"สู้แดด' ให้แดดไม่สู้กลับ! รวมอุปกรณ์สู้แดด

"สู้แดด' ให้แดดไม่สู้กลับ! รวมอุปกรณ์สู้แดด

16/07/2024

   ถึงจะอยู่ในช่วงหน้าฝนแต่ในบางช่วงก็ยังมีแดด ซึ่งแดดนั้นบอกได้เลยครับว่า ร้อนมากก! ปกติแล้วประเทศไทยเป็นประเทศที่ร้อนอยู่แล้ว แต่ในบางช่วงก็ร้อนมากเกินไปจนบางที่เราก็สู้ไม่ไหว ยูไนเต็ด ฮอนด้า นำตัวช่วยสู้แดดแบบที่แดดไม่สู้กลับมาฝากกันครับ 

อากาศร้อนแบบนี้ต้องระวังฮีทสโตรก เสี่ยงเสียชีวิตได้ คลิก

โรคหน้าร้อน ที่อันตรายต้องระวัง มีกี่โรคและวิธีป้องกันมีอะไรบ้างนะ คลิก

อุปกรณ์ “สู้แดด”

  • แว่นตา
  • ร่ม
  • ฟิล์มรถยนต์
  • ครีมกันแดด
  • หมวก
  • ผ้าม่าน

 

แว่นตา

   วิธีเลือกแว่นตาให้เลือกที่เป็นแว่นตากันแดดแบบป้องกันรังสียูวีจากแสงแดดที่กำกับ UV400 เพราะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงประสิทธิภาพการกรองรังสียูวีที่ดีที่สุด เพราะสามารถป้องกันทั้งรังสี UVA และ UVB ได้แบบ 100% ส่วนสีของแว่นตาให้เลือกที่เหมาะกับกิจกรรม

  • สีดำ เหมาะกับกิจกรรมกลางแจ้ง
  • สีเทา จะช่วยกรองแสงและตัดแสง
  • สีส้มหรือสีเหลือง จะช่วยให้มองภาพในเชิงลึกได้ดี
  • สีน้ำตาล ทำให้มองเห็นสีและแสงจากธรรมชาติได้ชัดขึ้น
  • สีเขียว ช่วยกรองแสงและตัดแสงทำให้สบายตาขึ้น

ฮีทสโตรก อันตรายถึงชีวิต! หากดูแลตัวเองไม่ดีพอ คลิก

 

ร่ม

   สำหรับร่มให้เลือกที่เป็นร่วมกันแดดและเลือกที่เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับกิจกรรมของเรา

ร่มไนล่อน เนื้อผ้าจะมีลักษณะบาง สามารถป้องกันแดดได้ปานกลาง

  • ร่มผ้าโพลีเอสเตอร์ จะมีคุณสมบัติป้องกันแสงแดดและรังสียูวีได้ดี ได้รับความนิยมมากกว่าชนิดอื่น
  • ร่มผ้านาโน สามารถระบายอากาศได้ดี ป้องกันแสงแดดและรังสียูวีได้ดีเช่นกันนะครับ และเวลาเปียกน้ำจะแห้งเร็วกว่าร่มชนิดอื่นๆ อีกด้วย

 

ฟิล์มรถยนต์

   ในปัจจุบันจะมีฟิล์มติดรถยนต์ป้องกันแสงแดดและรังสียูวีให้เลือกมากมายอย่าง ฟิล์มโลหะ ฟิล์มเซรามิค ฟิล์มชาโคล นอกจากนี้ยังมีค่าต่างๆ ที่ให้สังเกตอีกด้วย

  • VLT (Visible Light Transmission) คือ ค่าแสงส่องผ่าน
  • VLR (Visible Light Rejection) คือ ค่าการสะท้อนแสง
  • UVR (UV Rays Rejection) คือ ค่าการลดรังสียูวี 
  • TSER (Total Solar Energy Rejection) คือ ค่าการลดความร้อนจากแสงแดดจริง
  • IRR (Infrared Rays Rejection) คือ ค่ากันร้อนจากรังสีอินฟราเรด

   แต่ปกติแล้ววีเลือกฟิล์มจะติดปากกันว่า ฟิล์ม 40 / 60 / 80 ที่เป็นตัวเลขแทน ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นค่าแสดงความเข้มของฟิล์ม โดยสังเกตง่ายๆหากค่าน้อยแสดงว่าแสงสามารถส่องเข้ามาได้น้อยนั่นเองครับ

เกิดความเสียหายแน่ๆ หากทิ้งสิ่งของที่เป็นอันตรายไว้ในรถเมื่อจอดกลางแดด คลิก

 

ครีมกันแดด

   การเลือกครีมทาผิวให้เลือกจากกิจกรรมที่เราทำหรือจะเลือกครีมกันแดดที่มีค่าป้องกันแสงแดดหรือ SPF 15 ขึ้นไป สามารถป้องกันได้ทั้ง UVA/UVB และควรครอบคลุมไปถึงรังสีอินฟราเรด แนะนำ หากเพิ่งเริ่มใช้ครั้งแรกให้ทดสอบด้วยการทาในปริมาณน้อยๆ ก่อน เพื่อทดสอบว่าเราแพ้หรือไม่ หากไม่แพ้ก็สามารถใช้ได้ตามปกติได้เลยครับ

