การประมาทร่วม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดจากการความประมาทของทั้งสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการขับขี่ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการประมาทร่วมมักจะมาจากความประมาทเลินเล่อไม่ว่าจะเป็นการไม่ระวัง การขาดสมาธิ ความเร่งรีบ การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างการขับรถเร็วเกินที่กำหนด ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับฝ่าสัญญาณไฟแดงหรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างป้ายจราจรที่ไม่ชัดเจน รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การใช้โทรศัพท์ในขณะที่กำลังขับขี่ ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือการขับขี่ที่เป็นเวลานาน
ระวัง! ขับรถป้ายแดงในเวลากลางคืนโดนปรับไม่รู้ตัว คลิก
ประมาทอาจถึงขั้นร้ายแรง! โทษปรับสำหรับขับรถฝ่าไฟแดง ขับแซงเส้นทึบ คลิก
ผลกระทบจากการขับขี่ที่ประมาทร่วม
- ความเสียหายต่อทรัพย์สิน : รถยนต์เกิดความเสียหาย รวมถึงทรัพย์สินอื่นๆ
- ความเสียหายต่อร่างกาย : เมื่อเกิดอุบัติเหตุมักจะเกิดการบาดเจ็บสาหัส พิการหรือเสียชีวิต
- ค่าใช้จ่าย : ค่าซ่อมรถ ค่ารักษาพยาบาล และค่าเสียหายอื่น
- ความเครียด : ทั้งผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะต้องเผชิญกับความเครียด และความกังวล
เกิดอุบัติเหตุมีแค่ พ.ร.บ. อย่างเดียวเพียงพอหรือไม่? คลิก
ความรับผิดชอบ
- ความรับผิดชอบร่วม : เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความผิดร่วมกัน ศาลจะพิจารณาแบ่งความรับผิดชอบตามสัดส่วนของความผิด
- ความรับผิดชอบส่วนตัว : หากพยานหลักฐานชี้ชัดว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความผิดมากกว่า ศาลอาญาตัดสินให้ฝ่ายนั้นรับผิดชอบส่วนใหญ่หรือทั้งหมด
การป้องกันตัวเอง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะต้องเก็บหลักฐานโดยการถ่ายรูปของรถที่เกิดเหตุ เก็บร่องรอยของการชน บัตรประชาชนของคู่กรณี หลักจากนั้นให้แจ้งตำรวจเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงบันทึกประจำวัน และปรึกษากับบริษัทประกันภัย
ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เคลมช่วงล่างได้หรือไม่? คลิก
เสี่ยงโดนปรับ! หากขับรถโดยไม่มี พ.ร.บ. คลิก
บริษัทประกันจะจ่ายหรือไม่ ในกรณีประมาทร่วม?
กรณีที่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1
มักจะคุ้มครองค่าเสียหายของรถของผู้เอาประกันเองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดและยังคุ้มครองค่าเสียหายต่อบุคคลที่สามอีกด้วย ดังนั้นหากเรามีประกันภัยชั้น 1 แม้จะเกิดเหตุประมาทร่วมก็ยังสามารถเคลมค่าซ่อมรถของตัวเองได้ แต่บริษัทประกันอาจจะเรียกเก็บเงินคืนบางส่วน
ประกันภัยชั้น 1 สามารถเคลมประกันได้แม้ว่าจะเป็นฝ่ายผิดร่วมก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ได้รับอาจจะไม่เต็มจำนวนตามที่เคลมไปก็ได้
ทำความเข้าใจก่อนซื้อ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คลิก
ในกรณีที่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ หรือ 3+
มักจะคุ้มครองค่าเสียหายบุคคลที่สามเท่านั้นอย่างค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น แต่จะไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถของผู้เอาประกัน ดังนั้นหากทำประกันและเกิดเหตุประมาทร่วมคุณจะต้องรับผิดชอบค่าซ่อมรถของตัวเอง
ประกันภัยชั้น 2+ หรือ 3+ จะต้องเสียค่าซ่อมรถของตัวเอง แต่หากคู่กรณีได้รับบาดเจ็บหรือทรัพย์สินเสียหายเราสามารถเคลมประกันเพื่อขอค่าสินไหมทดแทนได้
จุดอับสายตาเสี่ยงเกิดอันตราย มีจุดไหนบ้างที่ต้องระวัง คลิก
บรรทุกของเกินขนาด ต้องระวัง! ไม่ปลอดภัยและผิดกฎหมาย คลิก
คู่กรณีไม่มีประกันภัย เราจะทำอย่างไร?
สถานการณ์ที่คู่กรณีไม่มีประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ทำให้เราหัวเสียอย่างมากเลยนะครับ เพราะทำให้เราจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเองทั้งหมดถ้าหากไม่มีการตกลงกันหรือไกล่เกลี่ยกันได้
เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้ต้องทำอย่างไร?
