สำหรับรถพยาบาลฉุกเฉิน หรือรถ Ambulance เป็นยานพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมานั่นเองครับ เพื่อนำไปส่งที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ใกล้เคียง แพทย์จะได้ทำการรักษาและช่วยชีวิตได้ทันท่วงทีและเร็วที่สุด ดังนั้นถ้าท่านใดที่เจอรถพยาบาลฉุกเฉินที่เปิดไฟไซเรนแล้วต่อท้ายหลังรถเรามาด้วยแล้วนั้นจะต้องหลบให้กับรถพยาบาลฉุกเฉินนะครับ
ทำผิดซ้ำ! ปรับหนักสุด 100,000 บาท หากเมาแล้วขับ และเพิ่มโทษในหลายคดี คลิก
ไม่หลบ! ระวังเจอข้อหาเจตนาฆ่าผู้อื่น
การขับรถกีดขวางเส้นทางรถพยาบาล เข้าข่ายผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกมาตรา 76 ที่ระบุไว้ว่า “เมื่อเห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบหรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน จะต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท”
ควรรู้! สำหรับค่าปรับจราจรในปัจจุบัน คลิก
นอกจากนี้แล้วผู้ที่ขับรถกัดขวางรถพยาบาลอาจจะถูกตั้งข้อหาที่หนักตามมาได้นะครับ ถ้าหากกระทำนั้นเป็น “เหตุโดยตรง” ที่ทำให้ผู้เจ็บป่วยในรถพยาบาลถึงแก่ชีวิต ซึ่งจะเข้าข่ายกระทำความผิดโดยประมาท เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือกระทำโดยเจตนาเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมนั่นเองครับ
และหากท่านใดที่เจอรถพยาบาลฉุกเฉินต่อท้ายรถเราอยู่แล้วทำตัวไม่ถูกหรือไม่รู้จะหลีกทางให้อย่างไร วันนี้นะวิธีการหลีกทางให้กับรถพยาบาลฉุกเฉินจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติมาฝากกันครับ
วิธีหลีกทางให้กับรถพยาบาลฉุกเฉิน
- ผู้ขับขี่จะต้องมีสติเมื่อเห็นสัญญาณไฟ และได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน
- พยายามมองกระจกหลัง เพื่อกะระยะของรถพยาบาลที่จะวิ่งมา
- พิจารณาปริมาณรถทั้งทางด้านซ้ายและขวาที่อยู่ใกล้ หากพบว่าไม่อันตรายหรือสามารถเบี่ยงชิดได้ ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วรถพร้อมกับเบี่ยงรถ เพื่อหลีกทางให้กับรถพยาบาลทันที
- หากไม่สามารถหลีกทางให้ได้เนื่องด้วยรถที่หนาแน่ และอาจมีอันตรายได้ ให้ทำการชะลอรถเพื่อให้รถพยาบาลฉุกเฉินหาทางวิ่งผ่านเราไปให้ได้นั่นเองครับ
- เมื่อรถพยาบาลฉุกเฉินวิ่งผ่านไปแล้ว สิ่งที่ห้ามทำก็คือการขับตามนะครับ
- ในกรณีที่รถติดแล้วรถพยาบาลฉุกเฉินอยู่ด้านหลังรถเราพอดี ให้พิจารณาว่าควรชิดซ้ายหรือขวา ถ้าไม่มีใครหลีกทางให้ ให้ผู้ขับขี่เลือกว่าจะหลบทางไหนพร้อมกับเปิดไฟเลี้ยว เพื่อให้สัญญาณให้กับรถพยาบาลฉุกเฉินให้เขาได้แซง และผ่านไปได้
รถพยาบาลเปิดไฟวับวาบ แต่ปิดเสียงไซเรน ต้องหลบหรือไม่?
หลักการใช้สัญญาณไฟวับวาบและสัญญาณเสียงไซเรน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี โดยสำนักวิชาการของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ออกมาให้ข้อมูลเองเลยว่า
- ถ้ารถพยาบาลฉุกเฉิน เปิดไซเรนและเปิดไฟวับวานพร้อมกัน กรณีนี้จะเป็นเหตุฉุกเฉินที่ด่วนที่จะต้องรีบนำไปส่งถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลให้ไวที่สุด
- ถ้ารถพยาบาลฉุกเฉิน ปิดเสียงไซเรนแต่เปิดไฟวับวายเพียงพียงอย่างเดียว กรณีนี้เป็นเหตุที่ไม่ฉุกเฉินเท่าไหร่ แต่เป็นเหตุด่วนที่จะต้องให้ถึงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลให้ไวที่สุดเช่นกัน
เตือนแล้วนะ! ใช้ป้ายแดงปลอมมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอม คลิก
ไซเรนติดรถยนต์ส่วนบุคคลได้หรือไม่
บางท่านอาจมีความคิดว่า นำไซเรนมาติดที่รถบ้างจะดีหรือไม่ จะได้ขับรถแซงคิวคันอื่นๆ ได้ แนะนำว่าให้เลิกความคิดแบบนี้จะดีกว่านะครับ เพราะเรื่องเสียงไซเรนของรถพยาบาลฉุกเฉินได้มีกฎหมายรองรับแล้ว และถ้าหากฝ่าฝืนยังนำมาติดอยู่โดยพลการจะถือว่าผิดกฎหมายและโทษปรับทันทีครับ
ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 13 ระบุไว้ว่า ห้ามไม่ให้รถยนต์ส่วนบุคคลใช้แสงไฟหรือเสียงไซเรนที่ดังหรือเสียงดังที่แตกพร่า เว้นแต่ว่าเป็นรถที่อธิบดีมีอำนาจให้ใช้ในรถฉุกเฉินเท่านั้น เช่น รถทหาร รถตำรวจ และรถพยาบาลฉุกเฉิน หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 1,000 บาท
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะด่วนหรือด่วน หากพบว่ามีรถพยาบาลฉุกเฉินต่อท้ายเราอยู่แล้วแล้วเปิดสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งก็ควรหลบให้นะครับ เพราะถ้าคนในรถพยาบาลฉุกเฉินนั้นเป็นครอบครัวหรือญาติของเราที่เป็นฝ่ายประสบอุบัติเหตุ ก็คงอยากให้ถึงมือหมอไวๆ เหมือนกันใช่ไหมล่ะครับ เพราะทุกชีวิตมีค่าสำหรับคนบางคนอยู่แล้ว เป็นใครก็ไม่อยากให้เสียคนใกล้ตัวเราไปนั่นเอง
รู้ทัน! ฝนตก น้ำท่วม รถติด เช็คสถานการณ์น้ำท่วมแบบ Real Time คลิก