เช็คด่วน! สีเสื้อใดที่ดูดความร้อนมากที่สุด แล้วทำไมสีเสื้อถึงมีผลต่ออุณหภูมิ คลิก

 

หมวก

   ในการเลือกหมวกควรเลือกที่มีขนาดปีกกว้างเกิน 7.5 เซนติเมตรทุกด้าน เพื่อป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องกระทบผิวหน้าได้ และสำหรับสีของหมวกควรเลือกสีเข้ม เพื่อดูดซับแสงแดดและป้องกันผิวจากรังสียูวีได้ดีกว่า ส่วนเนื้อผ้าควรเป็นผ้าที่ทอแน่นอย่าง ผ้ายีนส์ ผ้าแคนวาสหรือผ้าใยสังเคราะห์

 

ผ้าม่าน

   อยู่บ้านก็ไม่พ้นที่จะไม่โดนแสงแดด สำหรับตัวช่วยป้องกันแสงแดดเมื่ออยู่บ้านก็คือ ผ้าม่านบังแดด การเลือกผ้าม่านที่ช่วยป้องกันรังสียูวีควรมีความทึบของแสงเพื่อป้องกันแสงแดดและรังสียูวี จะช่วยกันรังสียูวีได้ถึง 80-90% ให้เน้นเป็นสีโทนเข้ม สามารถสังเกตได้ง่ายๆ จากการดูแสงที่ส่องเข้ามาผ่านผ้าม่าน หากเป็นผ้าม่านที่มีความทึบของแสงจะมีแสงลอดผ่านผ้าม่านน้อยกว่าผ้าม่านแบบอื่นๆ 

   เลือกอุปกรณ์ที่สามารถกันแดดที่เหมาะสมกับกิจกรรมของเราได้เลยครับ แต่อย่าลืมคำนึงถึงการป้องกันที่ได้มากที่สุดด้วยนะครับ ป้องกันได้ทั้งแสงแดดและรังสียูวี 80-90% เน้นเป็นโทนสีเข้ม ช่วงนี้เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝนอย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

หน้าร้อนค่าไฟขึ้น! มา SAVE ค่าไฟ ใช้เท่าเดิมแต่จ่ายน้อยลงทำอย่างไร คลิก

บทความอื่นๆ

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

ทำไม? ยังมีอาการเวียนหัวไม่หายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว อาการแบบนี้ปกติหรือไม่และวิธีแก้ต้องทำอย่างไร

31/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยในหลายจังหวัดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมาถึงกรุงเทพฯ สร้างความตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีตึกและตามอาคารบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากท่านใดที่มีอาการเวียนหัวหรืออาการเมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว สิ่งแรกที่ต้องปฏิบัติก็คือหลีกเลี่ยงการเดินหรือการเคลื่อนไหวเร็วก่อนนะครับ หาที่นั่งพักในที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับดื่มน้ำเพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถปรับสมดุล แต่ถ้าหากมีอาการเป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงเช่น เวียนหัวจนล้ม คลื่นไส้อาเจียนตลอดเวลา ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการเพิ่มเติมนะครับ หากมีข้อสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สามธารณสุขได้ทันทีที่ สายด่วนสุขภาพ 1669 และสายด่วนสุขภาพจิต 1323

อ่านต่อ
แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

แผ่นดินไหว! เกิดขึ้นที่ประเทศไทยได้อย่างไร? และแรงสั่นสะเทือนส่งผลอะไรกับประเทศไทยบ้าง

29/03/2025

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ช่วงเวลาบ่ายโมงตามเวลาไทย ผู้คนในหลากหลายจังหวัดและหลายพื้นที่ต่างก็รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน โดยคนส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่า ตัวเองไม่สบายหรือเปล่า ทำไมมีความรู้สึกบ้านหมุน แต่เมื่อสังเกตในบริเวณรอบๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟ เก้าอี้ สระน้ำหรือน้ำในห้องน้ำของเรานั้นมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ โดยจุดเริ่มต้นมาจากการสั่นสะเทือนในเมียนมา ตามรายงานของศูนย์สำรวจทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ ได้มีรายงานว่า เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ
เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว

29/03/2025

เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 สะเทือนถึงไทย กทม. เป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ได้มีการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศเมียนมาสะเทือนมาถึงประเทศไทยในช่วงเวลาประมาณ 13.20 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นแผ่นดินไหวในเมียนมาที่มีขนาดถึง 7.7 แมกนิจูด ที่มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวลึกลงไปในใต้ดินถึง 10 กิโลเมตร ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ สร้างความเสียหายรุนแรงทั้งในเมียนมาและขยายผลกระทบไปถึงกรุงเทพฯ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างออกไปว่า 1,000 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้! รุนแรงสุดในรอบ 100 ปี

อ่านต่อ
Uto