หากแร็คพวงมาลัยรั่ว! จะต้องทำการเปลี่ยนทันที สังเกตอย่างไรว่าแร็คพวงมาลัยรั่ว

หากแร็คพวงมาลัยรั่ว! จะต้องทำการเปลี่ยนทันที สังเกตอย่างไรว่าแร็คพวงมาลัยรั่ว

02/03/2023

   ปัจจุบันนี้รถยนต์ส่วนใหญ่มักจะต้องมีพวงมาลัยพาวเวอร์ ที่ทำหน้าที่หลักเพื่อช่วยในการผ่อนแรงในการบังคับพวงมาลัยในขณะที่เลี้ยวให้กับผู้ขับขี่โดยไม่ต้องสาวพวงมาลัยให้เมื่อยแขนเหมือนแต่ก่อน ดังนั้นในระบบของพวงมาลัยเพาเวอร์ย่อมมีความซับซ้อน และสำหรับปัญหาที่มักพบบ่อยๆ ก็คือ แร็คพวงมาลัยรั่ว 

   สำหรับอาการเริมแรกของชิ้นส่วนแร็คพวงมาลัยรั่วนั้น สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ดังนี้

  • มีน้ำมันพาวเวอร์ลดลงจากการรั่วซึม (สังเกตได้จากปริมาณน้ำมันพาวเวอร์ในกระปุกน้ำมันพาวเวอร์ลดลงหรือมีหยดตามพื้น)
  • พวงมาลัยหนักบางจังหวะ เลี้ยวแล้วพวงมาลัยไม่คืนหรือมีระยะฟรีมากๆ
  • เมื่อขับขี่ทางตรงแล้วอาจมีเสียงดังบริเวณใต้คันเร่ง-แป้นเบรก
  • เวลาหมุนพวงมาลัยในขณะที่เลี้ยวจะมีเสียงดังผิดปกติ

   หากตรวจสอบหรือพบเจออาการเหล่านี้แนะนำให้รีบทำการเปลี่ยนนะครับ เพราะการเปลี่ยนแร็คใหม่ย่อมเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงพอสมควรขึ้นอยู่กับยี่ห้อของรถยนต์นั่นเองครับ

   รถยนต์ในบางรุ่นที่ใช้พวงมาลัยแบบไฟฟ้า EPS ซึ่งการใช้พวงมาลับประเภทนี้จะไม่ค่อยพบปัญหาแร็คพาเวอร์รั่ว แต่จะพบปัญหาที่เรียกว่า แร็คแห้ง แทนนะครับ อาการเบื้องต้นก็จะคล้ายๆ กันก็คือ พวงมาลัยหนัก-เบาสลับกัน รวมไปถึงการเกิดเสียงผิดปกติในขณะที่เลี้ยวอีกด้วย 

 

อันตราย! หากมองข้ามไป เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด "พวงมาลัยล็อค" คลิก

 

การดูแลรักษาแร็คพวงมาลัย

   สำหรับการดูแลชิ้นส่วนที่เป็นแร็คพวงมาลัย เพื่อยืดอายุการใช้งานหรือใช้ชิ้นส่วนใช้งานได้ตามอายุนั้นมีดังนี้

  • ไม่ควรหักเลี้ยวพวงมาลัยอย่างรุนแรงหรือหมุนพวงมาลัยเลี้ยวจนสุด
  • หลีกเลี่ยงถนนที่มีลักษณะขรุขระ แต่ถ้าหากเลี่ยงไม่ได้ให้ผ่อนรถให้เบาเพื่อไม่ให้กระแทกแรงจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำท่วม
  • เปลี่ยนน้ำมันพาวเวอร์ตามระยะที่กำหนด
  • หมั่นตรวจสอบเช็คยางแร็คพวงมาลัยเพราะถ้าหากมีการฉีกขาดให้รีบทำการเปลี่ยนทันที ไม่อย่างนั้นโอกาสที่ฝุ่นหรือน้ำจะเข้าไปทำความเสียหายให้กับชุดกลไกเกิดการชำรุดได้

 

