การเกิดน้ำท่วมสามารถเกิดได้ทั้งจากธรรมชาติที่เราไม่สามารถคาดคิดได้และการกระทำของมนุษย์ ในบางครั้งหากสภาพอากาศที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้ในบริเวณนั้นเกิดน้ำขังเนื่องจากระบายน้ำไม่ทันจนทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ดังนั้นก่อนที่น้ำจะมาถึงเราควรหาวิธีเตรียมรับมือให้พร้อมนะครับ เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเราและครอบครัว รวมไปถึงทรัพย์สินด้วย
เตรียมรับมือจากสถานการณ์น้ำท่วม
จะทำอย่างไรดี? หากรถเกิดความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วม คลิก
น้ำสูงระดับไหน? ที่รถยังไหว คลิก
ติดตามข่าวสาร
ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดในทุกช่องทาง รวมไปถึงการแจ้งเตือนภัย ซึ่งน้ำท่วมจะมีระดับเตือนภัยทั้งหมด 4 ระดับ
- การเฝ้าระวัง : มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดน้ำท่วม และอยู่ในระหว่างการสังเกตการณ์
- การเตือนภัยน้ำท่วม : เตือนภัยว่าน้ำจะท่วมในพื้นที่
- การเตือนภัยน้ำท่วมรุนแรง : จะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง ให้อพยพทันที
- ภาวะปกติ : สถานการณ์กลับมาสู่ภาวะปกติหรือเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม
หากเราติดตามอย่างใกล้ชิดเราจะได้ทราบว่าเราอยู่ในระดับใดจะได้เตรียมการถูกนั่นเองครับ
เบอร์ติดต่อ
บันทึกเบอร์โทรฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือใช้ในยามฉุกเฉินเร่งด่วนอย่างเช่น
- เบอร์เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ เบอร์การแพทย์ฉุกเฉิน 1669 หรือ 0-2591-9769 ตลอด 24 ชั่วโมง
- เบอร์สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 1784
เส้นทางอพยพ
ศึกษาเส้นทางการอพยพหรือย้ายที่พักที่ใกล้บ้านที่สุด และต้องปลอดภัยด้วยนะครับ ให้เตรียมหาไว้สัก 2-3 ที่ เมื่อได้สถานที่แล้วบอกกับครอบครัวจะได้ไม่พลัดหลง แต่ถ้าหากใกล้บ้านไม่มีสถานที่ที่สามารถพักได้เลยให้หาอีกสถานที่ที่อยู่นอกพื้นที่น้ำท่วม
กันน้ำท่วม! ด้วยวิธีการวางกระสอบทรายแบบวิศวกร ทำอย่างไรกันนะ คลิก
สิ่งของที่จำเป็น
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม แต่อย่าพยายามนำสัมภาะติดตัวเยอะจนเกินไปนะครับ เพราะไม่งั้นเราจะไม่รอดอย่าลืมว่าชีวิตสำคัญกว่าสิ่งของ
- อุปกรณ์สื่อสาร : โทรศัพท์มือถือ ไอแพด เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร รวมไปถึงแบตสำรอง
- สิ่งของที่เกี่ยวกับไฟสำรองส่องสว่าง : ไฟฉาย ถ่าน ไม้ขีด ไฟแช็ค เทียนไข
- สิ่งของที่เกี่ยวกับอาหาร : น้ำ อาหารแห้ง ที่สามารถอยู่ได้อย่างน้อย 3 วัน รวมไปถึงยารักษาโรคที่จำเป็นหรือยาประจำตัว
- ของใช้ส่วนตัว : เสื้อผ้า ถุงนอน ผ้าห่ม ผ้าอนามัย รองเท้า
- อื่นๆ : กระดาษทิชชู ยากันยุง ถุงดำ เชือก มีดพก
- เอกสารที่สำคัญ : บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน สมุดบัญชีธนาคาร ให้เตรียมเก็บไว้ในถุงพลาสติกหรือซองกันน้ำให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันเอกสารรับความเสียหาย
ชะล่าใจไม่เช็กรถก่อนเจอสถานการณ์ฝนตกหนัก เสี่ยงเกิดอันตราย! คลิก
ขับรถอย่างไรไม่ให้รถพัง เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ คลิก