- แจ้งตำรวจ : ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงบันทึกประจำวันเอาไว้ เพื่อเป็นหลักฐาน และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
- เก็บหลักฐาน : รวบรวมหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ภาพรถตอนเกิดเหตุ ร่องรอยการชน พยานต่างๆ บัตรประชาชนของคู่กรณี เพื่อใช้ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
- ติดต่อประกันของตัวเอง : เมื่อเกิเหตุจะต้องรีบแจ้งให้กับบริษัทประกันทราบ แม้ว่าคู่กรณีจะไม่มีประกันก็ตาม แต่หากเรามีประกันภัยชั้น 1 หรือ 2+ บางบริษัทประกันอาจให้ความช่วยเหลือในการเจรจาไกล่เกลี่ยหรือดำเนินการทางกฎหมายเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายให้กับเราได้
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ : เราอาจจะปรึกษากับทนายความหรือบริษัทประกันเพื่อขอคำแนะนำ และความช่วยเหลือในการดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
ห้ามบริษัทประกันขึ้นมาเคลียร์! หากเกิดเหตุรถชนกันบนทางด่วน และอาจมีโทษปรับ คลิก
คู่กรณีไม่มีความสามารถในการชดใช้ค่าเสียหาย จะทำอย่างไร?
เราอาจจะต้องยื่นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้คู่กรณีชดใช้ค่าเสียหาย แต่กระบวนการทางกฎหมายอาจจะต้องใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่าย
สิ่งที่ต้องระวัง
อย่ารับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดเองเพียงลำพัง ควรเจราจรไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีหรือให้บริษัทประกันเป็นตัวแทนในการเจรจา
เก็บหลักฐานให้ครบถ้วน เพื่อใช้ในการพิสูจน์ความเสียหาย และเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
คืออะไร? รถทดแทนระหว่างซ่อม เมื่อเกิดอุบัติเหตุสามารถใช้ได้หรือไม่ คลิก
คู่กรณีหลบหนี! ควรอย่างไร?
- หยุดรถในที่ที่ปลอดภัย หากยังอยู่ในที่เกิดเหตุให้เคลื่อนย้ายไปยังจุดที่ปลอดภัย พร้อมกับเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนคันหลัง
- ตรวจสอบผู้บาดเจ็บ หากมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บให้รีบโทรแจ้งหน่วยกู้ภัย 1669
- เก็บหลักฐานโดยถ่ายรูปรถของคู่กรณีที่เหลือไว้อย่างร่องรอยการชน สภาพรถของเรา และสภาพแวดล้อมโดยรอบ
- จดจำรายละเอียดของคู่กรณีไม่ว่าจะเป็นทะเบียนรถ ยี่ห้อ/รุ่น/สีของรถ ทิศทางที่รถคู่กรณีหลบหนีไป
- ขอความช่วยเหลือจากพยาน หากมีผู้ที่เห็นเหตุการณ์ให้ขอชื่อและเบอร์โทรศัพท์เอาไว้เพื่อเป็นพยาน
- แจ้งความกับสถานีตำรวจใกล้เคียง พร้อมกับนำหลักฐานทั้งหมดไปแสดง พร้อมกับลงบันทึกประจำวันจะได้เป็นหลักฐานสำคัญในการเรียกร้องค่าเสียหายและติดตามคู่กรณี
- แจ้งกับบริษัทประกันของเรา พร้อมนำใบแจ้งความไปแสดง และให้บริษัทประกันช่วยเหลือในการติดตามตัวคู่กรณีหรือดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้กับเรา
เหตุผลที่ต้องทำตามขั้นตอนดังนี้เพราะ?
- เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเราเอง การแจ้งตำรวจและหน่วยกู้ภัยจะได้ให้การช่วยเหลือที่ทันท่วงที
- เพื่อเป็นหลักฐาน จะช่วยให้การพิสูจน์ความผิดของคู่กรณีและเรียกร้องค่าเสียหาย
- เพื่อดำเนินคดี การแจ้งความให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เพื่อให้ติดตามตัวคู่กรณีมาดำเนินคดีได้
จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่? หากคู่กรณีเรียกค่าทำขวัญเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คลิก
เจอถนนแบบนี้ขับอย่างไร? กับทางเอก-ทางโท คลิก
การทำประกันภัยรถยนต์จะช่วยคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวเราและต่อทรัพย์สินของเราในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุได้นะครับ สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างก็คือตรวจสอบให้ดีก่อนว่าคู่กรณีของเรานั้นมีประกันภัยหรือไม่ หากมีก็ควรขอเบอร์โทรศัพท์ของประกันมาด้วยก็จะดีครับ อุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ได้คาดคิด การเตรียมตัวและเตรียมรับมือให้พร้อมเอาไว้เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจะได้ช่วยให้เราแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองครับ
การทำประกันภัยรถยนต์เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามหรือมองว่าไม่จำเป็นนะครับ เพราะถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมาอย่างน้อยประกันก็ช่วยเราได้นั่นเองครับ หากสนใจทำประกันภัยกับ ยิ้มได้ประกันภัย โทร 02-432-2345 หรือ ID LINE : @yimdai ได้เลยครับ เช็กเบี้ยออนไลน์ คลิก