สภาพอากาศในช่วงนี้มีฝุ่น PM 2.5 เข้าปกคลุมพื้นที่จำนวนมาก การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่เราจะต้องใส่ใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งฝุ่น PM 2.5 จะมีระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันไป และถ้าหากช่วงไหนที่มีระดับที่สูงจะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร หรือถ้าระดับที่น้อยๆ จะมีผลต่อร่างกายหรือไม่? เรามาดูกันครับว่า ฝุ่น PM 2.5 แบบไหนที่เรียกว่า “รุนแรง” รวมไปถึงเราจะต้องป้องกันตัวเองได้อย่างไร
![](https://unitedhonda.com/upload/img/blog/20250131164550_591746639.png)
PM 2.5 คืออะไร?
สำหรับฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งเป็นขนาดที่เล็กมากๆ เล็กกว่าเส้นผมซะอีก ซึ่งความร้ายแรงของฝุ่นชนิดนี้เมื่อสามารถผ่านการกรองของขนจมูกและเข้าสู่ชั้นในสุดของปอดได้ แม้ว่าฝุ่นชนิดนี้จะไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายแบบเฉียบพลัน แต่ถ้าหากใช้เวลาสะสมเป็นจำนวนมากก็อาจส่งผลต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดนั่นเองครับ
6 โรคที่พบบ่อยในช่วงหน้าหนาวที่ต้องเฝ้าระวัง คลิก
ต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 คือ?
- ไอเสียรถยนต์หรือการจราจร : จากข้อมูลโดยกรมควบคุมมลพิษ การเผาไหม้น้ำมันดีเซลบวกกับการจราจรที่ติดขัด ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุด
- ปล่องโรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้า : การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลหรือเชื้อเพลิงที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะถ่านหิน
- เผาไหม้ที่โล่งและในที่ไม่โล่ง : การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ของภาคการเกษตรเพื่อเตรียมการเพาะปลูก การเผาป่า และการเผาขยะ
![](https://unitedhonda.com/upload/img/blog/20250131164534_281431141.jpg)
หน้าฝนและน้ำท่วมด้วยยิ่งต้องระวังกับโรคที่มาพร้อมกับน้ำ ดูแลตัวเองไม่ดีอาจเสี่ยงเป็นโรคได้ คลิก
นอกจากปัจจัยทางด้านการเผาไหม้เชื้อเพลิงแล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฝุ่นชนิดนี้ปกคลุมหนาแน่นเป็นพิเศษก็คือ “สภาพอากาศ” หากเป็นช่วงเวลาที่ลมสงบนิ่งบรรดาสารพิษทั้งหลายจะถูกสะสมเอาไว้ในชั้นบรรยากาศ เมื่อถึงเวลาที่ลมร้อนเริ่มพัดมาฝุ่นเหล่านี้จะถูกพัดให้ลอยสูงขึ้นไปด้วย และจะค่อยๆ จางหายไป จากนั้นจะเกิดการสะสมใหม่เมื่อลมสงบนิ่งอีกครั้ง
แบบไหนถึงเรียกว่า “รุนแรง”
ตามมาตรฐานขององค์กรอนามัยโลก (WHO) โดยระดับของฝุ่น PM 2.5 ที่มีความเข้มข้นจะถูกแบ่งออกได้หลายระดับดังนี้
ระดับดี
![](https://unitedhonda.com/upload/img/blog/20250131164612_653886833.png)
ในระดับนี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและท่องเที่ยวได้
ระดับปานกลาง
ในระดับนี้มีผลกระทบเล็กน้อยในบางกลุ่มผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหอบหืด แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงยังสามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
ระดับไม่ดี
ในระดับนี้เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างโรคทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจ
ระดับไม่ปลอดภัย
ในระดับนี้จะส่งผลกับกลุ่มผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ และอาจเริ่มมีผลกระทบต่อคนทั่วไปในระยะยาว
ระดับอันตราย
ในระดับนี้จะมีละอองฝุ่นที่มีความเข้มข้นสูงมากๆ ซึ่งสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกับทุกคนทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว หรือผู้ที่ทำงานในที่เปิดเผย และควรหลีกลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง
"โรคตาแดง" ต้องระวัง! ในช่วงหน้าฝนหรือสถานการณ์น้ำท่วมก็เสี่ยง คลิก
ทำไม? ถึงรุนแรงกว่าฝุ่นชนิดอื่น
- มีขนาดเล็ก : เนื่องจากขนาดของฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมากๆ เล็กกว่าฝุ่นทั่วไป จึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายๆ เลย โดยเฉพาะปอดและกระแสเลือด จึงทำให้เป็นอันตรายมากกว่าฝุ่นที่มีขนาดใหญ่
- สะสมในร่างกายได้ง่าย : ด้วยขนาดของฝุ่นที่เล็กมากและลอยในอากาศได้นาน ทำให้การสูดดมฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างต่อเนื่องทำให้สามารถฝุ่นเหล่านี้สามารถสะสมในร่างกายของเราได้
- กิจกรรมของมนุษย์ : ฝุ่น PM 2.5 ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการกระทำหรือกิจกรรมของมนุษย์นั่นเอง เช่น การเผาไหม้ของรถยนต์ โรงงาน การเผาพืชในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น
![](https://unitedhonda.com/upload/img/blog/20250131164632_573567242.png)
