6 โรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าหนาวที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้งโควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน/อาหารเป็นพิษ และโรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิสหรือโรคหูดับ

6 โรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าหนาวที่ต้องเฝ้าระวัง ทั้งโควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน/อาหารเป็นพิษ และโรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิสหรือโรคหูดับ

04/01/2025

   ตอนนี้ประเทศไทยมีอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติ และนานกว่าที่เคยมีมาซึ่งอาจเกิดมาจากหลากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะปัจจัยจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลให้อากาศในหลายพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

 

ปัจจัยหลักที่ทำให้อากาศเปลี่ยน?

เล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เสี่ยงต่อสุขภาพ! ฝุ่น PM 2.5 คลิก

 

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

   การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจการของคนอย่างเช่น การเผ้าไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และการใช้พลังงานจากแหล่งที่ไม่ยั่งยืน ส่งผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของลมพัดในบรรยากาศซึ่งอาจทำให้ในช่วงหน้าหนาวแบบนี้ในบางปีอาจยาวนานและหนาวเย็นกว่าปกติได้นั่นเอง

อันตราย! 4 เรื่องที่ต้องรู้เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ คลิก

 

ปรากฏการณ์ลานีญา

   ลานีญาเป็นปรากฏการณ์ขั้วตรงข้ามของเอลนีโญ ทำให้ผืนน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเคลื่อนตัวอย่างไม่สม่ำเสมอ และทำให้อากาศเย็นลงอย่างผิดปกติ ส่งผลให้รูปแบบของสภาพอากาศทั่วโลกเปลี่ยนแปลงไป

 

ปรากฏการณ์มรสุม

   มรสุมและลมพัดมาจากทิศต่างๆ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สามารถส่งผลให้เกิดอากาศที่หนาวเย็นกว่าปกติได้ โดยมรสุมจากทิศเหนือที่พัดเข้ามาในช่วงหน้าหนาวอาจมีการเคลื่อนตัวลงมาในเวลาที่ช้าหรือยาวนานขึ้นในบางปีได้

ระบาด! ไวรัส hMPV อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ,โควิด และRSV เด็กเล็กต้องระวัง คลิก

 

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

ผลกระทบต่อการเกษตร

   สำหรับอากาศที่หนาวเย็นที่ยาวนานอาจจะส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูก ยิ่งเป็นพืชที่ต้องการอุณหภูมิที่อุ่นหรือพืชที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างพวกผลไม้เมืองร้อนหรือข้าว การเกิดอากาศที่หนาวเกินไปอาจทำให้ผลผลิตลดลงหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายกับพืชผลได้

 

ผลกระทบต่อสุขภาพ

   อากาศที่หนาวอาจทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและเด็กเล็ก นอกจากนี้การที่สัมผัสกับอากาศที่หนาวจัดยังเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจขาดเลือดได้

 

ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว

   ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นเกินไปอาจส่งผลต่อการท่องเที่ยวในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในภูมิภาคที่มีการท่องเที่ยวตามฤดูกาล ซึ่งอาจทำให้สถานที่ท่องเที่ยวในบางแห่งมีผู้ที่เยี่ยมชมน้อยลงหรือเกิดอุปสรรคในการเดินทางอย่างเช่น การปิดถนนหรือเส้นทางที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

 

   ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นมากกว่าปกติ ดังนั้นเราจะต้องดูแลสุขภาพกันให้ดีๆ นะครับ และในช่วงหน้าหนาวแบบนี้มักจะมีโรคที่พบได้บ่อยเนื่องจากอากาศที่เย็นชื้น และมีความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งอาจส่งผลต่อร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน และจะมีโรคอะไรบ้างที่ควรเฝ้าระวัง?

รุนแรงแค่ไหน? กับโรคฝีดาษลิง คลิก

 

โรคที่ต้องเฝ้าระวัง!

 

ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

   อากาศเย็นเป็นปัจจัยที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง จึงทำให้มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น โดยไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรรมดามักจะระบาดในช่วงหน้าหนาว

 

โรคไข้เลือดออก

   การระบาดของยุงในช่วงฤดูหนาวในบางครั้งอาจทำให้เกิดโรคไข้เลือดออกได้ แม้ว่าในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่มีการระบาดสูงที่สุดก็ตาม แต่ยุงยังสามารถแพร่เชื้อได้ในช่วงฤดูหนาวได้อีกเช่นกัน

 

โควิด-19

   การระบาดของโควิด-19 ในช่วงหน้าหนาวอาจมีความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นได้อีก เนื่องจากหลากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ แม้ในประเทศไทยจะไม่ได้หนาวจัดเหมือนประเทศอื่นๆ แต่ก็ยังมีผลกระทบที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ได้

เสี่ยง! การกินข้าวร่วมกันอาจติดเชื้อได้ คลิก

 

โรคไอกรน

   มีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ในระยะแรกๆ เช่น มีไข้และไอแห้ง และจะเริ่มมีอาการไอที่รุนแรงขึ้นในระยะต่อไปโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน สำหรับโรคไอกรนเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้ในช่วงฤดูหนาวในประเทศไทย เนื่องจากสภาพอากาศและการรวมตัวของผู้คนในที่ปิด ทำให้การป้องกันผ่านการฉีดวัคซีนและมาตรการด้านสุขอนามัยมีความสำคัญในการลดการระบาดของโรคได้

 

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันและอาหารเป็นพิษ

   ในโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกฤดูกาล แต่ในฤดูหนาวอาจมีอันตรายมากกว่าเนื่องจากมีอุณหภูมิที่ต่ำ ระบบภูมิคุ้มกันที่ลดลงทำให้ร่างกายเราอ่อนแอ เสี่ยงที่จะติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่ายมากขึ้น รวมไปถึงการใช้ของตกค้างหรืออาหารที่ไม่สด โดยในบางครั้งบางท่านอาจมีการเก็บอาการไว้นานเกินไปโดยไม่ได้คำนึงถึงมาตรการในการป้องกันการเน่าเสียอย่างการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสมหรือการทำอาหารที่ไม่สดพอ ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดอาหารเป็นพิษได้

