“หน้าฝน” กับ “ไฟฟ้า” เป็นสิ่งอันตรายควรหลีกเลี่ยงและป้องกัน อาจเกิดไฟช็อต ไฟรั่ว

“หน้าฝน” กับ “ไฟฟ้า” เป็นสิ่งอันตรายควรหลีกเลี่ยงและป้องกัน อาจเกิดไฟช็อต ไฟรั่ว

08/07/2024

เกิดเหตุสลด

   เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนได้มีข่าวที่น่าสลดอย่างข่าวไฟไหม้ที่ตลาดนัดจตุจักร ที่เผาวอดประมาณ 118 ล็อก ทำให้มีสัตว์ตายเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น นก สุนัข แมว ไก่ งู ฯลฯ รวมๆ แล้วประมาณพันตัวได้ โดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้อ้างว่าได้ยินเสียงไฟช็อต และหลังจากนั้นก็เห็นว่ามีแสงไฟก่อนจะลุกลามไหม้ซึ่งให้น้ำหนักไปที่ประเด็นไฟฟ้าอาจลัดวงจร โดยอาจจะเกิดจากสายไฟเก่าหรือชำรุด และไม่มีการเปลี่ยนหรือทำการตรวจสอบจนเป็นเหตุทำให้เกิดไฟไหม้

ขอขอบคุณช่อง : เรื่องเล่าเช้านี้

 

   นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ไฟดูดตรงตู้กดน้ำในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เป็นตู้สำหรับกดน้ำได้ถูกติดตั้งมานานแล้วและไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากแหล่งน้ำบริเวณนั้นไม่เหมาะสมสำหรับใช้ดื่มเพราะมีสนิม ซึ่งทางโรงเรียนปิดไว้ไม่ให้ใช้งาน ตู้กดน้ำจะมีเบรกเกอร์ควบคุมระบบไฟฟ้าอยู่ที่ด้านหลัง ในวันเกิดเหตุมีฝนตก และลมแรงทำให้มีน้ำเจิงนองคาดว่าตู้อาจเกิดไฟรั่ว บอกกับนักเรียนตัวเปียกเมื่อเข้าใกล้จึงเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้น

ขอขอบคุณช่อง : Thai PBS

 

“หน้าฝน” กับ “ไฟฟ้า”

   เมื่อมองจากเหตุการณ์แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากไฟฟ้าที่เราใช้กันทุกบ้าน ยิ่งเป็นช่วงหน้าฝนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้วอาจกลายเป็นอันตรายจนถึงชีวิตได้เลยนะครับ แล้วต่อดูแลหรือต้องเซฟตี้ตัวเองอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้น

   องค์ประกอบที่ทำให้ก่อให้เกิดไฟ มีอยู่ 3 สิ่ง ซึ่งหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปใน 3 สิ่งนี้จะไม่มีทางเกิดไฟขึ้นได้

  • เชื้อเพลิง : เชื้อเพลิงที่ทำให้เกิดการลุกไหม้ อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ
  • ออกซิเจน : ซึ่งมีอยู่ในอากาศประมาณ 21% โดยปริมาตร ที่ช่วยให้ติดไฟ แต่หากออกซิเจนลดต่ำลงไฟก็จะไหม้ช้าลงหรือดับมอดไป
  • ความร้อน (HEAT) : ที่ทำให้เชื้อเพลิงเปลี่ยนสถานะเป็นไอหรือก๊าซ ที่เรียกว่า ความร้อนถึงจุดวาบไฟ และอีกอย่างคือ ความร้อนถึงจุดติดไฟ หรือจุดชวาล (FIRE POINT) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเร็ว พอเพียงที่จะติดไฟได้จะมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับลักษณะทางสารสมบัติของเชื้อเพลิงด้วย

   เมื่อเข้าหน้าฝนทั้งลมกระโชกแรง เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นเหตุทำให้เกิดอุบัติภัยทางไฟฟ้าได้อย่างเช่น ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต รวมไปถึงไฟฟ้าอาจเกิดลัดวงจรได้เช่นกันครับ

