การสร้างวินัยบนท้องถนน
การจอดรถเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หลายๆ ครั้งพฤติกรรมการจอดรถที่ไม่เหมาะสมมักจะสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นและสังคมได้ ซึ่งการจอดรถให้ถูกที่ถูกทางไม่ใช่เพียงแค่แสดงถึงความมีมารยาทที่ดีเท่านั้น แต่ยังช่วยลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุได้อีกด้วยนะครับ
เรื่องไฟเลี้ยวอย่าประมาท? สัญญาณเล็กๆ ที่ช่วยชีวิตได้ คลิก
พฤติกรรมที่ไม่ควรทำ!
- จอดรถในที่ห้ามจอด : ไม่ว่าจะเป็นป้ายห้ามจอด บริเวณทางม้าลาย ทางเดินเท้าหรือแม้แต่ริมฟุตบาท การจอดรถในที่เหล่านี้ล้วนผิดกฎหมายและกีดขวางการสัญจรของผู้อื่น
- จอดรถขวางทางเข้า-ออก : การจอดรถขวางประตูรั้วบ้านหรือทางเข้าออกอาคาร เป็นพฤติกรรมที่เห็นแก่ตัวมากๆ เลยนะครับ เพราะสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นเป็นอย่างมาก
- จอดรถซ้อนคัน : การจอดรถซ้อนคันทำให้การจราจรติดขัดและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ โดยเฉพาะในบริเวณที่จอดรถค่อนข้างจำกัด
ประมาทร่วม! คู่กรณีชนแล้วหนีหรือไม่มีประกัน ควรทำอย่างไรและประกันจะจ่ายให้เราไหม? คลิก
- จอดรถในที่จอดสำหรับผู้พิการ : ในที่ที่จอดรถสำหรับผู้พิการได้ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มีความจำเป็นเท่านั้น การนำรถไปจอดในที่ที่จอดสำหรับผู้พิการถือว่าเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวและผิดกฎหมาย
- จอดรถในบริเวณที่กีดขวางทางหนีไฟ : การจอดรถในบริเวณที่กีดขวางทางหนีไฟเป็นอันตรายอย่างยิ่งเลยนะครับ เพราะอาจทำให้เกิดอุปสรรคในการอพยพหนีไฟในกรณีฉุกเฉินได้
- จอดรถในบริเวณที่อาจกีดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ : สำหรับพื้นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่อย่างเช่น บริเวณปั๊มน้ำมันหรือบริเวณที่กำลังมีการก่อสร้าง
- จอดรถในลักษณะที่ไม่ระเบียบ : การจอดรถแบบเอียงๆ หรือจอดรถคร่อมช่องจอดรถ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ไม่เพียงแค่ทำให้ดูไม่สวยงามแล้วด้วยแต่ยังอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อรถคันอื่นได้อีกด้วย
อันตราย! หากใช้หัวเสียบเข็มขัดนิภัยหลอก คลิก
ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนต้องรู้! พ.ร.บ. จราจรทางบกฉบับใหม่! คลิก
มีผลกระทบหรือไม่?
การจอดรถที่ไม่เหมาะสมทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นและสังคม ทำให้มองว่าดูเป็นคนที่ไม่มีมารยาทได้เลยนะครับ สำหรับผลกระทบจากการจอดรถที่ไม่ถูกต้องจะมีอะไรบ้าง?
- การจราจรติดขัด : การจอดรถที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดการจราจรที่ติดขัด เสียเวลา และสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
- เกิดอุบัติเหตุ : การจอดรถในที่ที่อันตรายหรือจอดรถไม่เป็นระเบียบ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น : การจอดรถขวางทางเข้า-ออก หรือจอดรถในที่ที่จอดรถสำหรับผู้พิการ เป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวรวมไปถึงยังสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นอีกด้วย
- ถูกปรับ : หากฝ่าฝืนกฎจราจรในการจอดรถ อาจทำให้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเปรียบเทียบปรับได้ครับ
การจอดรถที่ถูกต้อง
ควรศึกษาป้ายจราจรก่อนจอดรถหรือสังเกตป้ายจราจรให้ชัดเจน เพื่อให้แน่ใจว่าบริเวณนี้สามารถจอดรถได้ และเลือกจอดรถในช่องจอดที่กำหนดไว้เท่านั้นนะครับ โดยจะต้องจอดให้ตรงกับช่องจอด ไม่ควรจอดรถคร่อมช่องจอด นอกจากนี้ไม่ควรจอดรถกีดขวางทางเดินของผู้อื่นด้วยนะครับ ฉะนั้นควรคำนึงถึงความสะดวกของผู้อื่นด้วยจะได้ไม่เดือดร้อน
การจอดรถที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะไม่ใช่เพียงแต่เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ยังช่วยรักษาความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยบนท้องถนนอีกด้วยครับ
ขับรถระวังคน ข้ามถนนระวังรถ ไม่ระวัง! อาจเกิดอุบัติเหตุได้ คลิก
โทษปรับสูงสุด 10,000 บาท หากกั๊กที่จอดรถไว้ คลิก
กฎหมายการจอดรถในสถานที่พิเศษ