 

โรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส หรือโรคหูดับ

   สำหรับโรคนี้มักจะพบในหมูและสามารถติดต่อสู่คนได้ โดยทั่วไปผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการต่างๆ เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดหัว หรือในบางรายอาจมีอาการหูดับได้ ซึ่งในลักษณะนี้จะมีผลต่อระบบหูและการได้ยิน การที่มีอาการตั้งแต่หูดับ การอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางไปจนถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

หน้าฝนและน้ำท่วมด้วยยิ่งต้องระวังกับโรคที่มาพร้อมกับน้ำ ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเสี่ยงเป็นโรคได้ คลิก

 

ป้องกันได้ด้วยตัวเอง

  • การสวมใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่น : โดยเลือกสวมเสื้อผ้าที่อบอุ่นเพื่อรักษาความอบอุ่นของร่างกาย ในการเลือกจะต้องเลือกเสื้อผ้าที่สามารถเก็บความร้อนได้ดีอย่างเช่น ขนสัตว์หรือผ้าฝ้าย
  • รักษาความสะอาด : โดยเฉพาะมือของเราเอง จะต้องล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำสะอาด หรือจะใช้เจลแอลกอฮอล์เพื่อฆ่าเชื้อ เป็นการป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสสิ่งของที่อาจมีเชื้อโรค รวมไปถึงหลีกเลี่ยงสัมผัสกับใบหน้าโดยตรง ทั้งตา จมูก และปาก
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : ควรทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงพวกผลไม้และผักสด เพื่อเป็นการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน พร้อมกับการดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ : การออกกกำลังจะเป็นการช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยให้ร่างกายอบอุ่น โดยเลือกกิจกรรมที่ไม่ทำให้เหงื่อออกมากเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ผิวจะแห้งง่าย รวมไปถึงการพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด : สำหรับหน้าหนาวเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรคต่างๆ อย่างมาก ดังนั้นการอยู่ในที่ที่มีจำนวนผู้คนมากหรือในสถานที่ที่มีการระบายอากาศไม่ดีเสี่ยงติดเชื้อโรคได้ง่าย

"โรคตาแดง" ต้องระวัง! ในช่วงหน้าฝนหรือสถานการณ์น้ำท่วมก็เสี่ยง คลิก

   นอกจากนี้หากรู้สึกไม่สบายควรหลีกเลี่ยงการออกไปในที่ชุมชน และไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ พร้อมกับสวมหน้ากากอนามัยจะได้ช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคนะครับ อีกทั้งไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อต้องการให้คลายความหนาวนะครับ เพราะอาจเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายส่งผลให้เสียชีวิตได้

บทความอื่นๆ

เกิดเหตุไฟไหม้ ต้องทำอย่างไร? รับมือ ป้องกัน และวิธีการมีอะไรบ้าง

เกิดเหตุไฟไหม้ ต้องทำอย่างไร? รับมือ ป้องกัน และวิธีการมีอะไรบ้าง

07/10/2024

การเกิดไฟไหม้ไม่ว่าจะทั้งสถานประกอบกิจการ โรงงานหรืออาคารต่างๆ รวมไปถึงบ้านเรือนผู้ที่อยู่อาศัย เหล่านี้มาจากการที่เราไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ในตั้งแต่เริ่มแรกที่เกิดไฟไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัวจนไม่สามารถควบคุมจากเหตุไฟไหม้เพียงเล็กน้อยจนไปถึงรุนแรงได้ สิ่งที่ตามมาจากการเกิดเหตุไฟไหม้ก็คือ เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน แต่หากเราศึกษาหรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับการควบคุมและการดับเพลิงขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง ความเสียหายที่เกิดขึ้นก็จะเสียหายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อ่านต่อ
เทศกาลกินเจเริ่มแล้ว! คนที่กินเจต้องรู้อะไรบ้างทั้งข้อห้ามและสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

เทศกาลกินเจเริ่มแล้ว! คนที่กินเจต้องรู้อะไรบ้างทั้งข้อห้ามและสิ่งที่ต้องปฏิบัติ

01/10/2024

เทศกาลกินเจในปี 2567 นี้ อยู่ระหว่างวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 การกินเจหรือในทางภาษาจีนคือ เจี๊ยะฉ่าย ซึ่งมีความหมายว่า “กินผัก” ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งเพียงแค่เราถือศีลกินเจ และงดอาหารบางอย่างเท่านั้นเป็นเวลา 10 วัน และสามารถทำได้ทันที สำหรับท่านใดที่ไม่มีเวลาไปทำบุญหรือเดินทางไปวัดก็สามารถใช้วิธีนี้ได้เช่นกันนะครับ

อ่านต่อ
หน้าฝนและน้ำท่วมด้วยยิ่งต้องระวังกับโรคที่มาพร้อมกับน้ำ ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเสี่ยงเป็นโรคได้

หน้าฝนและน้ำท่วมด้วยยิ่งต้องระวังกับโรคที่มาพร้อมกับน้ำ ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเสี่ยงเป็นโรคได้

19/09/2024

โรคเหล่านี้เราสามารถลดความเสี่ยงที่จะติดโรได้ด้วยการดูแลสุขภาพของเราเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ พร้อมกับปฏิบัติตามแนวทางป้องการเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการติดต่อ และหากเรารู้สึกตัวว่ามีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันทีจะได้รักษาอย่างตรงจุด

อ่านต่อ
Uto