ชะล่าใจไม่เช็กรถก่อนเจอสถานการณ์ฝนตกหนัก เสี่ยงเกิดอันตราย! คลิก

เกิดความเสียหายแน่ๆ หากทิ้งสิ่งของที่เป็นอันตรายไว้ในรถเมื่อจอดกลางแดด คลิก

ขอขอบคุณช่อง : TNN

 

จุดเสี่ยง! ที่พบบ่อย

 

เสาไฟฟ้าหน้าบ้าน

   ต้นทางของกระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งเข้ามาใช้ภายในบ้าน นอกจากเป็นแหล่งที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปยังบ้านอื่นๆ เมื่อฝนตกอาจทำให้เกิดไฟรั่วได้ ดังนั้นเมื่อฝนตกควรหลีกเลี่ยงอยู่ในบริเวณเสาไฟฟ้านะครับ

 

กริ่งประตู

   ในขณะที่ฝนตกน้ำอาจจะไหลหรือซึมเข้าไปในสวิตช์ได้ หากจำเป็นต้องกดกริ่งให้ใช้หลังนิ้วกดหรือเคาะแทนการกดนะครับ เพราะอาจเกิดไฟรั่วได้

 

โคมไฟสนาม

   โคมไฟสนามถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สัมผัสกับน้ำโดยตรงตลอดเวลาที่ฝนตก ซึ่งมักจะมีคนเดินผ่านเป็นประจำ ดังนั้นควรจะทำการตรวจเช็กสภาพของฉนวนอยู่เสมอนะครับ

 

ปั๊มน้ำ

   ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดที่มักจะเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วโดยในขณะที่ฝนตก แนะนำว่าให้ต่อสายดินหรือใช้สวิตช์ตัดวงจรอัตโนมัติ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายได้ ยิ่งในช่วงที่ฝนตกยิ่งต้องเช็กปั๊มน้ำให้ดีเลยนะครับ ควรถอดปลั๊กหรือปิดสวิตช์ให้เรียบร้อยก่อน

หน้าร้อนค่าไฟขึ้น! มา SAVE ค่าไฟ ใช้เท่าเดิมแต่จ่ายน้อยลงทำอย่างไร คลิก

 

คำแนะนำ

  • ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดในขณะที่เกิดฟ้าคะนอง และหากพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเปียกน้ำให้นำมาเช็ดหรือผึ่งให้แห้งก่อนนำไปใช้งานครับ เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรภายในเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ตัวเปียกชื้นไม่ควรแตะต้องตัวส่วนที่มีกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้นเพราะนั่นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วทำให้ไฟดูดได้ เนื่องจากความต้านทานของผิวหนังที่เปียกชื้นจะลดลงอย่างมาก ทำให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านร่างกายได้โดยง่าย ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้เลยนะครับ
  • ติดตั้งสายดินเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว หากจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายของเราเปียกอยู่นั้นอย่าง การใช้เครื่องทำน้ำอุ่น แนะนำว่าให้ทำการติดตั้งสายดินและต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟฟ้ารั่วด้วย เพื่อเสริมการทำงานของสายดินให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
  • ต้นไม้ใกล้แนวสายไฟ ในขณะที่ฝนตกอาจมีลดพัดแรงจนทำให้กิ่งไม้เอนไปแตะกับสายไฟฟ้าได้ถ้าเจอแบบนี้ไม่ควรอยู่ใกล้เด็ดขาด หากฟ้าแรงถึงขั้นฟ้าผ่าอาจเป็นอันตรายได้ รวมไปถึงต้นไม้อาจหักโค่นล้มทับสายไฟฟ้า ให้แจ้งกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) หรือการไฟฟ้านครหลวง (MEA) ในพื้นที่เพื่อให้ดำเนินการแก้ไขครับ นอกจากนี้แนะนำว่าไม่ควรตัดต้นไม้หรือกิ่งไม้เองนะครับ เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้นั่นเอง

กันน้ำท่วม! ด้วยวิธีการวางกระสอบทรายแบบวิศวกร ทำอย่างไรกันนะ คลิก

ขอขอบคุณช่อง : TNN

 

ช่วยเหลืออย่างไร?