ขับรถอย่างไรไม่ให้รถพัง เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ คลิก

   อย่างไรก็ตามชิ้นส่วนของรถยนต์เกิดการใช้งาน ซึ่งทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ย่อมสึกหรอตามการเวลาหรือตามที่เราใช้งานนั่นเอง เพียงแต่ถ้าหากเกิดอาการผิดปกติกับเครื่องยนต์ควรทำการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ให้ดีและพร้อมก่อนออกเดินทาง เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเราเองและครอบครัว รวมถึงเพื่อนร่วมทางด้วยนะครับ หากต้องการนำรถยนต์เข้าศูนย์บริการ ที่ ยูไนเต็ด ฮอนด้า Line : @unitedhonda Facebook : United Honda Automobile หรือโทร 02-432-2222 ได้เลยครับ

อันตรายเช็คด่วน! หากช่วงล่างเกิดมีเสียงขณะขับขี่ คลิก


ALL-NEW HONDA ACCORD e:HEV

เริ่มต้น 1,529,000 บาท
ผ่อนเริ่มต้น 16,000 บาท/เดือน

ดูรายละเอียด

บทความอื่นๆ

ยางอึดขึ้นและคุ้มค่ากับการลงทุนจริงหรือไม่? เมื่อเติมลมยางไนโตรเจน

ยางอึดขึ้นและคุ้มค่ากับการลงทุนจริงหรือไม่? เมื่อเติมลมยางไนโตรเจน

20/12/2024

เติมลมไนโตรเจน เป็นการเติมก๊าซไนโตรเจนที่มีความบริสุทธิ์สูงเกือบ 100% เข้าไปในยางรถยนต์แทนที่ลมธรรมดาทั่วไป ซึ่งการเติมลมไนโตรเจนได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีข้อดีหลายๆ อย่าง และยังส่งผลต่อประสิทธิภาพรวมไปถึงอายุการใช้งานของยางรถยนต์อีกด้วยนะครับ ควรตรวจสอบแรงดันลมยางเป็นประจำ ไม่ว่าจะเติมลมยางด้วยชนิดใดก็ตามก็ควรมีการตรวจสอบแรงดันลมยางนะครับ และหากเป็นเราที่เติมลมยางเองควรเลือกปั๊มลมทีได้มาตรฐานและมีเกจวัดแรงดันลมที่แม่นยำ

อ่านต่อ
ภัยร้ายจากการจอดรถผิดที่ จอดรถแบบไหนถึงจะไม่สร้างปัญหาให้ใคร?

ภัยร้ายจากการจอดรถผิดที่ จอดรถแบบไหนถึงจะไม่สร้างปัญหาให้ใคร?

13/12/2024

การจอดรถเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หลายๆ ครั้งพฤติกรรมการจอดรถที่ไม่เหมาะสมมักจะสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นและสังคมได้ ซึ่งการจอดรถให้ถูกที่ถูกทางไม่ใช่เพียงแค่แสดงถึงความมีมารยาทที่ดีเท่านั้น แต่ยังช่วยลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุได้อีกด้วยนะครับ

อ่านต่อ
เรื่องไฟเลี้ยวอย่าประมาท? สัญญาณเล็กๆ ที่ช่วยชีวิตได้

เรื่องไฟเลี้ยวอย่าประมาท? สัญญาณเล็กๆ ที่ช่วยชีวิตได้

09/12/2024

สัญญาณไฟเลี้ยวรถยนต์เป็นเรื่องที่ทุกท่านต้องเข้าใจเพราะเป็นการสื่อสารที่สำคัญในการใช้รถใช้ถนน ช่วยให้ผู้ขับขี่ท่านอื่นๆ ได้รับทราบถึงเจตนาในการขับขี่ของเราไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนเลน ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและทำให้การจราจรเป็นไปอย่างราบรื่นนั่นเองครับ ซึ่งการเปิดไฟเลี้ยวจะต้องเปิดล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ขับขี่ท่านอื่นได้มีเวลาเตรียมตัวและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับขี่ ทำให้ลดโอกาสเกิดการชนกันได้

อ่านต่อ
Uto