ในช่วงหน้าฝนแบบนี้อากาศมักจะชื้นและจะมีอุณหภูมิลดลงเป็นบางช่วง โดยการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนี้จะติดต่อมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเชื้อโรคหลายๆ ชนิดจะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเมื่ออากาศเปลี่ยนภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราจะลดลงจนทำให้เราเกิดป่วยได้ง่าย
“หน้าฝน” กับ “ไฟฟ้า” เป็นสิ่งอันตรายควรหลีกเลี่ยงและป้องกัน อาจเกิดไฟช็อต ไฟรั่ว คลิก
ใกล้เข้ามาแล้วกับสถานการณ์ "น้ำท่วม" เตรียมรับมืออย่างไร? คลิก
โรคที่มากับหน้าฝน
ไข้หวัดใหญ่ : เกิดจากที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสกลุ่ม Influenza Virus
อาการ
- ปวดศีรษะ
- ไอแห้ง
- มีน้ำมูก คัดจมูก
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- มีไข้สูง
การป้องกัน
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงอยู่ในพื้นที่ที่แออัดหรือสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี
ระบาด! ไวรัส hMPV อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ,โควิด และRSV เด็กเล็กต้องระวัง คลิก
ฮัดเช่ย! จามแบบนี้มีความหมาย คลิก
ไข้เลือดออก : โรคนี้จะเป็นการติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี ซึ่งเชื้อนี้จะเข้าไปฟังตัวเพิ่มจำนวนในยุง และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกกัดต่อไปได้
อาการ
- ระยะไข้ (2-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมักจะมีหน้าแดง ถึงขั้นอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา
- ระยะช็อก ในระยะนี้ไข้จะลดลง มีอากาซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง ปัสสาวะออกน้อย เลือดออกง่าย ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงมีความดันโลหิตต่ำ ช็อก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยระยะนี้จะกินเวลา 24-48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยในแต่ละรายจะมีอาการที่ไม่รุนแรงในทุกราย
- ระยะฟื้นตัว ในระยะนี้จะมีอาการที่ดีขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น ในบางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
การป้องกัน
- ป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงบริเวณบ้าน รวมไปถึงภายในบ้าน
- ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุกๆ 7 วัน หรือทำการเปลี่ยนบ่อยๆ
- ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆ ให้มิดชิด หรืออาจจะใส่ทรายเคมี รวมไปถึงจานรองขาตู้กับข้าวก็ต้องกำจัดลูกน้ำในภาชนะที่เก็บน้ำ
- สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว หลังจากที่หายป่วยจากโรคนี้เป็นเวลา 1 ปีแล้ว ควรได้รับการฉีดวัคซีนไข้เลือดออกเพื่อป้องกัน เพราะผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคนี้จะสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก ส่วนใหญ่แล้วอาการจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ฮาวทูทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด คลิก
โรคฉี่หนู : โรคนี้จะเกิดจากกลุ่ม Leptospira สำหรับสัตว์ที่แพร่เชื้อโรคนี้จะเป็นพวกหนู แต่โรคจะไม่ได้ติดที่ตัวนะครับ สัตว์พวกนี้จะเก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อปนอยู่ด้วย
อาการ
- เยื่อบุตาบวมแดง
- เจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
- มีเลือดออกบริเวณต่างๆ จะเป็นเฉพาะบางรายที่มีอาการรุนแรง
- มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
- มีอาการเหลือง
การป้องกัน
- สวมชุดป้องกันอย่างพวกรองเท้าบูท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
COVID-19 กับ ไข้หวัดทั่วไป แตกต่างกันอย่างไรมาเช็คกัน คลิก
