ของหลวง
หมายถึงก็คือทรัพย์สินที่เป็นของรัฐบาลหรือหน่วยงานของทางรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการดำเนินงานของรัฐบาลหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างเช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์สำนักงาน อาคาร สถานที่ และอื่นๆ ที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ
ลักษณะเด่น!
- เป็นสมบัติของประชาชน : ของหลวงก็ถือว่าเป็นสมบัติร่วมของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ทรัพย์สินส่วนตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
- เพื่อประโยชน์สาธารณะ : ของหลวงถูกจัดสรรมาเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของรัฐบาลหรือเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน
- กฎหมายคุ้มครอง : กฎหมายหลายฉบับที่กำหนดให้มีการดูแลรักษาและควบคุมการใช้ของหลวงอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียหรือความเสียหาย
ห้ามบริษัทประกันขึ้นมาเคลียร์! หากเกิดเหตุรถชนกันบนทางด่วน และอาจมีโทษปรับ คลิก
ไม่หลบให้กับรถ Ambulance ในขณะที่กำลังส่งผู้ป่วย อาจเจอข้อหาหนัก! คลิก
ตัวอย่างของหลวง
สำหรับตัวอย่างของหลวงเราเห็นกันเป็นประจำทุกวันอยู่แล้วครับอย่าง รถตำรวจ รถดับเพลิง รถพยาบาล โรงเรียน โรงพยาบาล ศาล คอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์ที่เป็นอุปกรณ์สำนักงาน เครื่องจักรกล เครื่องมือช่าง รวมไปถึงที่ดินราชพัสดุ ซึ่งของหลวงเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะต้องดูแลรักษาเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันการสูญเสียทรัพย์สินของรัฐ
ขับรถชนของหลวง
การขับรถชนทรัพย์ของทางราชการ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “ของหลวง” ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงได้เลยนะครับ มีผลกระทบทางกฎหมายอย่างมาก เนื่องจากทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นสมบัติของประชาชนทุกคน ซึ่งการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดต่อส่วนร่วมนั่นเองครับ
จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่? หากคู่กรณีเรียกค่าทำขวัญเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คลิก
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขับรถชนของหลวง
การขับรถชนของหลวงมักเกิดจากหลายสาเหตุที่ซับซ้อนผสมผสานกัน รวมไปถึงปัจจัยด้านคน ด้านรถ และด้านสภาพแวดล้อม
ปัจจัยด้านคน
- ความประมาทเลินเล่อ : ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยๆ เลยก็คือ ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด การไม่สนใจป้ายจราจรต่างๆ การไม่รักษาระยะห่างที่ปลอดภัย
- ไม่ระมัดระวัง : เกิดจากการดื่มแล้วขับหรือขับรถในขณะที่ง่วงนอน สมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่นนอกเหนือจากการขับรถ
- ไม่คุ้นกับเส้นทาง : ผู้ขับขี่ไม่มีความคุ้นเคยกับเส้นทางจึงทำให้เกิดการหลวงทางทำให้ไม่ได้ระวังสิ่งที่กีดขวางอยู่
- ความผิดพลาดทางเทคนิค : อย่างที่เห็นกันบ่อยๆ ก็คือ การเหยียบคันเร่งผิดเป็นเบรกหรือตกใจแล้วเผลอไปเหยียบคันเร่ง
- สภาพจิตใจ : อารมณ์ต่างๆ ทั้งความเครียด ความกังวลหรืออารมณ์ฉุนเฉียว อาจส่งผลต่อการตัดสินใจในการขับขี่ รวมไปถึงในสภาวะอกหักที่เราเคยเห็นกัน อกหักทำให้เราเศร้าหรือเสียใจจึงทำให้การตัดสินใจในการขับขี่ที่ไม่มั่นใจนั่นเองครับ
ฝืนขับอาจเสี่ยงเกิดอันตราย! สัญญาณเตือนหลับในขณะขับขี่ คลิก
ประมาทอาจถึงขั้นร้ายแรง! โทษปรับสำหรับขับรถฝ่าไฟแดง ขับแซงเส้นทึบ คลิก
ปัจจัยด้านรถ
- สภาพรถไม่พร้อมใช้งาน : อย่างเช่น ยางรถยนต์สึกหรอ เบรกไม่ดีหรือระบบเบรกมีปัญหา รวมไปถึงระบบไฟขัดข้อง
- การบำรุงรักษารถไม่สม่ำเสมอ : ไม่มีการตรวจเช็กสภาพรถยนต์อย่างเป็นประจำ ทำให้เกิดปัญหาในขณะที่ขับขี่
- การดัดแปลงรถ : การดัดแปลงรถที่ไม่ได้ถูกต้องทำให้ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะของรถ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
แต่งรถจัดเต็ม อาจผิดกฎหมายและประกันภัยไม่คุ้มครอง เช็กเลย! คลิก
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม
- สภาพถนน : ถนนมีความเสียหายชำรุด ทำให้การขับขี่เป็นไปได้ด้วยความลำบาก
- สภาพอากาศ : สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยอย่างเช่น ฝนตกหนัก พายุเข้า ลมแรง จนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ
- สภาพแสงสว่าง : การขับรถในที่มืดหรือบริเวณที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ อาจทำให้มองเห็นสิ่งกีดขวางได้ไม่ชัดเจน
ชะล่าใจไม่เช็กรถก่อนเจอสถานการณ์ฝนตกหนัก เสี่ยงเกิดอันตราย! คลิก
ฝนตก! ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันได้ง่าย วิธีรับมือและป้องกันควรทำอย่างไร คลิก
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง!
การขับรถชนของหลวงถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมายและมีบทบัญญัติกำหนดไว้ในประมวลกฎอาญา มาตรา 360 ประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะประโยชน์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
นอกจากความผิดทางอาญาแล้ว ผู้กระทำผิดยังจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์ของทางราชการอีกด้วยนะครับ และอาจมีผลกระทบการต่อใบขับขี่ซึ่งอาจถูกพักใช้ใบขับขี่หรือเพิกถอนใบขับขี่ได้ รวมไปถึงการกระทำผิดนี้จะถูกบันทึกไว้ในประวัติอาชาญกรรม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตนั่นเองครับ
ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เคลมช่วงล่างได้หรือไม่? คลิก
เกิดอุบัติเหตุมีแค่ พ.ร.บ. อย่างเดียวเพียงพอหรือไม่? คลิก
การรับผิดชอบค่าเสียหาย
มีประกันภัยรถยนต์
ในส่วนของประกันภัยรถยนต์ หากผู้กระทำผิดมีประกันภัยชั้น 1 บริษัทประกันจะเข้ามาชดใช้ค่าเสียหายให้ตามวงเงินความคุ้มครอง แต่ผู้ทำผิดอาจจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนเกินเอง
ซึ่งประกันภัยชั้น 1 จะคุ้มครองครอบคลุมที่สุด ทั้งความเสียหายต่อตัวรถของเรา และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมไปถึงของหลวง แต่ถ้าหากไม่ใช่ประกันภัยชั้น 1 อย่างประกันภัยชั้น 2+ จะคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลเมื่อเราเป้นฝ่ายผิด และในส่วนของประกันภัยชั้น 3+ ชั้นนี้จะคุ้มครองเพียงแค่ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเมื่อเราเป็นฝ่ายผิดเท่านั้น โดยจะไม่รวมไปถึงความเสียหายต่อชีวิตและร่างกายนะครับ
อย่าประมาท! ประกันขาดอาจทำให้เราเดือนร้อนได้ คลิก
อันตราย! หากใช้หัวเสียบเข็มขัดนิภัยหลอก คลิก
คำแนะนำ : ก่อนทำสัญญาประกันภัย ควรอ่านกรมธรรม์ให้ละเอียดก่อนนะครับ เพื่อความเข้าในความคุ้มครองและเงื่อนไขต่างๆ หากมีข้อสงสัยก็ควรปรึกษาตัวแทนประกันภัยเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้
การทำประกันภัยรถยนต์เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามหรือมองว่าไม่จำเป็นนะครับ เพราะถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้นมาอย่างน้อยประกันก็ช่วยเราได้นั่นเองครับ หากสนใจทำประกันภัยกับ ยิ้มได้ประกันภัย โทร 02-432-2345 หรือ ID LINE : @yimdai ได้เลยครับ เช็กเบี้ยออนไลน์ คลิก
ผู้กระทำผิด
ถ้าหากไม่มีประกันภัยรถยนต์หรือประกันภัยไม่คุ้มครอง ผู้กระทำผิดจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายเองทั้งหมด เรียกได้ว่าหมดหลายบาทแน่ๆ ครับ
ค่าเสียหายที่ต้องรับผิดชอบอาจรวมไปถึง :
- ค่าซ่อมแซมหรือทดแทนทรัพย์สินของหลวง : อาจมีมูลค่าที่สูงมาก โดยเฉพาะถ้าเป็นทรัพย์สินที่มีขนาดใหญ่อย่างเช่น เสาไฟฟ้า ป้ายจราจรหรือแบริเออร์
- ค่าปรับ : ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจมีจำนวนมากขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้น
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี : หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดี เราจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งหมด
ประมาทร่วม! คู่กรณีชนแล้วหนีหรือไม่มีประกัน ควรทำอย่างไรและประกันจะจ่ายให้เราไหม? คลิก
การที่ไม่มีประกันภัยรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุชนของหลวงจะส่งผลให้เราต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดเลย ซึ่งอาจเป็นเงินจำนวนที่สูงมาก ฉะนั้นการทำประกันภัยรถยนต์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงและความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ครับ