กันน้ำท่วม! ด้วยวิธีการวางกระสอบทรายแบบวิศวกร ทำอย่างไรกันนะ

กันน้ำท่วม! ด้วยวิธีการวางกระสอบทรายแบบวิศวกร ทำอย่างไรกันนะ

18/10/2021

   ในช่วงนี้ที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ สถานการณ์น้ำท่วม ซึ่งในหลายจังหวัดต้องพบเจอกับสถานการณ์นี้ ทำให้หลายท่านคิดหาวิธีการวางพนังกั้นน้ำเพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้ามาในบ้านได้ สำหรับท่านใดที่วางพนังกั้นน้ำด้วยกระสอบทรายไม่ถูก ยูไนเต็ด ฮอนด้า นำวิธีการวางกระสอบทรายกันน้ำท่วมแบบวิศวกรมาฝากครับ

 

1. วิธีบรรจุทรายลงกระสอบ

วิธีบรรจุทรายลงกระสอบ

   การที่น้ำไหลเข้าบ้านอาจทำให้เกิดความเสียหาย ฉะนั้น ถ้าวางพนังกั้นน้ำได้ถูกต้องก็จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมได้ ซึ่งการใช้กระสอบทรายกันน้ำท่วมนั้นจะมีความแข็งแกร่งได้ควรเติมทรายเพียงครึ่งหนึ่งของขนาดกระสอบทรายเท่านั้น เพื่อให้ทรายไม่แน่นจนเกินไป ตัวทรายจะได้เคลื่อนตัวอยู่ภายในถุงได้ง่าย และสามารถไหลไปอุดตามช่องว่างต่างๆ ได้ดีนั่นเองครับ แต่ถ้าหากบรรจุทรายมาเกินไปจะทำให้ทรายไหลไปอุดตามช่องว่างไม่ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดช่องให้น้ำรั่วซึมเข้าไปได้ครับ โดยกระสอบทรายควรมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 15-18 กิโลกรัม เพื่อให้สะดวกต่อการขนย้ายนั่นเองครับ 

การมัดปากกระสอบทราย

   และการมัดปากกระสอบจะต้องมัดให้ใกล้กับปลายกระสอบนะครับ แต่ไม่ควรมัดสูงจนเกินไปเพราะอาจทำให้หลวมจนน้ำซึมผ่านเข้าไปได้ และก็ไม่ควรมัดต่ำหรือสั้นจนเกินไปเช่นกันนะครับจะทำให้ทรายในถุงแน่นเกินไปจนตัวทรายไม่สามารถเคลื่อนย้ายมาปิดที่ช่องว่างได้เช่นกัน

 

ขับรถอย่างไรไม่ให้รถพัง เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ คลิก

 

2. วิธีเตรียมหน้าดินก่อนวางกระสอบทราย

วิธีเตรียมหน้าดินก่อนวางกระสอบทราย

   การวางกระสอบทรายจะต้องห่างจากตัวบ้านประมาณ 2 เมตร เพื่อไม่ให้เกิดแรงจากแนวกระสอบทรายกระทบต่อตัวบ้านได้ ที่สำคัญห้ามปูแผ่นพลาสติกไว้ใต้กระสอบทรายเด็ดขาดนะครับ เพราะจะทำให้กระสอบทรายลื่นไถลลงมาได้

   เตรียมหน้าดินชั้นล่างให้ลึกประมาณความหนาของกระสอบทราย 1 กระสอบ ส่วนความกว้างเท่ากับกระสอบทราย 2 กระสอบ เพื่อให้แนวกระสอบทรายและพื้นดินมีความมั่นคงแข็งแรง

 

 

3. วิธีวางกระสอบทราย

วิธีวางกระสอบทราย

   สำหรับการเรียงกระสอบทรายไม่ใช่จะเรียงอย่างไรก็ได้นะครับ เพราะถ้าเรียงผิดวิธีนอกจากจะไม่ช่วยป้องกันน้ำท่วมแล้วกระสอบทรายอาจพังทลายลงมายิ่งทำให้น้ำทะลักเข้าสู่ตัวบ้านเร็วและรุนแรงขึ้นด้วย

 

รู้ทัน! ฝนตก น้ำท่วม รถติด เช็คสถานการณ์น้ำท่วมแบบ Real Time คลิก

 

การวางกระสอบทราย

   การวางกระสอบทรายควรวางในแนวนอนหรือขนานไปกับทิศทางการไหลของน้ำ ห้ามวางแนวตั้งหรือขวางทิศทางการไหลของน้ำเด็ดขาดนะครับ เพราะแรงดันจากน้ำนั้นจะมีพลังมากหากวางขวางทางน้ำไหลจะทำให้กระสอบทรายพังทลายลงอย่างง่ายดายนั่นเองครับ ส่วนปากกระสอบทรายนั้นจะต้องหันไปในทิศทางตรงข้ามกับกระแสน้ำ

 

น้ำสูงระดับไหน? ที่รถยังไหว คลิก

 

   การวางกระสอบทรายในชั้นแรก เริ่มจากวางถุงแรกก่อนแล้วนำถุงที่สองมาวางทับที่ปากของถุงแรกที่ไม่มีทรายบรรจุ วางแบบนี้ไปเรื่อยๆจนได้ความยาวที่ต้องการ เมื่อวางเรียงชั้นแรกเสร็จแล้วให้เดินขึ้นไปด้านบนเพื่อกดให้แนวกั้นน้ำมีความหนาแน่นและมั่นคง ส่วนในชั้นต่อๆ ไปให้วางกระสอบทับรอยต่อของกระสอบชั้นล่าง หรือวางแบบสับหว่างกันนั่นเองครับ โดยจัดเรียงชั้นกระสอบทรายเป็นสามเหลี่ยมพีระมิดเพื่อจะได้รับแรงดันของน้ำให้ได้มากที่สุด โดยส่วนของฐานจะต้องกว้างกว่าความสูง 3 เท่า และอย่าลืมเดินขึ้นไปเหยียบในแต่ละชั้นด้วยนะครับ

 

4. วิธีป้องกันน้ำซึม

วิธีป้องกันน้ำซึม

   หลังจากเรียงกระสอบทรายเรียบร้อยแล้ว ให้นำแผ่นพลาสติกมาวางคลุมแนวกั้นน้ำอีกชั้น แล้วใช้กระสอบทรายวางทับที่ปลายแผ่นของพลาสติกทั้งสองด้านไว้ด้วยครับ แต่อย่าดึงแผ่นพลาสติกตึงจนเกินไปนะครับ เพราะจะไปปะทะกับแรงดันของน้ำได้ และต้องตรวจสอบแผ่นพลาสติกให้ดีก่อนนำไปใช้ด้วยนะครับว่ามีรูหรือรอยขาดตรงไหนหรือไม่ 

   การจัดวางกระสอบทรายวิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถกั้นน้ำได้มาก เพราะถ้าวางกระสอบทรายได้ถูกวิธีก็จะไม่ล้มพังทลายลงมาง่ายๆ นั่นเองครับ ซึ่งทุกบ้านที่มีแนวโน้มจะเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้สามารถจำและนำไปใช้กันดูนะครับ 

 

จะทำอย่างไรดี? หากรถเกิดความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม คลิก

 

   อย่างไรก็ตาม ยูไนเต็ด ฮอนด้า ขอให้ทุกท่านที่เจอกับสถานการณ์น้ำท่วมนี้ ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะครับ

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto