหย่อน
ประกันชีวิตของตนเองสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป
  • ประกันชีวิตที่มีต้องซื้อกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
  • มีการเวนคือกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้
ประกันชีวิตคู่สมรสสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
  • คู่สมรสต้องไม่มีเงินได้
  • แต่งงานกันมาก่อนหน้าปีจ่ายภาษี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมสรรพากร

 

สิ่งที่ต้องรู้!

   การลดหย่อนจากประกันชีวิตและประกันสุขภาพจะต้องมีเอกสารยืนยันการชำระประกันที่ถูกต้อง เช่น ใบเสร็จจากบริษัทประกัน การลดหย่อนภาษีในแต่ละประเภทอาจมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดเพิ่มเติมได้ เช่น ประกันสุขภาพจะต้องครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข

   แนะนำให้ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายในทุกๆ ปี เพราะด้วยข้อกำหนดและจำนวนเงินที่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้อาจมีการเปลี่ยนแปลง

ประกันจ่ายหรือไม่? หากเกิดเหตุรถชนกันในบ้านแล้วเจ้าของเป็นชื่อเดียวกัน คลิก

 

   นอกจากนี้การลดหย่อนภาษียังสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ มาลดหย่อนได้เช่นกันนะครับ

 

1. ลดหย่อนภาษีจากรายจ่ายส่วนบุคคล

  • ประกันชีวิต : หากมีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตที่มีระยเวลานาน 10 ปีขึ้นไป สามารถนำมาลดหย่อนภาษได้สูงสุดถึง 100,000 บาท
  • ประกันสุขภาพ : การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพสำหรับตนเอง คู่สมรส หรือบุตร ก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนด
  • เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนเงินที่สะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนแบบอื่นๆ ได้เช่นกัน

 

2. ลดหย่อนภาษีจากการลงทุน

  • กองทุนรวมเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์ : สำหรับผู้ที่ซื้อในช่วงที่มีสิทธิ์ได้รับ จะยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่ลงทุน
  • กองทุนเพื่อการเกษียณ : สามารถนำมาลดหย่อนได้ตามจำนวนที่ลงทุน ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี

ทำความเข้าใจก่อนซื้อ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คลิก

 

3. ลดหย่อนภาษีเกี่ยวกับครอบครัว

  • การดูแลบุตร : ลดหย่อยภาษีได้จากการจ่ายค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตรที่ยังอยู่ในช่วงอายุที่กฎหมายกำหนด โดยปกติแล้วอายุไม่เกิน 25 ปี
  • ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา : หากได้มีการจ่ายค่าเลี้ยงดูบิดามารดาที่อายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่สามารถดูแลตัวเองได้ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนดได้เช่นกัน

 

4. ลดหย่อนภาษีจากการบริจาค

  • การบริจาคให้กับองค์กรการกุศล : การบริจาคเงินให้กับองค์กรการกุศลที่ได้รับการรับรองจากกรมสรรพากรจะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับเปอร์เซ็นต์ของเงินที่บริจาคที่สามารถนำมาลดหย่อนได้

 

5. ลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยสินเชื่อ

  • ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้าน : สำหรับการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ในการซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัยในบางกรณี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่กฎหมายกำหนดได้เช่นกัน

 

6. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา

  • ค่าเล่าเรียน : ในบางกรณีที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้จากการจ่ายค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรหรือผู้ที่อยู่ในความดูแล

คืออะไร? รถทดแทนระหว่างซ่อม เมื่อเกิดอุบัติเหตุสามารถใช้ได้หรือไม่ คลิก

   สำหรับการลดหย่อนภาษีจะต้องมีเอกสารเพื่อเป็นการยืนยันการชำระหรือการบริจาคที่ถูกต้อง เช่น ใบเสร็จรับเงินจากบริษัทประกัน ใบรับรองจากกองทุน ใบเสร็จจากการบริจาค เป็นต้น อย่าลืมไปใส่สิทธิลดหย่อนภาษีกันนะครับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto