การเกิดไฟไหม้ไม่ว่าจะทั้งสถานประกอบกิจการ โรงงานหรืออาคารต่างๆ รวมไปถึงบ้านเรือนผู้ที่อยู่อาศัย เหล่านี้มาจากการที่เราไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ในตั้งแต่เริ่มแรกที่เกิดไฟไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัวจนไม่สามารถควบคุมจากเหตุไฟไหม้เพียงเล็กน้อยจนไปถึงรุนแรงได้ สิ่งที่ตามมาจากการเกิดเหตุไฟไหม้ก็คือ เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แต่หากเราศึกษาหรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับการควบคุมและการดับเพลิงขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
การลุกติดไฟ
ภัยหรือเหตุการณ์อันตรายที่เรียกกันว่าอัคคีภัย เกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล ทำให้เกิดการลุกลามไปทั่วบริเวณอย่างต่อเนื่อง เปลวไฟที่รุนแรงมากขึ้น ถ้าการลุกไหม้ที่มีเพลิงหนุนหรือมีไอของเชื้อเพลิงถูกขับออกมาจำนวนมาก ความร้อนแรงก็ยิ่งสร้างความเสียหายมากเท่านั้น
องค์ประกอบของไฟ
สำหรับไฟที่เกิดขึ้นจะประกอบไปด้วยทั้งหมด 3 อย่าง
- เชื้อเพลิง
- ความร้อน
- ออกซิเจน
ถ้าเกิดทั้ง 3 อย่างนี้รวมตัวกันเมื่อไรแล้วเกิดเป็นไฟ แล้วปล่อยไว้ให้ลุกลามเกิน 5 นาที โดยในขณะนั้นไม่มีการควบคุมเพลิงเลย สถานการณ์แบบนี้อาจถึงขั้นรุนแรงได้เลยครับ แต่ถ้าไฟเริ่มเกิดแรกๆ แล้วเราสามารถกำจัดองค์ประกอบของไฟได้อย่างใดอย่างหนึ่งก็จะสามารถดับไฟนั้นได้ครับ
ไฟจะเกิดได้ จะต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งหมด 3 อย่าง เมื่อทั้งหมดรวมตัวกันแล้วจะเกิดเป็นไฟ เมื่อไหร่ที่เราปล่อยให้เปลวไฟลุกลามเกิน 5 นาที จนไม่สามารถควบคุมไฟนั้นไว้ได้ หรือใช้ถังดับเพลิงแล้วไม่สามารถควบคุมได้ เราจึงเรียกเหตุการณ์นั้นว่าอัคคีภัย ดังนั้นเราจึงอยากให้ท่านทำความรู้จัก องค์ประกอบของไฟ สิ่งที่จะทำให้เกิดเหตุเพลิงไหม้จนลุกลามและไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ การที่เราจะทำให้เกิดไฟได้นั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งหมด 3 อย่าง ได้แก่
แบตก็จะหมด โทรศัพท์ก็อยากเล่น จะเป็นอันตรายหรือไม่? หากชาร์จไปเล่นไป คลิก
อย่างที่ 1 เชื้อเพลิง
สำหรับเชื้อเพลิงจะประกอบไปด้วยทั้งหมด 3 สถานะ
- ของแข็ง : ไม้ กระดาษ พลาสติก ผ้า ยาง หรือวัสดุอื่นๆ ที่สามารถใช้น้ำดับได้
- ของเหลว : น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช กาว น้ำมันเครื่อง เทียนไข
- ก๊าซ : ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างกรดกับโลหะ ก๊าซที่มีเทนที่เกิดจากการหมัก
“หน้าฝน” กับ “ไฟฟ้า” เป็นสิ่งอันตรายควรหลีกเลี่ยงและป้องกัน อาจเกิดไฟช็อต ไฟรั่ว คลิก
สารเคมีอันตราย! วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อถูกสารเคมีจากเหตุเพลิงไฟไหม้ คลิก
อย่างที่ 2 ความร้อน
- ระยะที่ 1 จุดวาบไฟ : เป็นอุณหภูมิความร้อนที่เชื้อเพลิงได้รับสะสมจนถึงจุดที่เชื้อเพลิงคายไอออกมา
- ระยะที่ 2 จุดชวาลหรือจุดติดไฟ : อุณหภูมิความร้อนที่เชื้อเพลิงได้รับสะสมจนถึงจุดที่ติดเป็นเปลวไฟขึ้นมา
อย่างที่ 3 ออกซิเจน
สำหรับออกซิเจนในบรรยากาศ โดยปกติแล้วก๊าซจะมีอยู่หลายชนิด แต่หลักๆ แล้วหากจะแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ ในอากาศจะมีไนโตรเจนอยู่ 78% ออกซิเจนอยู่ประมาณ 21% และอื่นๆ อีก 1% แต่ปริมาณที่ออกซิเจนจะเป็นส่วนผสมที่จะช่วยทำให้ติดไฟได้มีตั้งแต่ 16-21% ในค่าความเข้มข้นของอากาศ
เมื่อไรที่องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างก็คือ เชื้อเพลิง ความร้อน และออกซิเจน ได้รวมตัวกันอย่างลงตัวจะทำให้เกิดไฟขึ้นมา แต่ถ้าหากว่าอย่างใดอย่างหนึ่งมีน้อยกว่าก็จะไม่สามารถเกิดไฟขึ้นได้ เพราะฉะนั้นหากเราต้องการที่จะตัดไฟลงจะต้องตัดองค์ประกอบของไฟอย่างใดอย่างหนึ่งออกเพื่อที่จะดับไฟนั่นเองครับ
เกิดความเสียหายแน่ๆ หากทิ้งสิ่งของที่เป็นอันตรายไว้ในรถเมื่อจอดกลางแดด คลิก
หน้าร้อนค่าไฟขึ้น! มา SAVE ค่าไฟ ใช้เท่าเดิมแต่จ่ายน้อยลงทำอย่างไร คลิก
ชนิดของถังดับเพลิง
ก่อนที่จะเลือกซื้อถังดับเพลิงและติดตั้งภังดับเพลิง เราจะต้องรู้ก่อนว่าถังดับเพลิงแต่ละชนิดนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร ใช้กับประเภทของไฟแบบไหนให้มีประสิทธิภาพ
- ประเภท A : เพลิงที่ไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงของแข็ง เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ปอ นุ่น ยาง พลาสติก