ต้องระวัง หากใช้ผิด! เมทิลแอลกอฮอล์ และ เอทิลแอลกอฮอล์ ต่างกันอย่างไร คลิก
โรคตาแดง : เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง รวมไปถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน แม้กระทั่งจากการหายใจหรือไอ จามรดกัน เชื้อโรคสามารถแพร่ระบาดได้ตามสถานที่ที่มีผู้คนมากๆ และมักจะพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
อาการ
- ตาแดง
- ปวดบริเวณเบ้าตาเล็กน้อย
- รู้สึกคันตา เคืองตา รู้สึกเหมอืนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในดวงตา
- น้ำตาไหลบ่อยๆ เปลือตาบวมหรืออาจมีตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
- หากในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยจะมีขี้ตาจำนวนมาก ทำให้ลืมตาได้ยากในช่วงเวลาตื่นนอน
การป้องกัน
- หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือขยี้ตา
- ไม่ควรใช้ยาหยอดตาขวดเดียวกันกับดวงตาทั้ง 2 ข้าง
- ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าจะหายสนิท
- ไม่ควรใช้ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม ร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นโรคตาแดง
- พักการเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้โรคแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น
- พักการใช้สายตา หรือพักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่จำเป็นต้องปิดตา เว้นในกรณีที่กระจกตาอักเสบหรือเคืองตามาก อาจทำการปิดตาชั่วคราวหรือสวมแว่นกันแดดแทน
"โรคตาแดง" ต้องระวัง! ในช่วงหน้าฝนหรือสถานการณ์น้ำท่วมก็เสี่ยง คลิก
โรคผิวหนังอักเสบ : เป็นภาสะอักเสบของผิวหนังที่เกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุและหลายรูปแบบ อาจเกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ส่วนมากแล้วจะมีผื่นคัน บวมหรือแดงตามผิวหนัง และจะพบได้บ่อยๆ ฉะนั้นไม่ควรละเลยที่จะหาวิธีรักษา
อาการ
- มีผื่นแดงตามข้อพับทั้ง แขน ขา คอ รักแร้ ขาหนีบ ร่องก้น มักเกิดในช่วงของวัยทารก
- เกิดผื่นหรือตุ่มคันตามแขน ขา ทั้ง 2 ข้างหรือลำตัว ซึ่งสาเหตุมาจากการสัมผัส ซึ่งเป็นผื่นระคายเคืองจากการสัมผัสโดนสารก่อภูมิแพ้อย่างเช่น ครีมอาบน้ำ ผงซักฟอห ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ เป็นต้น
- มีลักษณะเป็นผื่นขึ้นเป็นดวงหรือวงสีขาว บริเวณใบหน้าหรือแขนขา
- ผิวหนังเป็นแผ่นตกสะเก็กและมีอาการแดง หากเป็นที่ศีรษะจะเกิดเป็นรังแคเรื้อรัง โดยมักเปนตามผิวหนังที่มีความมัน เช่น ใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณเปลือกตาและจมูก หน้าอกส่วนบน และแผ่นหลัง ซึ่งอาจจะเป็นที่มาของโรคเซบเดิร์มซึ่งจะเป็นๆ หายๆ
- ผื่นคันแดงหรือมีสีน้ำตาลบริเวณข้อศอก มีผื่นแดงลอกเป็นสะเก็ตที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ฝ่ามือหรือฝ่าเท้า รวมไปถึงฝีปากแดง แห้งลอก เป็นต้น
การป้องกัน
- ไม่อาบน้ำนานจนเกินไป หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น
- เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าที่เหมาะสมกับผิวแห้ง และผิวแพ้ง่าย ที่ช่วยฟื้นฟูดูแลผิวให้แข็งแรง
- สำหรับผิวกายให้เลือกสบู่หรือครีมอาบน้ำที่อ่อนโยนต่อผิว และเลือกครีมบำรุงที่เหมาะกับผิวแห้งเป็นขุยโดยเฉพาะ
เช็ดตัวให้แห้งอย่างเบามือหลังอาบน้ำเสร็จ
เล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เสี่ยงต่อสุขภาพ! ฝุ่น PM 2.5 คลิก
รุนแรงแค่ไหน? กับโรคฝีดาษลิง คลิก
โรคเหล่านี้เราสามารถลดความเสี่ยงที่จะติดโรได้ด้วยการดูแลสุขภาพของเราเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ พร้อมกับปฏิบัติตามแนวทางป้องการเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการติดต่อ และหากเรารู้สึกตัวว่ามีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันทีจะได้รักษาอย่างตรงจุด