กฎหมายการจอดรถในประเทศไทยมีรายละเอียดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานที่ที่มีการกำหนดกฎระเบียบพิเศษเอาไว้อย่างเช่น อาคารสาธารณะ คอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้าหรือบริเวณที่มีป้ายจราจรบอกไว้ชัดเจน การที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเหล่านี้อาจทำให้เราจะต้องเสียค่าปรับได้ และอาจรวมไปถึงการถูกรถยกได้นั่นเองครับ
สถานที่ที่มีกฎหมายการจอดรถเฉพาะ
- อาคารสาธารณะ อย่างเช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน มักมีการกำหนดจำนวนช่องจอดรถและช่วงเวลาในการจอดรถ รวมไปถึงประเภทของรถที่สามารถจอดได้
- คอนโดมิเนียม จะมีกฎระเบียบเกี่ยวกับการจอดรถที่แตกต่างกันไปในแต่ละโครงการ อาจมีการกำหนดจำนวนช่องการจอดรถ และมีเวลาที่สามารถเข้าออกได้ รวมไปถึงอาจมีค่าใช้จ่ายในการจอดรถด้วยนะครับ
- ถนนสาธารณะ ซึ่งสาธารณะจะมีป้ายจราจรบอกชัดเจนเกี่ยวกับการห้ามจอด มีการจำกัดเวลาในการจอด และอาจมีข้อห้ามในการจอดรถบางประเภท
- ที่จอดรถสำหรับผู้พิการ ชื่อก็บอกชัดเจนอยู่แล้วว่าสำหรับผู้พิการ ถ้าเราไม่ใช่ผู้พิการก็ไม่ควรไปจอดนะครับ แต่ถ้าหากไม่มีตราสัญลักษณ์ผู้พิการอยู่ก็สามารถจอดได้ครับ
- ที่จอดรถสำหรับรถโดยสารสาธารณะ เป็นพื้นที่ห้ามจอดรถยนต์ส่วนบุคคลในช่องจอดรถสำหรับรถโดยสารสาธารณะเท่านั้น
ทันทำที! หากโดนชนแล้วหนี พร้อมวิธีรับมือ คลิก
หากผิดกฎหมาย จะโดนอะไรบ้าง?
เคลื่อนย้ายหรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้าย
ผู้มีอำนาจสามารถใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายหรือที่เรียกกันว่า “ล็อกล้อ” คันดังกล่าวได้ โดยที่ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ทั้งนั้น เว้นแต่ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นการกระทำโดยการจงใจหรือประมาทเลินเล่อครับ
ยึดหน่วงจนกว่าจะได้รับชำระค่าใช้จ่ายหรือค่าดูแลรักษา
เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่จำเป็นที่จะต้องชำระค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้าย ตามอัตราที่กฎกระทรวงกำหนดไว้ในอัตราค่าใช้จ่ายอยู่ที่ไม่น้อยกว่าคันละ 500 บาท และค่าดูแลรักษาไม่น้อยกว่าวันละ 200 บาทนั่นเองครับ
หยุดพฤติกรรมแบบนี้! อันตรายถึงชีวิตหากไม่ขับขี่ตามกฎจราจร คลิก
ขายทอดตลาด
ในกรณีที่เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ไม่ไปชำระค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะยึดหน่วงรถไว้ได้จนกว่าจะมีการชำระค่าใช้จ่าย โดยในระหว่างการยึดหน่วงรถจะมีการคำนวณค่าดูแลรักษาเป็นรายวันด้วยนะครับ จนครบกำหนดสูงสุด 3 เดือน หลังจากครบตามที่กำหนด 3 เดือนแล้ว เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะนำรถนั้นออกขายทอดตลาดได้
รถชนแบบนี้ใครผิด? เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถใหญ่กับรถเล็ก รถใหญ่ผิดเสมอจริงหรือ คลิก
เช็คง่ายๆ กับใบสั่งจราจรออนไลน์ คลิก
จากที่เราเคยเห็นข่าวการทะเลาะวิวาทที่เกิดจากการจอดรถที่ทำให้เกิดความรำคาญใจต่อผู้ใช้ถนนอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถไม่ปลดเบรกมือในบริเวณพื้นที่ชุมชน การจอดรถขวางทางเข้า-ออกบริเวณหน้าบ้านของผู้อื่น ในกรณีที่ไม่สามารถสัญจรหรือถอยรถเข้า-ออกได้อย่างสะดวกนั้น ถือว่าผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถมีความผิดในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ว่าด้วยการกระทำต่อผู้อื่นอันเป็นการรังแก ข่มแหง คุกคามหรือกระทำการให้เดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทครับ
นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนยังสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายละเมิดในทางแพ่งได้อีกด้วยนะครับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 และในกรณีที่ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐได้ก็สามารถทำการเคลื่อนย้ายรถได้โดยไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหาย ถึงแม้จะเป็นการทำให้ทรัพย์นั้นบุบสลายหรือทำลายทรัพย์ หากมีความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 450 ได้ทันทีครับ