เคลื่อนย้ายสิ่งของ
หากติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่องจะทราบได้ว่าน้ำจะมาถึงเราประมาณวันไหน ให้รีบเตรียมย้ายของไว้ที่สูง หากเป็นพวกชั้นที่มีขนาดใหญ่ให้หาอิฐหรือไม้มาหนุนให้สูงขึ้น นำรถยนต์ไปจอดในพื้นที่ที่สูงที่คิดว่าน้ำท่วมไม่ถึง
นอกจากเคลื่อนย้ายสิ่งของแล้วอย่าลืมย้ายผู้ป่วย เด็ก หรือคนชราไปยังที่ปลอดภัยด้วยนะครับ หรือแม้กระทั้งสัตว์เลี้ยงเขาก็มีชีวิตอย่าทิ้งพวกเขานะครับ ให้อพยพสัตว์เลี้ยงให้อยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยพร้อมกับอาหารที่จำเป็น
ระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
ห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่เปียกน้ำ *อุปกรณ์บางชนิดก็สามารถเกิดอันตรายได้แม้ไม่ได้เสียบปลั๊ก รวมไปถึงเช็คพร้อมเช็ดอุปกรณ์เหล่านี้ให้แห้งสนิท หากเกิดน้ำท่วมที่บ้านเราจริงๆ ให้ปิดเบรกเกอร์ และห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์เหล่านั้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากไฟรั่วหรือไฟฟ้าลัดวงจรได้
สัตว์ที่ไม่น่ารัก
สิ่งที่มากับน้ำท่วมที่เคยเห็นๆ กันก็คือ งู ตะขาบ ต้องระวังกันด้วยนะครับ ไม่ควรลงเล่นน้ำเด็ดขาด เพราะไม่สามารถทราบได้เลยว่าใต้น้ำนั้นจะมีสัตว์อะไรอยู่บ้าง และเป็นอันตรายหรือไม่
โรคที่มากับน้ำ
สิ่งที่ควรป้องกันก็คือโรคที่มาจากน้ำนะครับ เช่น โรคผิดหนัง โรคเท้าเปื่อย โรคฉี่หนู โรคท้องร่วง โรคตาแดง เป็นต้น
สิ่งที่ต้องระวัง
ลุยน้ำเช็คด่วน! กับ 5 สิ่งที่ควรเช็ค คลิก
ประกันจะคุ้มครองหรือไม่? ถ้าฝนตกน้ำท่วมหนัก คลิก
- แม้ว่าระดับน้ำจะไม่สูงก็ไม่ควรเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล เนื่องจากความเชี่ยวของกระแสน้ำอาจทำให้เกิดเสียหลักและล้มได้
- การขับขี่รถยนต์ไม่ควรขับลุยน้ำท่วม เพราะในบางพื้นที่อาจมีถนนที่มีหลุม บ่อหรือเกิดการทรุดตัวของพื้นถนนแล้วเราไม่รู้ หากขับผ่านถนนที่มีลักษณะดังกล่าวอาจจมน้ำได้ ทำให้เกิดควาเมสียหายได้นะครับ
- ไม่ควรลงเล่นน้ำเด็ดขาด
เมื่อน้ำมาถึงตัวเราให้ตั้งสติ และวางแผนรับมือน้ำท่วมไว้ก่อนนะครับ ไม่ควรที่จะประมาทหรือมองว่าน้ำจะไม่ท่วมถึงตัวเรานะครับ เพราะหากถึงเวลานั้นจริงๆ จะได้รับความเสียหายอย่างมากเลยทีเดียว
เตือน! กทม. เตรียมรัยมือน้ำท่วม
กทม. เตรียมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน โดยคาดฝนจะตกหนักสุดในเดือน กันยายน 2567 อย่างไรก็ตาม “สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชนให้ได้มากที่สุด”
ทั้งนี้ ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือ สามารถแจ้งข้อมูลความเดือดร้อนในพื้นที่มายังกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ที่เว็บไซต์ http://nwcc.onwr.go.th/ หรือโทร. 025219140-8 ตามวันและเวลาราชการได้เลยนะครับ
ยูไนเต็ด ฮอนด้า อยากให้ทุกท่านติดตามข่าวสารอย่างมีสตินะครับ ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป อะไรที่เราสามารถป้องกันได้ก็ทำเลยนะครับ เพื่อทั้งต่อตัวเราเองและครอบครัวของเรานั่นเอง ทั้งนี้ ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยทุกท่านนะครับ ขอให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้โดยเร็ว