- ประเภท B : เพลิงที่ไหม้ในของเหลวติดไฟและก๊าซติดไฟ เช่น น้ำมัน ก๊าซหุงต้ม จาระบี
- ประเภท C : เพลิงที่ไหม้จากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร
- ประเภท D : ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น ไตตาเนียม แมกนีเซียมสำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด็ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย
- ประเภท K : เพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหาร ไขมันสัตว์
สิ่งที่ต้องเตรียม! เมื่อเคลมประกันจากเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว คลิก
ประเภทของถังดับเพลิง
ชนิดผงเคมีแห้ง : ถังดับเพลิงประเภทนี้จะสามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภททั้ง A, B และ C ยกเว้น CLASS K ราคาถูก หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้วจะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง
**เมื่อใช้แล้วต้องทิ้ง ไม่สามารถเก็บไว้แล้วมาใช้ต่อได้เพราะแรงดันจะตก จะต้องอัดบรรจุใหม่เท่านั้น
ชนิดน้ำยาเหลวระเหย : สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS K โดยราคาจะถูกกว่าฮาโรดรอน หาซื้อได้ง่าย เมื่อฉีดใช้งานจะไม่ทิ้งคราบสกปรก ไม่ทำลายอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย
**เหมาะกับพื้นที่ที่เน้นความสะอาดอย่างเช่น อาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) : สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C
**เหมาะสมำหรับใช้ในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรม
ชนิดโฟม : ภายในบรรจุด้วยโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า
**ใช้ในการดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ ถังสแตนเลส
ชนิดสูตรเคมีน้ำ : เป็นสารทดแทนสารฮาล่อน 1211 ได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) ดับไฟClass A B C และ K ได้ ผ่านการทดสอบและรับรองประสิทธิภาพในการดับเพลิง Fire Rating 10A20B สำหรับขนาด 10ปอนด์ และ 10A40B สำหรับขนาด 15ปอนด์ โดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (TISTR) ไม่บดบังทัศนวิสัยขณะฉีดใช้งาน เนื่องจากไม่เป็นฝุ่นละออง ปลอดภัย
**สำหรับฉีดใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการใช้ถังดับเพลิง
- เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ 2 – 3 เมตร สามารถใช้ได้ทั้งไฟชนิด A B C และ K
- ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วออก
- ยกหัวฉีดปากกลวยชี้ไปที่ฐานของไฟ (ทำมุมประมาณ 45 องศา)
- บีบไกเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา
- ให้ฉีดไปตามทางยาว และกราดหัวฉีดไปช้าๆ
- ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า
ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วางอยู่ในระดับต่างกัน ให้ฉีดจากข้างล่างไปหาข้างบน และถ้าน้ำมันรั่วไหลให้ฉีดจากปลายทางที่รั่วไหลไปยังจุดที่รั่วไหล และเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ต้องรีบตัดกระแสไฟฟ้าก่อนเพื่อป้องกันมิให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นมาอีกได้
อันตราย! 4 เรื่องที่ต้องรู้เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ คลิก
วิธีการตรวจสอบถังดับเพลิง
- ดูที่เข็มในมาตรวัดของถังดับเพลิง โดยเครื่องดับเพลิงที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเข็มจะชี้ที่ช่องสีเขียวแต่ถ้าเข็มเอียงมาทางซ้ายแสดงว่าแรงดันไม่มี ต้องรีบนำไปเติมแรงดันทันที
- ตรวจสายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน
- สภาพบรรจุของถังดับเพลิงต้องไม่บุบ หรือบวม และไม่ขึ้นสนิม
- อายุการใช้งาน ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) มีอายุประมาณ 5 ปี ชนิดฮาโลตรอนวัน (ถังสีเขียว) และชนิดก๊าซ CO2 มีอายุประมาณ 10 ปี
- ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (ถังสีแดง) หากมีการใช้งานแล้ว ต้องนำไปเติมสารเคมีใหม่ทุกครั้ง2.ตรวจ สายฉีด หัวฉีด อย่าให้มีผงอุดตัน เป็นประจำทุกเดือน
อย่างไรก็ตามเราทุกคนควรทำความเข้าใจและรู้วิธีการป้องกันอัคคีภัยทั้งไม่ให้เกิดและเมื่อเกิดเหตุ พร้อมกับแยกแยะประเภทของไฟ สามารถประเมินสถานการณ์ได้ รวมถึงการควบคุมเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดเหตุเราและทุกคนมีส่วนช่วยให้การช่วยเหลือได้ทั้งสิ้น
ขอขอบคุณข้อมูล : เซฟสิริ