  • อย่าใช้มือเปล่าในการแตะต้องตัวกับผู้ที่ติดกับกระแสไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกกระแสไฟฟ้าจนได้รับอันตรายไปด้วย
  • ถอดปลั๊กหรือปิดสวิตช์เพื่อเป็นการตัดกระแสไฟฟ้า
  • ใช้วัสดุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้าอย่า ผ้า ไม้แห้ง เชือกที่แห้ง สายยาง พลาสติกที่แห้งสนิท ถุงมือยาง นำวัสดุเหล่านี้ในการช่วยผลักหรือฉุดตัวผู้ประสบภัยหลุดออกจากจุดๆ นั้น หรือเขี่ยสายไฟหลุดออกจากตัวผู้ประสบภัย
  • หากเป็นสายไฟฟ้าแรงสูงให้พยายามหลีกเลี่ยงไม่ควรเข้าใกล้ ให้รีบแจ้งกับทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) หรือการไฟฟ้านครหลวง (MEA) โดยเร็วที่สุด
  • ในกรณีที่มีน้ำขังบริเวณนั้นไม่ควรลงไปเด็ดขาด ให้หาทางเขี่ยสายไฟฟ้าออกให้พ้นหรือตัดกระแสไฟฟ้าก่อนแล้วจึงไปช่วยผู้ประสบภัย

อันตราย! 4 เรื่องที่ต้องรู้เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ คลิก

   เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ให้ตั้งสติและเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ รวมไปถึงการนำส่งหาแพทย์โดยเร็ว และในช่วงหน้าฝนนี้ขอให้ทุกท่านระมัดระวังในการใช้ชีวิตให้มากๆ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

บทความอื่นๆ

เกิดเหตุไฟไหม้ ต้องทำอย่างไร? รับมือ ป้องกัน และวิธีการมีอะไรบ้าง

เกิดเหตุไฟไหม้ ต้องทำอย่างไร? รับมือ ป้องกัน และวิธีการมีอะไรบ้าง

07/10/2024

การเกิดไฟไหม้ไม่ว่าจะทั้งสถานประกอบกิจการ โรงงานหรืออาคารต่างๆ รวมไปถึงบ้านเรือนผู้ที่อยู่อาศัย เหล่านี้มาจากการที่เราไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ในตั้งแต่เริ่มแรกที่เกิดไฟไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัวจนไม่สามารถควบคุมจากเหตุไฟไหม้เพียงเล็กน้อยจนไปถึงรุนแรงได้ สิ่งที่ตามมาจากการเกิดเหตุไฟไหม้ก็คือ เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แต่หากเราศึกษาหรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับการควบคุมและการดับเพลิงขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อ่านต่อ
เทศกาลกินเจเริ่มแล้ว! คนที่กินเจต้องรู้อะไรบ้างทั้งข้อห้ามและสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

เทศกาลกินเจเริ่มแล้ว! คนที่กินเจต้องรู้อะไรบ้างทั้งข้อห้ามและสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

01/10/2024

เทศกาลกินเจในปี 2567 นี้ อยู่ระหว่างวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 การกินเจหรือในทางภาษาจีนคือ เจี๊ยะฉ่าย ซึ่งมีความหมายว่า “กินผัก” ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเพียงแค่เราถือศีลกินเจ และงดอาหารบางอย่างเท่านั้นเป็นเวลา 10 วัน และสามารถทำได้ทันที สำหรับท่านใดที่ไม่มีเวลาไปทำบุญหรือเดินทางไปวัดก็สามารถใช้วิธีนี้ได้เช่นกันนะครับ

อ่านต่อ
หน้าฝนและน้ำท่วมด้วยยิ่งต้องระวังกับโรคที่มาพร้อมกับน้ำ ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเสี่ยงเป็นโรคได้

หน้าฝนและน้ำท่วมด้วยยิ่งต้องระวังกับโรคที่มาพร้อมกับน้ำ ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเสี่ยงเป็นโรคได้

19/09/2024

โรคเหล่านี้เราสามารถลดความเสี่ยงที่จะติดโรได้ด้วยการดูแลสุขภาพของเราเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ พร้อมกับปฏิบัติตามแนวทางป้องการเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการติดต่อ และหากเรารู้สึกตัวว่ามีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันทีจะได้รักษาอย่างตรงจุด

อ่านต่อ
Uto