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ในระดับที่มีฝุ่น PM 2.5 สูง อาจจะมีอาการสุขภาพต่างๆ
- หายใจลำบาก หายใจไม่สะดวก
- คันตา น้ำตาไหล อาการระคายเคืองทั้งตาและคอ
- ไอ มีเสมหะ
- อาจทำให้เกิดภาวะหอบหืด โรคปอด
ทำให้เกิดโรคต่างๆ
จากการสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในระยะเวลายาวอาจทำให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้นได้
- โรคหัวใจและหลอดเลือด : การที่เราสูดดมฝุ่นเป็นจำนวนมากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ เช่น ภาวะหลอดเลือดตีบตัน หรือโรคหัวใจขาดเลือด
- มะเร็งปอด : เมื่อถูกสะสมเป็นจำนวนมากอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดได้
- โรคหลอดเลือดสมอง : หากมีการสูดดมฝุ่นอย่างต่อเนื่องอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
- ระบบทางเดินหายใจ : มีอาการหอบหืด การอักเสบของปอด หรือภาวะทางเดินหายใจ
เสี่ยง! กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5
![](https://unitedhonda.com/upload/img/blog/20250131164650_752859337.png)
"สู้แดด' ให้แดดไม่สู้กลับ! รวมอุปกรณ์สู้แดด คลิก
ระบาด! ไวรัส hMPV อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ,โควิด และRSV เด็กเล็กต้องระวัง คลิก
- เด็กเล็ก : เนื่องจากร่างกายของเด็กเล็กยังไม่แข็งแรง ทำให้ได้รับผลกระทบจากฝุ่นได้
- ผู้สูงอายุ : ผู้สูงอายุในวัยนี้มักจะมีภาวะสุขภาพที่อ่อนแอกว่า จึงทำให้ได้รับผลกระทบได้ง่าย
- หญิงตั้งครรภ์ : ด้วยความที่มีทารกอยู่ในครรภ์ที่น้อยกว่า 6 เดือน อาจส่งผลต่อการพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ เสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษ ภาวะคลอดก่อนกำหนด เกิดอาการหอบหืดได้
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว : เช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคหัวใจ ซึ่งการมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากฝุ่นได้มากขึ้น
- คนที่ทำงานกลางแจ้ง : เช่น คนขับรถ คนที่ทำงานในสถานที่ที่มีมลพิษสูง ควรใช้มาตรการป้องกันตัวเองที่เพิ่มขึ้นด้วยนะครับ
เช็กค่า PM 2.5 ได้ที่ไหน?
- แอปพลิเคชัน : ตัวอย่างแอป AirVisual, Air4Thai, BreezoMeter, เช็คฝุ่น (พัฒนาโดย GISTDA) สำหรับแอปพลิเคชันจะสะดวก รวดเร็ว และอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์
- เว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐ : ตัวอย่างเว็บไซต์ กรมควบคุมมลพิษ, กรมอุตุนิยมวิทยา สำหรับเว็บไซต์มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นทางการ
- ข่าวสารต่างๆ : จะได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในวงกว้าง
![](https://unitedhonda.com/upload/img/blog/20250131164657_993901930.png)
อากาศร้อนแบบนี้ต้องระวังฮีทสโตรก เสี่ยงเสียชีวิตได้ คลิก
วิธีการป้องกันตนเอง
- สวมหน้ากากอนามัย : เลือกใช้หน้ากากอนามัย N95 ที่สามารถกรองฝุ่นได้ดีกว่าหน้ากากทั่วไป
- ปรับปรุงสภาพอากาศภายในบ้าน : ภายในบ้านหรืออาคารควรมีการระบายอากาศ และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับหลีกเลี่ยงการออกไปข้างหากไม่จำเป็น แต่ถ้าจำเป็นต้องออกไปข้างนอกควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น
![](https://unitedhonda.com/upload/img/blog/20250131164736_493230251.png)
- ใช้เครื่องฟอกอากาศ : เลือกใช้เครื่องฟอกอากาศหรือติดตั้งอุปกรณ์ที่ช่วยลดฝุ่นละอองภายในบ้าน และควรมีการล้างแผ่นกรองตามความถี่ของการใช้อุปกรณ์
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ : การดื่มน้ำจะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจชุ่มชื้น ช่วยลดอาการระคายเคืองจากฝุ่น
- ออกกำลังกายในอาคาร : สำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายแนะนำให้ออกกำลังกายในที่ร่ม เช่น ยิม ภายในบ้านที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- สังเกตอาการเตือนของร่างกาย : หากเริ่มรู้สึกเจ็บคอ หายใจลำบาก มีอาการไอ ควรพักผ่อนในที่อากาศสะอาด และหากไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายครับ
โรคหน้าร้อน ที่อันตรายต้องระวัง มีกี่โรคและวิธีป้องกันมีอะไรบ้างนะ คลิก
สำหรับฝุ่น PM 2.5 เป็นภัยที่สามารถทำร้ายสุขภาพได้แบบไม่ทันตั้งตัว ยิ่งในช่วงที่ระดับความเข้มข้นสูงถึงขั้นอันตรายยิ่งต้องระวัง ฉะนั้นควรมีการติดตามของข้อมูลระดับ PM 2.5 อย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับป้องกันตัวเองและคนรอบข้างในช่วงที่มีฝุ่น อย่างไรก็ตามไม่ว่าฝุ่นจะอยู่ในระดับไหนก็ควรป้องกันและดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี